KEEP THE WORLD ชวนรู้จัก "ชันโรง" ผึ้งตัวจิ๋ว อยู่รวมกันเป็นรัง ซึ่งเพิ่งทำคนตระหนักมาหมาด ๆ รู้หรือไม่ว่า ผึ้งตัวนี้ไม่เป็นอันตราย แถมยังช่วยผสมเกสร สร้างมูลค่าให้กับเกษตรกรอีกด้วย
ชันโรง (Stingless Bee) เป็นผึ้งไซส์จิ๋ว ไม่มีเหล็กใน ปัจจุบันนี้ ชันโรงถูกค้นพบและจำแนกได้ถึง 400 ชนิดโดยทวีปอเมริกาเป็นภูมิภาคที่พบชันโรงมากที่สุด (300 ชนิด) สำหรับประเทศไทย พบชันโรงแล้ว 23 ชนิด โดยกระจายกันอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ
ชันโรงชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่แคบ ๆ เช่น ตามซอกหลืบของบ้าน รูเสาบ้าน รูเสาไฟฟ้า โพรงต้นไม้ ตามกองวัสดุ ท่อน้ำ กล่าวคือ ตามพื้นที่เล็ก ๆ แคบ ๆ ที่เรามักจะไม่สังเกต นั่นแหละอาจเป็นรังของชันโรงได้
นักวิจัยจำแนกวรรณะของชันโรงเอาไว้ 3 ระดับ ได้แก่
ทำหน้าที่เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว จะเป็นผึ้งที่ไซส์ใหญ่กว่าตัวอื่น ๆ มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับชันโรงตัวผู้ และวางไข่ในรังที่ชันโรงงานจัดเตรียมไว้ให้ โดยในแต่ละรังจะมีนางพญาแค่1 ตัวเท่านั้น และนางพญาจะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 ปี
ชันโรงงานคือ ประชากรที่เยอะที่สุดในรัง 1 รัง และพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นตัวเมีย อาจมองได้ว่าเป็นแม่บ้าน (Housewife) เพราะมีหน้าที่ทำความสะอาด และซ่อมแซมรัง แต่หน้าที่หลัก ๆ เลยคือการสร้างถ้วยตัวอ่อนไว้ให้นางพญาได้วางไข่
ผึ้งชายแท้ มีอายุเฉลี่ยแค่ 20 วันเท่านั้น หน้าที่หลักคือรอผสมพันธุ์กับนางพญา หลังจากนั้นจะไม่สามารถกลับเข้ารังได้อีก จึงกลายเป็นวรรณะชั้นสุดท้ายของชันโรงทั้งหมด
ชันโรงถือเป็นสัตว์ชนิดที่มีบทบาทสำคัญมากในทางเกษตรกรรม เพราะสามารถช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้ ได้หลายชนิด อาทิ เงาะ ลิ้นจี่ สตอว์เบอร์รี่
และว่ากันว่าได้ผลดีกว่าปล่อยให้ดอกไม้ผสมเกสรเองตามธรรมชาติ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ ปัจจุบันนี้ มีการให้เช่าชันโรงไว้สำหรับช่วยผสมเกสรดอกไม้ จึงไม่แปลกใจนัก “ชันโรง” จะกลายเป็นลูกรักของชาวสวนผลไม้ทั่วประเทศ
อีกทั้ง การดูแลรังของชันโรงก็สะดวก ไม่ยุ่งยาก เพราะขนาดรังของชันโรงมีขนาดที่พอดี สะดวกต่อการขนย้าย แต่รังของชันโรงอาจเกิดอันตรายได้หากปล่อยไว้บริเวณ ที่มีอากาศชื้นเกินไป ถูกแดดจัด หรือมีสัตว์ตัวอื่น ๆ มารบกวน ซึ่งหลายเว็บไซต์ระบุตรงกันว่า ศัตรูเบอร์หนึ่งของชันโรงคือ จิ้งจก!
ปัจจุบัน เกษตรกรนิยมเลี้ยงชันโรงไว้ในกล่องไม้สี่เหลี่ยมขนาดเท่ากระดาษ A4 กว้าง 21 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร สูงประมารณ 10 – 15 เซนติเมตร โดยจะนิยมใช้ไม้พาเลทมาทำเป็นกล่องไม้ โดยให้ฝาด้านบนสามารถเปิดได้
และเนื่องจากผึ้งชันโรงมีรัศมีการหาอาหารอยู่ที่ 300 เมตร เคล็ดลับคือ ควรคำนวณพื้นที่การตั้งรังของชันโรงเอาไว้ในบริเวณที่แน่ใจว่า เหล่าชันโรงจะสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเมื่อหมดฤดูดอกผลไม้บาน นั่นก็แปลว่าแหล่งอาหารของชันโรงหมดลงไปด้วย ดังนั้น ควรวางแผนการดูแลเรื่องอาหารของพวกมันดี ๆ
ด้วยเหตุผลเรื่องคุณประโยชน์นานับประการดังที่กล่าวไป ทำให้รังชันโรงเป็นที่ต้องการมากในแวดวงการทำเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันเกิดเป็นธุรกิจการขายหรือให้เช่ารังชันโรง ซึ่งราคาจะเริ่มต้นตั้งแต่ 700 บาทขึ้นไป สำหรับราคาให้เช่าจะอยู่ที่ 300 บาท
ทว่า การให้เช่ารังเริ่มไม่เป็นที่นิยมเท่าไร เพราะเกิดปัญหาว่ารังชันโรงที่ให้เช่านั้น ถูกสารเคมีจากเกษตรกรจนรังแตก ชันโรงหนีหายไปหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง