จรวด Falcon 9 ของบริษัท Space X กลับมาลงจอด ณ Landing Zone 1 สำเร็จ หลังทำภารกิจนำส่งยานอวกาศ “PACE” ของ NASA ขึ้นสู่วงโคจร Sun-Synchronous Orbit สำเร็จเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 67 เวลาประมาณบ่ายโมงครึ่งของประเทศไทย หลังจากดีเลย์ไปร่วม 2 วัน
เราอาจเคยได้ยินว่า NASA มักจะส่งยานอวกาศเพื่อไปศึกษาดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในอวกาศอันไกลโพ้น หรือแม้กระทั่งส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ด้วยยานอวกาศอพอลโล 11 ก็เคยทำมาแล้ว
แต่อันที่จริงแล้ว NASA มีหน่วยย่อยสำหรับส่งยานอวกาศเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงบนโลกโดยเฉพาะด้วยเหมือนกัน ยานอวกาศ PACE ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยนี้
เป็นอีกครั้งที่ NASA ครีเอทชื่อยานอวกาศให้หยอกล้อไปกับภารกิจที่ถูกส่งไปทำ โดยชื่อยานอวกาศ “PACE” ย่อมาจาก
(P)lankton - แพลงก์ตอน
(A)eroso l- ละอองลอย
(C)loud - เมฆ
Ocean (E)cosystem - ระบบนิเวศทางทะเล
บนเว็บไซต์ NASA ระบุว่า ยานอวกาศ PACE ถูกส่งขึ้นไปบนวงโคจร Sun-Synchronous Orbit เพื่อทำความเข้าการเปลี่ยนแปลงของโลกและมหาสมทุร
สีของน้ำทะเลและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในมหาสมุทร ผ่านอุปกรณ์ที่ติดไปกับยานด้วยนั่นคือ Ocean Color Instrument (OCI) และ Multi-angle Polarimeters
เกริ่นไว้สั้น ๆ แล้ว สำหรับ Ocean Color Instrument (OCI) เครื่องมืดชนิดนี้จะทำแผนที่แบ่งเป็นเฉดสีต่าง ๆ ของมหาสมุทรอย่างละเอียด ตั้งแต่ความยาวคลื่นใกล้อินฟาเรดไปจนถึงรังสีอัลตราไวโอเลต
สีเหล่านั้นสามารถบอกความเป็นไปของมหาสมุทรได้หลายอย่าง อาทิ คลอโรฟิลด์ที่เกิดจากแพลงก์ตอนพืชยามสังเคราะห์แสง ซึ่งนี่อาจทำให้เราพอรู้สุขภาพของทะเลคร่าว ๆ ได้ และอาจทำให้เราเข้าใจสามารถเข้าใจระบบนิเวศทางทะเลได้มากยิ่งขึ้น
NASA ระบุว่า ยานอวกาศ PACE จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาสมุทรและบรรยากาศของโลกได้ พร้อมทั้งหาวิธีศึกษาใหม่ ๆ เพื่อดูว่ามหาสมุทรและชั้นบรรยากาศโลกแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนกันอย่างไร และสุดท้ายคือจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศที่จะเป็นประโยชน์กับผู้คนอีกด้วย
ที่มา: Space.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง