งานวิจัยเผย หากค่ามลพิษในเมืองลดน้อยลง ประชากรผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืด (Asthma) ก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย กรณีศึกษาเมืองอ็อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร โดยศึกษาค่ามลพิษช่วงเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้จราจรบนท้องถนนน้อยลง คนอยู่บ้านมากขึ้น
ปี 2020 คือกาลที่ทั้งโลกกำลังระทมกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 WHO ระบุว่า เฉพาะปีนั้นปีเดียวมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดังกล่าวไปร่วม 3 ล้านคน สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งประเทศที่ถูกเชื้อดังกล่าวระบาดอย่างหนักหน่วง กระทั่งต้องมีการสั่งล็อคดาวน์ ผู้คนออกไปไหนไม่ได้ และถนนไร้รถสัญจร
ล่าสุด ทีมนักวิจัยกลุ่มหนึ่งตีพิมพ์การศึกษาในวารสารทางการแพทย์ BMJ Open โดยปักหมุดการศึกษาไว้ที่เมืองอ็อกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร ช่วงประกาศล็อคดาวน์ (ปี 2020) และย้อนกลับไปดูว่า ระดับมลพิษในอากาศลดน้อยลงหรือไม่ และหากลดลงจริง ส่งผลต่อสุขภาพของประชากรมากน้อยแค่ไหน?
โดยเปรียบเทียบระดับมลพิษทางอากาศตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 จนถึงช่วงที่แพร่ระบาดหนักในปี 2020 พบว่า ช่วงที่ผู้คนออกไปไหนไม่ได้ อากาศในเมืองอ็อกซฟอร์ดสะอาดกว่าตอนก่อนช่วงที่จะเกิดการแพร่ระบาด ทั้งฝุ่น PM 2.5 หรือ PM 10 ล้วนทุเลาลงทั้งสิ้น
ย้อนกลับไปในปี 2020 ประเทศอังกฤษเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งใหญ่ 2 ครั้ง นั่นคือช่วง มี.ค. - มิถุนายน และ พฤศจิกายน – ธันวาคม
ในช่วงนั้น นักวิจัย พบว่า ตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 จนถึงช่วงที่แพร่ระบาดหนัก (2020) ระดับมลพิษทางอากาศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้
ทีมผู้ศึกษาระบุว่า ระดับมลพิษในอากาศที่ลดลง ทำให้ตัวเลขผู้ป่วยโรคหอบหืดลดลงตามไปด้วย โดยพบว่า จากเดิมที่มีจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืด (อันมีสาเหตุจากโควิด-19) 78 คนต่อประชากร 100,000 คน แต่เมื่อค่ามลพิษลดลง จำนวนผู้ป่วยก็ลดลงเหลือแค่ 46 คน ต่อประชากร 100,000 คนเท่านั้น
Suzanne Bartington รองศาสตราจารย์ทางคลินิกด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมและผู้เขียนหลักของการศึกษากล่าวว่า “การล็อคดาวน์ช่วงโควิด ทำให้การจราจรไม่พลุกพล่าน ชัดเจนเลยว่าอากาศดีขึ้นจริง ๆ”
การศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เราเห็นว่าเมื่อระดับมลพิษทางอากาศลดลง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซอันตราย หรือฝุ่น PM 2.5 ก็ตาม มีผลต่อสุขภาพของประชากรที่อาศัยอยู่ภายใต้อากาศนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย ตัวเลขตอบคำตอบในตัวเองแล้ว
ทั้งนี้ มลพิษทางอากาศที่ลดลงของเมืองอ๊อกฟอร์ด ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลลดน้อยลงถึง 41% หากเทียบกับค่าเฉลี่ยผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเมื่อ 5 ปีก่อน
ที่มา: Envirotech
ข่าวที่เกี่ยวข้อง