กรมทรัพยากรธรณี เผยภาพ รอยตีนสัตว์ดึกดำบรรพ์ อายุ 225 ล้านปี ที่น้ำตกตาดใหญ่ จ.เพชรบูรณ์ - ขอนแก่น แต่ต้องรีบเร่งมือเก็บข้อมูลศึกษา เพราะเสี่ยงถูกน้ำหลาก ได้รับความเสียหาย
เปิดปีใหม่ ’67 มาได้เกือบสองอาทิตย์ มีแต่เรื่องราวดี ๆ เดี๋ยวเจอปลาออร์ฟิช เดี๋ยวเจอวาฬเผือก ล่าสุด เจอรอยเท้าสัตว์ดึกดำบรรพ์ อายุหลายล้านปี จากการลงพื้นที่สำรวจของกรมทรัพยากรธรณี ที่น้ำตกตาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ค่อนกับ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น
การสำรวจในครั้งนี้ พบร่องรอยการเดินของสัตว์ดึกดำบรรพ์ จำนวน 5 แนว ประกอบไปด้วย
เดิมแล้ว การค้นพบรอยตีนสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่น้ำตกตาดใหญ่ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2566 ในครั้งนั้น ค้นพบแค่เฉพาะรอยตีนเป็นแนวทางเดินของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด จำนวน 2 แนว
ในชั้นหินโคลน ตอนล่างของหมวดหินห้วยหินลาด อายุประมาณ 225 - 220 ล้านปีก่อน หรือยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (Late Triassic) ยุคดังกล่าวเป็นสมัยท ซึ่งมีสัตว์กระดูกสันหลัง ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและเขตภูมิภาคเอเชีย
กรมทรัพยากรธรณี เผยว่า เส้นทางหรือแนวทางเดินของไดโนเสาร์กลุ่มอาร์โคซอร์ (Archosaur) ปรากฏบนหินชัดเจนมาก ทั้งกรงเล็บ นิ้ว ฝ่าตีนและรอยหลัง ซึ่งมีความแตกต่างจากรอยตีนที่พบที่บริเวณบ้านนาพอสอง (ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน) เบื้องต้น คาดการณ์ว่า เป็น “รอยตีนสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ของประเทศไทย”
แต่ดูเหมือนว่าต้องเร่งมือเก็บข้อมูลเล็กน้อย เพราะที่น้ำตกตาดใหญ่ เป็นบริเวณซึ่งเสี่ยงต่อการถูกน้ำหลาก มิเช่นนั้น ร่องรอยตีนอาจสูญหายได้ แต่เบื้องต้นทางกรมทรัพยากรธรณีจะประสานหน่วยงานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป
ที่มาข้อมูล: กรมทรัพยากรธรณี
เนื้อหาที่น่าสนใจ