กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทุกพื้นที่ สำรวจสัตว์ทะเลหายาก ในพื้นที่อ่าวไทยและอันดามัน พบสัตว์หายากหลายชนิด
หายาก ใช่ว่าจะหาไม่ได้! มาตรวจสุขภาพประจำปีกันสักหน่อย ขอบเขตการสำรวจในครั้งนี้กินระยะกว่า 1,414 ไร่ ตั้งแต่บริเวณบริเวณหาดทุ่งคา ต.เนินฆ้อ อ.แกลง เรื่อยไปจนถึง อ่าวเพ - หาดสวนสน ต.เพ อ.เมือง จ.จันทบุรี
จุดสำรวจที่ 1
จากการสำรวจบริเวณ ทะเลอ่าวเพ จ.ระยอง พบพะยูนจำนวน 2 ตัว เจ้าหน้าที่แจ้งว่าคาดคะเนด้วยภาพที่ถ่ายด้วยโดรนแล้ว คาดว่ามีความยาวประมาณ 2.4 เมตร
เนื่องจากนาน ๆ จะโผล่ขึ้นมาให้ยลโฉมกันสักที ถือโอกาสนี้วิเคราะห์สุขภาพไปด้วย พบว่า พะยูนทั้ง 2 ตัวสภาพร่างกายภายนอกปกติ พฤติกรรมการหาอาการปกติ ว่ายน้ำได้ดี
นอกจากพะยูนทั้ง 2 ตัวแล้ว ยังพบเต่าตนุอีกจำนวน 9 ตัว ความยาวประมาณ 46 – 86 ซม.โดยเฉลี่ย สภาพร่างกายปกติดี ว่ายน้ำและดำน้ำได้ปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่พบเต่าตนุในตอนที่มันกำลังเข้ามาหากินในแหล่งหญ้าทะเลพอดี
จุดสำรวจที่ 2
ข้ามมาที่ฝั่งทะเลอันดามัน (ตอนล่าง) เจ้าหน้าที่ได้ส่งอวกาศยานไร้คนขับออกไปสำรวจบริเวณแนวหญ้าทะเลทางทิศตะวันออกของเกาะมุกด์ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง กินพื้นที่สำรวจกว่า 24,687.5 ไร่ ทำให้เจอสัตว์หายากเพิ่มอีกได้แก่ พะยูนจำนวน 11 ตัว และเต่าตนุจำนวน 222 ตัว
เจ้าหน้าที่ระบุไว้ว่า จะนำข้อมูลและภาพถ่ายที่เก็บได้จากการสำรวจครั้งนี้ ไปใช้เป็นส่วนประกอบในการคำนวณและคาดการณ์จำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากเหล่านี้ ในพื้นที่ จ.ตรัง
จุดสำรวจที 3
สำหรับชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน เจ้าหน้าที่ได้วางพื้นที่การสำรวจไว้ตั้งแต่ จ.ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี และกทม.
สุดประทับใจ เพราะได้เจอคนที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอาทิ วาฬบรูดาจำนวน 9 ตัว เป็น 6 ตัวที่เราคุ้นชื่อกันอยู่แล้วเช่น แม่สาครกับเจ้าสาลี แม่กันยากับเจ้ามะลิ เจ้ามีทรัพย์ เจ้าสิงหา อีก 3 ตัวที่เหลือยังไม่เคยพบมาก่อน
นอกจากนี้ บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาครและเพชรบุรี สัตวแพทย์ที่ร่วมสำรวจด้วย ก็ได้ลงมือตรวจสุขภาพวาฬบรูด้าด้วย พบมีอัตราการหายใจปกติ ร่างกายสมบูรณ์ดี มี 2 ตัวที่พบว่ามีรอยแผลอยู่บนผิวหนัง ซึ่งสัตวแพทย์จะติดตามสุขภาพของสัตว์ทะเลหายากเหล่านี้ต่อไป
เนื้อหาที่น่าสนใจ