svasdssvasds

'ตัวตุ่น Attenborough' ถูกพบอีกครั้งที่อินโดนีเซีย ยืนยันยังไม่สูญพันธุ์!

'ตัวตุ่น Attenborough' ถูกพบอีกครั้งที่อินโดนีเซีย ยืนยันยังไม่สูญพันธุ์!

ยืนยัน! ตัวตุ่น Attenborough ยังไม่สูญพันธุ์ หลังกลุ่มนักวิจัยจาก Oxford University ได้ติดกล้องไว้ 80 ตัวเพื่อสืบหาตัวตุ่นปากยาว ผ่านไป 4 สัปดาห์ยังไม่พบ นักวิจัยเตรียมกลับ แต่โผล่มาให้เห็นวันสุดท้ายพอดี

หลายท่านอาจเคยคุ้นหน้าคุ้นตาของคุณปู่ Sir. David Attenborough มาบ้างผ่านสารคดีสัตว์โลกLife ของช่อง BBC เดวิดเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์และนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษมาเป็นระยะเวลา 60 กว่าปีแล้ว โดยปัจจุบันเดวิดขาดอีก 3 ปี เขาจะอายุครบ 100 ปีแล้ว แต่จิตวิญญาณต่อสัตว์โลกยังคงเหมือนเดิมตั้งแต่วัยเยาว์

ถือเป็นข่าวดี ๆ เพราะล่าสุด ตัวตุ่นปากยาว หรือ ‘Sir David’s long-beaked Echidna’ ถูกกล้องถ่ายวิดีโอที่กลุ่มนักวิจัยนำไปติดไว้ในเทือกเขาไซคล็อปส์ (Cyclops Mountain) ประเทศอินโดนีเซียจับภาพไว้ได้

ถือเป็นครั้งแรกในหลายปี เพราะหลาย ๆ คน แม้กระทั่ง Sir. David Attenborough เองก็คิดว่าเจ้าตุ่นตัวนี้น่าจะสูญพันธ์ไปแล้ว ครั้งสุดท้ายที่มีการพบเห็นต้องย้อนกลับไปในปี 1961 เหตุผลหนึ่งที่เราค้นพบตุ่นปากยาวตัวนี้ได้ยากคือ เป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน (Nocturnal animal) ชอบอาศัยอยู่ในโพรง แถมขี้อายเสียนี่กะไร

ลักษณะภายนอก

หากเราพิจารณาจากภายนอกจจะเห็นว่า ตัวตุ่น Attenborough มีหนามเม่นประปรายตามบริเวณลำตัว มีจมูกเหมือนตัวกินมด ด้วยรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกับสัตว์หลายชนิด Echidna จึงถูกตั้งตามชื่อตามตำนานเทพเจ้ากรีกในตำนาน ที่มีลำตัวท่อนบนเป็นมนุษย์และมีท่อนล่างเป็นงู

Echidna เทพเจ้ากรีกในตำนาน Cr. PICRYL

เจอได้อย่างไร?

ทีมนักวิจัยนานาชาติจาก Oxford University และชุมชนท้องถิ่นในอินโดนีเซีย ร่วมมือกันติดตั้งกล้องกับดักไว้ในพื้นที่ป่าราว 80 ตัว เพื่อคอยบันทึกภาพ โดยนักวิจัยกลุ่มนี้ได้ใช้เวลาอยู่ในบริเวณป่านานถึง 4 สัปดาห์ แต่กลับต้องคว้าน้ำเหลวทุกครั้ง เพราะพวกเขาไม่ได้ภาพหรือฟุตเทจของอะไรเลย

จนกระทั่งล่วงเลยมาถึงวันสุดท้าย ที่นักวิจัยลงความเห็นกันแล้วว่า ถ้าวันนี้ยังไม่เจอคงต้องกลับออกจากป่า เพราะเมมเมอรี่การ์ดไม่พอสำหรับการบันทึกวิดีโอ และการติดกล้องดึกไว้อาจจะไม่ได้ผล หรือพื้นที่บริเวณนี้อาจไม่มีตัวตุ่น Attenborough อยู่ก็ได้

เหมือนสวรรค์รับฟัง ช่วงกลางดึกของวันสุดท้าย ทีมนักวิจัยได้ยินเสียงสัตว์อะไรสักตัวเคลื่อนไหว ทันใดนั้นตัวตุ่นปากยาวก็เดินเข้ามาในวิสัยทัศน์ของกล้องที่กลุ่มนักวิจัยติดเอาไว้แบบพอดิบพอดีเหมือนนัดกันไว้ก่อนแล้ว

คริสโตเฟอร์ เฮลเกน ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากสถาบันวิจัยพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลีย เคยยืนยันว่าตุ่นปากยาว Attenborough ได้สูญพันธ์ไปแล้ว

แต่วันนี้เราได้ยลโฉมของมันอีกครั้ง ทำให้น่าสันนิษฐานต่อไปว่า ยังมีประชากรของมันมากหรือน้อยแค่ไหนในพื้นที่ป่าของประเทศอินโดนีเซีย

ที่มา: Independent

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related