นักวิจัยสหราชอาณาจักร เผยว่าจากการเก็บตัวอย่างขยะในทะเล พบว่ามีขยะที่เป็นยารักษาโรค ยาฆ่าแมลง เป็นสารพิษปนเปื้อนในน้ำทะเลมากขึ้น ซึ่งมลพิษเหล่านี้อาจส่งผลกับมนุษย์และพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของสัตว์
จากการเก็บตัวอย่างขยะในท้องทะเล นอกจากขยะพลาสติกแล้ว ขยะประเภทยารักษาโรค ยาเสพติด และยาฆ่าแมลง เป็นสารพิษปนเปื้อนในน้ำทะเลมากขึ้น
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Brunel University และ Portsmouth University ได้เก็บตัวอย่างขยะในทะเล 200 กว่าชิ้นจากอ่าว Langstone และ Chichester ใน Hampshire และ West Sussex ตัวอย่างที่เก็บมาเกือบทั้งหมดพบสารเคมีที่เกี่ยวกับยามากกว่า 50 ชนิด เช่น สารเคมีจากยาความดัน เบาหวาน หรือยาต้านซึมเศร้า
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เมืองลอยน้ำ (Dogen City) รองรับผู้อาศัยนับหมื่น ออกแบบมาให้ทน Climate Change
กระแสดีต่อเนื่อง บางจากรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้ว ขายได้ที่ไหน เช็กได้ที่นี่
สหรัฐฯขึ้นบัญชี "กุ้งล็อบสเตอร์" อาหารควรหลีกเลี่ยง เสี่ยงทำวาฬสูญพันธุ์
Prof Alex Ford จาก University of Portsmouth ได้ศึกษาผลกระทบจากสารเคมีที่มีต่อสิ่งชีวิตในทะเล ซึ่งพบว่ามีสารเคมีปนเปื้อนในสัตว์น้ำ อย่าง ปูและกุ้ง จากงานวิจัยนี้ทำให้เห็นว่ายารักษาโรคของมนุษย์เข้าไปปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกที นักวิจัยได้เผยว่าการปล่อยขยะประเภทยาหรือเภสัชภัณฑ์ของมนุษย์ลงในมหาสุมทร สร้างผลกระทบให้กับระบบนิเวศทางน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายกับทั้งมนุษย์และสัตว์ ซึ่งได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
ขยะจากยารักษาโรค ยาฆ่าแมลง ลงสู่ธรรมชาติมากขึ้นซึ่งเรื่องนี้ถูกละเลยมานาน ซึ่งผลกระทบจากสารเคมีจากขยะประเภทยาที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลอาจส่งผลกับพฤติกรรมและพันธุ์กรรมของสัตว์ทะเล นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมจึงได้มีการเรียกร้องให้มีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัมต่างๆ จะบำบัดน้ำเสียทั้งหมดก่อนปล่อยลงสู่ทะเล
ที่มา : BBC