svasdssvasds

รู้จัก กิ้งกือมังกรสีชมพู หนึ่งเดียวในไทยและในโลก ผลิตสารไซยาไนด์เองได้

รู้จัก กิ้งกือมังกรสีชมพู หนึ่งเดียวในไทยและในโลก ผลิตสารไซยาไนด์เองได้

กิ้งกือมังกรสีชมพู สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในป่าประเทศไทย และเป็นสัตว์ที่พบได้แห่งเดียวบนโลก ลำตัวสีชมพูโดดเด่นแบบนี้ น่ารักแต่แฝงไปด้วยพิษร้ายแรง

 

สวยงามตามธรรมชาติ หนึ่งเดียวในไทยและหนึ่งเดียวในโลก กิ้งกือมังกรสีชมพู สัตว์ดึกดำบรรพ์ประจำจังหวัดอุทัยธานี

กิ้งกือมังกรสีชมพู (Shocking Pink Millipede) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Desmoxytes purpurosea ถูกค้นพบในปีพ.ศ. 2550 โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งการค้นพบครั้งนั้น กลายเป็นการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ของโลก และได้ถูกตั้งชื่อว่า "กิ้งกือมังกรสีชมพู" ในเวลาต่อมา

กิ้งกือมังกรสีชมพู Cr. ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเมื่อวันที่ 23 พฤษาภาคม 2551 สถาบันไอไอเอสอี (International Institute of Species Exploration : IISE) แห่งมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศยืนยันให้กิ้งกือมังกรสีชมพู ที่หุบป่าตาด นี้เป็นสุดยอดของการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ อันดับที่สามของโลก

ข่าวที่เกี่ยวข่าว

ลักษณะเด่นของกิ้งกือ

สิ่งที่โดดเด่นที่สุดและไม่เหมือนใครของกิ้งกือเหล่านี้คือสีประจำตัวที่เป็นสีชมพู ที่กลายมาเป็นชื่อ Shocking pink ลำตัวมีปุ่มหนามและลวดลายคล้ายมังกร เลยจัดอยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกร หรือ พาราดอกโอโวมาติเดีย (Paradoxosomatidea) เมื่อกิ้งกือตัวโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีปล้อง 20-40 ปล้อง

พบได้ที่ไหน?

เราสามารถเจอะเจอกับเจ้ากิ้งกือได้แค่สถานที่เดียว นั่นคือ หุบเขาป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์ที่ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านชายเขา หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

กิ้งกือมังกรสีชมพู Cr. ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปัจจุบัน หุบป่าตาด กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของจังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำหินปูนมาก่อน ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ทำให้หลังคาถ้ำถล่มลงมา หลายเป็นหลุมยุบหรือหุบที่เห็นในปัจจุบัน

ข้อควรระวัง

กิ้งกือ แม้จะดูเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีอันตรายใด ๆ แต่ไม่ใช่สำหรับกิ้งกือมังกรชมพู เพราะกิ้งกือมังกรชมพูมีระบบป้องกันตนเองจากศัตรู ด้วยการปล่อยสารพิษประเภทไซยาไนด์ ออกมาจากต่อมขับพิษข้างลำตัว

กิ้งกือมังกรสีชมพู Cr. ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หากอยากเจอต้องไปช่วงไหน?

เราสามารถพบเจอกิ้งกือมังกรสีชมพูได้ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ไปจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เจอได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น หากอยากไปชมก็เดินไปได้เลยที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ซึ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

นอกจาก สถานที่แห่งนี้จะมีสัตว์น่าพิศวงอย่างเจ้ากิ้งกือมังกรสีชมพูแล้ว ยังมีสิ่งมหัศจรรย์อีกหลายชนิดให้ได้ยลโฉม เช่น ต้นไม้ดึกดำบรรพ์ อาทิ ต้นตาด สมพง ยมหิน ปอหูช้าง ปรง และกล้วยผา หรือก็มีสัตว์หายากออกหากินยามค่ำคืน เช่น เลียงผา

ดังนั้น เดินทางไปเที่ยวแล้ว กรุณาเคารพสถานที่ ไม่สงเสียดัง ไม่ทิ้งขยะ และไม่หยิบจับทรัพยากรธรรมชาติออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาติกันด้วยนะ

ที่มาข้อมูล

ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Springnews

related