จับตา! สิงคโปร์ดึงพลังงานสะอาดมาใช้ในสนามบิน ด้วยการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่บนหลังคาสนามบินชางงี มีกำลังผลิต 43 เมกะวัตต์ สามารถจ่ายไฟให้กับบ้านได้ 10,000 หลัง แต่มีอะไรบ้างที่ต้องกังวล?
สิงคโปร์เผยเมกะโปรเจกต์ด้านพลังงาน เตรียมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้กับสนามบินชางงี (Changi) โดยคาดว่าจะมีกำลังผลิตรวม 43 เมกะวัตต์ หลัก ๆ แล้วจะติดตั้งไว้ 2 ตำแหน่งด้วยกันคือ บนหลังคาสนามบิน และภายในอาคาร คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2568
ทั้ง 2 จุด จะถูกกำหนดกำลังผลิตไว้อย่างชัดเจน สำหรับแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาสนามบินจะมีกำลังผลิตที่ 38 เมกะวัตต์ ส่วนภายในอาคารจะมีกำลังผลิตที่ 5 เมกะวัตต์ ซึ่งครองคลุมพื้นที่กว่า 40,000 ตารางเมตร
Changi Airport Group เผยว่า ปกติแล้วเราจะเห็นแผงโซล่าเซลล์อยู่บนหลังคาบ้านเรือน ตึกสูง เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่สนามบิน
คำถามคือ แล้วพลังงานไฟฟ้าที่ได้มาจากแผงโซล่าเซลล์นั้น ทาง CAG จะนำไปใช้ประโยชน์อะไร?
CAG เผยว่า แค่เฉพาะแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาสนามบินสามารถสามารถผลิตไฟฟ้าให้กับบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ได้มากกว่า 10,000 หลังต่อปี นอกจากนี้ไฟฟ้าที่ได้บางส่วนจะถูกนำไปหมุนเวียนใช้ภายในสนามบิน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 20,000 ตันต่อปี
กระนั้นเอง คำถามก็ผุดงอกเป็นดอกเห็ดกับการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาสนามบิน อาทิ แผงโซล่าเซลล์จะก่อให้เกิดแสงสะท้อนจนไปรบกวนการจราจรทางอากาศ การมองเห็นของนักบิน หรือไปรบกวนการสื่อสาร หรือไม่
ทั้งนี้ CAG เผยว่า กระบวนการติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและความมั่นคงในการบิน รวมถึงข้อบังคับด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยจากกองกำลังป้องกันพลเรือนของประเทศสิงคโปร์
Changi Airport Group ได้ลงนามข้อตกลงระยะเวลา 25 ปีกับ Keppel ในการออกแบบ พัฒนาแผงโซล่าเซลล์ให้กับสนามบินชางงี โดยขั้นต้นจะมีศูนย์สำหรับตรวจสอบระยะไกล และการรายงานแบบเรียลไทม์เพื่อดูอัตรการผลิตพลังงานของโซล่าเซลล์ พร้อมทั้งตรวจจับข้อผิดพลาด และบำรุงรักษา
โค หมิง ซือ รองประธานบริหารฝ่ายวิศวกรรมและการพัฒนาของ CAG กล่าวว่า CAG วางแผนให้สนามบินชางงีเป็นศูนย์กลางการบินที่ยั่งยืนมากขึ้นนั้น รวมถึงการอัปเกรดอาคารและระบบสนามบินแนวหน้าด้วยโมเดลประหยัดพลังงาน และการเปลี่ยนไปสู่ยานพาหนะพลังงานสะอาด
ที่มา: zdnet
ข่าวที่เกี่ยวข้อง