ประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย ยังจ่ายค่าเอฟทีราคาเดิม ทำให้ค่าไฟรอบเดือนม.ค.- เม.ย.65 ที่ต้องจ่ายอยู่ในอัตราเดิมคือ 4.72 บาทต่อหน่วย แต่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นต้องจ่ายค่าไฟเพิ่ม 20.5% เป็น 5.69 บาทต่อหน่วย
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า หลังจาก กพช. มีมติให้จัดสรรก๊าซธรรมชาติหลังโรงแยกก๊าซฯ เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยเป็นลำดับแรก ในปริมาณที่ไม่เพิ่มภาระอัตราค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน ส่งผลให้ กกพ. ต้องประกาศค่าไฟฟ้าเป็น 2 กลุ่มคือ ประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทอื่นๆ โดยมีผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอาศัยอยู่มีอัตราค่าไฟฟ้า 4.72 บาทต่อหน่วย และ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ มีอัตราค่าไฟฟ้า 5.69 บาทต่อหน่วย ในรอบบิลค่าไฟฟ้า ม.ค. - เม.ย. 66
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จักโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีกำลังการผลิตติดตั้งใหญ่อันดับ 2 ของโลก
กบง.ให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม 408 บาท/ถังอีก 1 เดือนแต่ขึ้น NGV 1 บาท
กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 58/2565 (ครั้งที่ 825) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 พิจารณาผลการคำนวณค่า Ft ที่ กฟผ. เสนอตามแนวทางที่ กพช. เห็นชอบ ประจำงวดเดือน มกราคม – เมษายน 2566 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่อัตรา 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นที่อัตรา 190.44 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งการคำนวณค่า Ft
ตามแนวทางดังกล่าวนี้ ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับเท่าเดิมที่อัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นจะมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่อัตรา 5.69 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 20.5%
โดยผู้ใช้ประเภทอื่น หมายถึง กิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โรงแรม กิจการไม่แสวงหากำไร สูบน้ำเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าชั่วคราว(ระหว่าง ก่อสร้าง) พูดง่ายๆ คือ อุตสาหกรรม การค้า การเกษตร การบริการ ทั้งหมด
ปัจจัยหลักที่กระทบค่า Ft ในรอบนี้มาจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้ามาทดแทนการลดลงของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและก๊าซธรรมชาติในสหภาพพม่าตามการประมาณการ ปริมาณและราคาก๊าซธรรมชาติในการคิดค่า Ft ในรอบเดือนมกราคม – เมษายน 2566 และภาระการทยอยจ่ายคืนหนี้ Ft การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)