svasdssvasds

นักวิชาการชี้โลกร้อนหนักขึ้นทำให้เกิดปรากฎการณ์​ "เมฆระเบิด"

นักวิชาการชี้โลกร้อนหนักขึ้นทำให้เกิดปรากฎการณ์​ "เมฆระเบิด"

เพราะโลกรวนหรือเปล่า ภัยธรรมชาติดูจะรุนแรงขึ้นเสียหายใหญ่หลวงและหนักหนาสาหัสขึ้น ล่าสุด อ.สนธิ คชวัฒน์ อาจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โพสต์อธิบายปรากฎการณ์ “เมฆระเบิด” ต้นเหตุที่ทำให้ฝนกระหน่ำหนักขึ้น

เหตุฝนตกอย่างหนักยาวนานถึง 4 ชั่วโมง ริมเชิงเขา จนเกิดน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมหนักในพื้นที่อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อ.สนธิ คาดว่า ความเสียหายมหาศาลอาจเกิดมาจากปรากฎการณ์ Cloudburst หรือเมฆระเบิด และ Rain Bomb หรือฝนกระหน่ำ

โดยอาจารย์อธิบายว่า เมฆระเบิด ทำให้เกิดฝนกระหน่ำ(RainBomb)หนัก จะเกิดขึ้นบ่อยที่ประเทศไทยในทุกฤดูฝน

ภาพจาก AI โดย Freepik แสดงให้เห็นเมฆฝนที่ก่อตัวคล้าย "เมฆระเบิด" สำหรับสภาวะการเกิดเมฆระเบิด (Cloudburst) ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ใกล้เชิงเขาในกรณีที่อากาศบนพื้นดินและอากาศบนยอดเขามีอุณหภูมิที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ทำให้อากาศร้อนหรือมวลความกดอากาศต่ำที่อยู่ใกล้เชิงเขาจะพัดเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่งไปยังยอดเขา ซึ่งมีอากาศเย็นกว่าอย่างกะทันหัน ทำให้สภาพภูมิอากาศใกล้พื้นโลกเย็นลงอย่างรวดเร็ว เกิดความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้นและความชื้นรวมตัวกันเป็นเมฆฝนมากขึ้น

นอกจากนี้ลมที่พัดในแนวราบ ได้พัดพานำเมฆที่กระจัดกระจายมารวมกันอยู่ที่เชิงเขา รวมตัวกันเป็นเมฆก้อนใหญ่ที่มีความชื้นสูง เมื่อมีมวลอากาศเย็นจากมหาสมุทรพัด หรือ จากแผ่นดินใหญ่พัดเข้ามาปะทะจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ “เมฆระเบิด” เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และกลายเป็นฝนที่ตกลงมากระหน่ำหรือ “Rain Bomb” ทำอาจให้เกิดน้ำท่วมอย่างกะทันหันได้

“จากนี้เป็นต้นไปการเกิดเมฆระเบิด และ การเกิดฝนตกกระหน่ำอย่างรุนแรงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศต่างกันเช่น เป็นภูเขาสูงที่มีป่าไม้หนาแน่นหรือในเมืองที่มีตึกและอาคารค่อนข้างสูง จะทำให้อุณหภูมิระหว่างพื้นดินกับระดับความสูงขึ้นไปเกิดความแตกต่างกันมากขึ้น”

แผนภาพอธิบายการเกิด "เมฆระเบิด" และ Rain Bomb ที่มาจาก FB: อ.สนธิ คชวัฒน์

การเกิดปรากฎการณ์ “เมฆระเบิด” จะคาดการณ์ได้ค่อนข้างยากเนื่องจากภาวะโลกร้อนทีWแรงขึ้นทำให้เกิดอากาศแปรปรวนและทำ ให้น้ำในมหาสมุทรและทะเลระเหยขึ้นไปรวมกันเป็นความชื้นในอากาศมากกว่าปกติ

นอกจากนี้ยังทำให้อุณหภูมิเกิดความแตกต่างกันมากขึ้นระหว่างระดับพื้นดินและระดับที่สูงขึ้นไป ดังนั้นการเกิดสภาวะเมฆระเบิดและฝนตกกระหน่ำจึงคาดเดาได้ยากแต่มักจะเกิดในช่วงที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพัดผ่านและช่วงที่มวล อากาศเย็นพัดจากแผ่นดินใหญ่หรือทะเลมหาสมุทรมาปะทะ

อ.สนธิ คาดว่า ช่วงเดือนพฤศจิกายน มวลความกดอากาศสูงหรืออากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่จะพัดลงมารุนแรงมากขึ้นและร่องมรสุมจะเคลื่อนที่ลงสู่ภาคใต้ตอนล่าง จะทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดลดน้อยลง

“แต่มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาซึ่งเป็นความกดอากาศสูงจะกดทับอากาศบนพื้นโลกไว้ ทำให้การระบายอากาศ จากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆบนพื้นโลกในแนวดิ่งจะระบายได้น้อยลงฝุ่น PM2.5 จะเริ่มกลับมา”

related