svasdssvasds

เปิด 4 เรื่องสำคัญ! ไทยบนเวที COP 29 ย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

เปิด 4 เรื่องสำคัญ! ไทยบนเวที COP 29 ย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP 29) ใกล้เข้ามาทุกที วันนี้จะพามาเปิด 4 เรื่องสำคัญ! ของไทยบนเวที COP 29 ย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

SHORT CUT

  • ใกล้เข้ามาทุกทีสำหรับการจัดประชุม COP 29 หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2567
  • สาระสำคัญสําหรับ COP29 มีดังนี้ การเงินด้านสภาพอากาศ และ "ปัญหา NCQG" การระดมทุนการเติบโตของกองทุนความสูญเสียและความเสียหาย การปรับตัว
  • ไทยเน้นย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม การตั้งเป้าหมายใหม่ทางการเงินของประเทศพัฒนาแล้วเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาอย่างพอเพียงและเหมาะสม

การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP 29) ใกล้เข้ามาทุกที วันนี้จะพามาเปิด 4 เรื่องสำคัญ! ของไทยบนเวที COP 29 ย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

การจัดประชุม COP 29 หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11-22 พฤศจิกายน 2567 ที่จะถึงนี้ หลายประเทศต่างเตรียมทำการบ้านไปหารือกันอย่างเข้มข้น โดย COP29 เป็นการประชุมครั้งต่อไปของกลุ่ม 198 ประเทศที่ลงนามในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้การประชุมภาคี (COP) เป็นกลุ่มประเทศที่ได้ลงนามในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งรวบรวมไว้ในปี 2535 ให้คํามั่นว่าจะดําเนินการร่วมกันเพื่อรักษาเสถียรภาพของก๊าซเรือนกระจก "ในระดับที่จะป้องกันการแทรกแซงของมนุษย์ที่เป็นอันตราย (ที่เกิดจากมนุษย์) กับระบบภูมิอากาศ" ตั้งแต่นั้นมา ภาคีหรือประเทศต่างๆ ได้ประชุมกันเกือบทุกปี

สำหรับ COP ล่าสุด COP28 จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้วที่ดูไบและเป็น COP สภาพภูมิอากาศที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยเรียกประชุมผู้แทน 97,000 คน และประมุขแห่งรัฐมากกว่า 150 คน พร้อมด้วยผู้เจรจา ผู้นําธุรกิจ และนักแสดงที่ไม่ใช่รัฐ บทสรุปของ Global Stock Take (GST) ครั้งแรก (การทบทวนความคืบหน้าระยะกลางของข้อตกลงปารีสปี 2558) เป็นผลลัพธ์หลักของงาน และการประชุมเน้นย้ำถึงความจําเป็นในการดําเนินการอย่างแน่วแน่เพื่อสร้างความคืบหน้าเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงที่ยุติธรรม และอื่นๆ

อย่างไรก็ตามมีลําดับความสําคัญหลักสําหรับ COP29 ดังนี้

  • การเงินด้านสภาพอากาศและ "ปัญหา NCQG"
  • การระดมทุน
  • การเติบโตของกองทุนความสูญเสียและความเสียหาย
  • การปรับตัว

พามาดูความคืบหน้า และการเตรียมการบ้านของไทยว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง ล่าสุด นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 โดยมี ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1 นางสาวแคทรียา ปทุมรส รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 2 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่กรรมการและเลขานุการ และนายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ พร้อมด้วย คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

เปิด 4 เรื่องสำคัญ! ไทยบนเวที COP 29 ย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม

ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และพิจารณาเห็นชอบเรื่องสำคัญ ดังนี้

  • ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP 29) ซึ่งเน้นเรื่องการดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียน ตามพันธกรณีภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และกิจกรรมภายใต้ AWGCC Action Plan 
  • (2) ร่างกรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี พ.ศ. 2567 – 2568 ซึ่งเป็นไปตามหลักการของกรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนของประเทศ พร้อมทั้งคำนึงถึงบริบทและขีดความสามารถของประเทศไทยในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส

โดยเน้นย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม การตั้งเป้าหมายใหม่ทางการเงินของประเทศพัฒนาแล้วเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาอย่างพอเพียงและเหมาะสม รวมถึงกลไกและขั้นตอนการเข้าถึงกองทุนสำหรับความสูญเสียและความเสียหาย เป็นต้น

  • (3) ร่างองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุม COP 29 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 และ
  • (4) หลักการต่อการรับรองปฏิญญาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ เพื่อสร้างความพร้อมของระบบสาธารณสุข ชุมชน และประชาชน ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุขรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related