svasdssvasds

หน่วยงานไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม มีมากมายเต็มไปหมด ควรฟังใครดี

หน่วยงานไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม มีมากมายเต็มไปหมด ควรฟังใครดี

เคยสงสัยกันไหมว่า หน่วยงานไทย ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำ เกี่ยวข้องกับการเตือนภัยพิบัติต่างๆ มีมากมายเต็มไปหมด จนเกินจะนับจำนวนด้วยนิ้วมือ และประชาชนอย่างเราๆ ควรฟังใครดี หรือ อ่านข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานใดดี ทั้งเรื่องน้ำท่วม น้ำป่า และการแจ้งเตือนต่างๆ

SHORT CUT

  • ประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำและการเตือนภัยจำนวนมาก กระจายอยู่ในหลายกระทรวง
  • แม้จะมีหน่วยงานมากมาย แต่การทำงานยังขาดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเตือนภัยและการจัดการน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • ทั้งนี้ รัฐบาล มีความจำเป็นที่จะต้อง ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำและการเตือนภัยให้มีการบูรณาการมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติในอนาคต เพื่อให้เหตุพิบัติ ไม่เกิดความเสียหายที่รุนแรง 

เคยสงสัยกันไหมว่า หน่วยงานไทย ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำ เกี่ยวข้องกับการเตือนภัยพิบัติต่างๆ มีมากมายเต็มไปหมด จนเกินจะนับจำนวนด้วยนิ้วมือ และประชาชนอย่างเราๆ ควรฟังใครดี หรือ อ่านข้อมูลต่างๆจากหน่วยงานใดดี ทั้งเรื่องน้ำท่วม น้ำป่า และการแจ้งเตือนต่างๆ

ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ถือเป็นสิ่งที่ทุกส่วนให้ความสนใจ เพราะนี่คือภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในประเทศ 

แล้วคำถามที่ตามมา หลังจากที่เสียน้ำตากันไปแล้ว นั่นคือ , ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานกับเรื่องน้ำ และเรื่องเตือนภัย จำนวนมาก , แต่สุดท้ายแล้ว ประชาชน อย่างเราๆ ที่มีข้อมูลข่าวสารไหลบ่ามาเป็นจำนวนมาก จะต้องคัดกรองและฟังจากหน่วยงานใด ? 

เพราะที่จริงแล้ว ประเทศไทย มีหน่วยงานที่เกี่ยวพันข้องเกี่ยวกับเรื่องน้ำ มากมายเกิน 10 หน่วย และมาจากหลายๆกระทรวงด้วยกัน  , แต่เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติทำไมจึงยังถูกตั้งคำถาม การเตือนภัยยังไร้ประสิทธิภาพ  เหตุใดแต่ละหน่วยงานมีข้อมูล แต่กลับไม่ถูกนำมาใช้เตือนภัยมากนัก แต่เพราะเหตุใด จึงยังดูเหมือนทำงาน ไม่สอดประสานกัน อย่างลงตัวนัก 

ในช่วงเวลาที่ ฝนตกหนักนั้น สิ่งที่ประชาชนอยากรู้ คือ น้ำจะท่วมสูงแค่ไหน แต่ทุกวันนี้ยังเป็นต่างหน่วยต่างเตือน การคาดการณ์ภัยที่จะมาถึงจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนในแต่ละพื้นที่ จึงทำให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา 

ดังนั้น เราจึงขอพาไปดูหน่วยงาน (บางส่วน) ที่ต้องทำงาน เกี่ยวกับน้ำ มีตัวเลข มีข้อมูลต่างๆ , หน่วยงานเหล่านี้ อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงใด

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) 

เริ่มต้นกันที่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  - หน่วยงานกำกับดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี  
 
หน่วยงานนี้ จะทำหน้าที่ เสนอแนะนโยบาย จัดทำแผนแม่บท กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศและขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ จัดทำผังน้ำ บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำ แผนงาน โครงการ งบประมาณ ประสานความร่วมมือด้านต่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ และติดตามประเมินผลการบริหารทรัพยากรน้ำ , หน่วยงานนี้ ลักษณะเป็นหน่วยงานใหม่ที่ดูภาพรวมของน้ำทั้งประเทศ และมีอำนาจสั่งการต่างๆ 

โดย กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จะเป็นหน่วยงานอยู่ในสังกัดของ สทนช. ,  กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จะทำหน้าที่บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ , วิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำ เป็นศูนย์อำนวยการข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และเตือนภัยสถานการณ์น้ำ

รายงานสถานการณ์น้ำจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จากชื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง "น้ำ" อยู่หลายๆ กรม ทั้ง กรมทรัพยากรน้ำ , กรมทรัพยากรน้ำบาดาล  , กรมทรัพยากรธรณี  , กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

โดยในประเด็นเตือนภัยพิบัตินั้น , กรมทรัพยากรธรณี มักจะออกมาเตือนเวลาจะเกิดเหตุ แผ่นดินถล่ม, แผ่นดินไหว ,หลุมยุบ ขณะเดียวกัน กรมฯ มีภารกิจ สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์

คำเตือนจาก กรมทรัพยากรธรณี

ขณะที่ กรมทรัพยากรน้ำ  มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การจัดสรรน้ำ การใช้น้ำ การป้องกันและบรรเทาความเสียหาย อันเกิดจากทรัพยากรน้ำ อันจะเป็นประโยชน์แก่การบริการสาธารณูปโภคและประโยชน์สาธารณะ อย่างอื่น

หน่วยงานไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม มีมากมายเต็มไปหมด ควรฟังใครดี

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ด้านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ ในเชิงของการเก็บข้อมูล โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ องค์การมหาชน (สสน.) ซึ่งในช่วงเวลานี้ หน่วยงานนี้อยู่ในไฮไลท์ข่าวอยู่บ่อยครั้ง  โดยมีหน้าที่  วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ .  บูรณาการข้อมูล และให้บริการระบบคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำของประเทศ และอีกข้อที่สำคัญ คือ การนำเสนอและถ่ายทอดผลการวิจัยและพัฒนา และส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนนำไปใช้ประโยชน์  ส่วน คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ก็จะเป็นหน่วยงานที่อยู่ใน สสน. อีกที

ด้าน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน หรือ Gistda จะมีส่วนในประเด็นเรื่องน้ำในประเทศ คือ  พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศให้เป็นความรู้ที่ไร้พรมแดนและเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม และ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศจากข้อมูลดาวเทียม และข้อมูลสำรวจจากแหล่งอื่น ซึ่งนั่นคือการถ่ายภาพแหล่งน้ำ

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

สำหรับ  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ กระทรวง DE ก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ และ คาดการณ์เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ นั่นคือ  กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องติดตาม ศึกษา วิเคราะห์ และรายงานสภาพอากาศประจำถิ่นของประเทศไทย รวมทั้งประเมินผลกระทบที่เกิดจากสภาพอากาศ และนั่นมีความเกี่ยวพันกับน้ำอย่างชัดเจน 

รายงานฝนจาก  กรมอุตุนิยมวิทยา

ส่วนในงานแจ้งเตือนภัยพิบัติ ที่เป็นเรื่องใหญ่ และ ไฮไลท์สำคัญ ที่คนพูดถึงในวงกว้าง อย่างประเด็น  Cell Broadcast Service ระบบเตือนภัยฉุกเฉินแห่งชาติ  สิ่งนี้ กำลังจะมีต้นปี 2568 โดยประเด็นนี้ ถือเป็นความร่วมมือกัน ในหลายๆ หน่วยงาน ทั้ง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)  , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ที่อยู่ใน มหาดไทย และจากทางฝั่ง กระทรวง DE

หน่วยงานไทย ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำ มีมากมายเต็มไปหมด ข้อมูลวิ่งเข้าหัวแบบเยอะจัด...แล้วสุดท้าย...เราควรฟังใครดี ?

กระทรวงมหาดไทย 

สำหรับ กระทรวงมหาดไทย นั้น  จะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำและภัยพิบัติแบบตรงๆ นั่นคือ  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือที่คนรู้จักกันในนาม ปภ. โดยหน่วยงานนี้ มีหน้าที่ เฝ้าระวัง รับแจ้งเหตุ รายงาน ติดตามสถานการณ์สาธารณภัยตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งประเมินสถานการณ์ ระดับความรุนแรงขั้นต้นของสาธารณภัย และแจ้งเตือนภัยในกรณีที่คาดว่าจะเกิดเหตุสาธารณภัย  ซึ่งนั่นหมายถึง ภัยจากน้ำหลาก น้ำป่า น้ำท่วมด้วย 

โดย ใน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน่วยงานสำคัญในอดีต อย่าง ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อยู่ด้วย , โดยในอดีตนั้น หน่วยงานนี้ เคยมีความเป็นอิสระขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่หลังเกิดเหตุสึนามิ ปี 2547 เพราะเหตุการณ์นั้น ทำให้มีการเร่งรัดจัดตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา 

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานนี้ ค่อยๆถูกลดระดับลงมาสังกัดสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีฯ ก่อนจะย้ายมาขึ้นตรงกับฝ่ายราชการที่สำนักปลัดกระทรวงเทคโนโลยีฯ จากนั้น จึงถูกย้ายมาเป็นหน่วยงานในสังกัดหน่วยงานอื่นในระดับ “กรม” ที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

นอกจากนี้ มหาดไทย ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำอื่นๆ อาทิ  ประปานครหลวง  ประปาส่วนภูมิภาค  องค์การจัดการน้ำเสีย 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน่วยงานที่หลายๆคนนึกถึงที่เกี่ยวข้องกับน้ำตรงๆ นั่นคือ  กรมชลประทาน  โดยในกรมนี้ จะมี ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ จะมี หน้าที่ติดตาม รวบรวมข้อมูลสภาพภูมิอากาศ สภาพน้ำในแม่น้ำ แหล่งเก็บก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายใน กรมชลประทาน และหน่วยงาน ภายนอก ทุกวัน ทั้งแบบรายวัน รายชั่วโมง และแบบ Real time รวมทั้งในช่วงวิกฤต  ครอบคลุม ทั้งสถานการณ์น้ำแล้งและน้ำท่วม เพื่อนำมามาประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล และคาดการณ์ สถานการณ์น้ำด้วยระบบที่ทันสมัยสามารถสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำ ของผู้บริหารได้อย่างถูกต้อง เม่นยำ รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ พร้อมทั้งมีการเฝ้าระวัง และ การประชาสัมพันธ์ การเตือนภัย

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร ยังมี กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้วย 

หน่วยงานไทย ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำ มีมากมายเต็มไปหมด ข้อมูลวิ่งเข้าหัวแบบเยอะจัด...แล้วสุดท้าย...เราควรฟังใครดี ?

• หน่วยงานอื่นๆ  

ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวพันกับเรื่องน้ำนั้น ยังมีอีกพอสมควร อาทิ   - กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดย กรมอุทกศาสตร์ เป็นหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งขึ้นตรงต่อกองทัพเรือ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ “อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ ดำเนินการ ให้การสนับสนุน และให้บริการด้านอุทกศาสตร์ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา วิศวกรรมชายฝั่ง เครื่องหมายทางเรือ การเดินเรือ เวลามาตรฐานประเทศไทย และงานเขตแดน ระหว่างประเทศ รวมทั้งการส่งกำลังพัสดุสายอุทกศาสตร์ สมุทรศาสตร์ และอุตุนิยมวิทยา ตลอดจนให้การฝึก และศึกษาวิจัยพัฒนาวิชาการอุทกศาสตร์ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา และวิชาการอื่น ๆ

ขณะที่ กรุงเทพมหานคร  มี สำนักระบายน้ำ ที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลของน้ำ โดยมีหน้าที่ อาทิ จัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร รวมถึงการก่อสร้างแและบำรุงรักษาระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ เขื่อนริมคลอง แนวคันกั้นน้ำ ท่อระบายน้ำ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้้ำ แก้มลิง หรือธนาคารน้ำ

ที่มา dgr.go.th hydrolaw.thaiwater  hii Thaiwater mnre.go.th  onwr.go.th gistda.or.th  moc disaster.go.th  wmsc.rid.go.th ops.go.th disaster.go.th

หน่วยงานไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม มีมากมายเต็มไปหมด ควรฟังใครดี

หน่วยงานไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม มีมากมายเต็มไปหมด ควรฟังใครดี

หน่วยงานไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม มีมากมายเต็มไปหมด ควรฟังใครดี

หน่วยงานไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำท่วม มีมากมายเต็มไปหมด ควรฟังใครดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related