svasdssvasds

ถอดบทเรียน! "น้ำท่วม" ครั้งใหญ่ในไทย ครั้งไหนฉุดเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

ถอดบทเรียน! "น้ำท่วม" ครั้งใหญ่ในไทย ครั้งไหนฉุดเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

พามาถอดบทเรียนน้ำท่วมไทยในแต่ละครั้ง ว่าครั้งไหนฉุดเศรษฐกิจไทยมากที่สุด น้ำท่วมปี’54 ฉุด GDP 3.2 แสนล้านบาท ส่วนปี’65 สูญ 1 หมื่นล้านบาท แล้วน้ำท่วมปี’67 จะเท่าไหร่? ล่าสุดน่าน ประเมินพัง 1,000 ล้านบาท

SHORT CUT

  • น้ำท่วมไม่ว่าจะครั้งไหนๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน ไม่มากก็น้อย

  • พาถอดบทเรียนน้ำท่วมไทยในแต่ละครั้ง ว่าครั้งไหนฉุดเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

  • ท่วมปี’54 ฉุด GDP 3.2 แสนล้านบาท ส่วนปี’65 สูญ 1 หมื่นล้านบาท แล้วน้ำท่วมปี’67 จะเท่าไหร่?

พามาถอดบทเรียนน้ำท่วมไทยในแต่ละครั้ง ว่าครั้งไหนฉุดเศรษฐกิจไทยมากที่สุด น้ำท่วมปี’54 ฉุด GDP 3.2 แสนล้านบาท ส่วนปี’65 สูญ 1 หมื่นล้านบาท แล้วน้ำท่วมปี’67 จะเท่าไหร่? ล่าสุดน่าน ประเมินพัง 1,000 ล้านบาท

ใครยังจำเหตุการณ์มหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี2554 ได้บ้าง จะเรียกได้ว่าเป็นอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติการณ์ก็ว่าได้ ซึ่งได้ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินมากถึง 65 จังหวัด ขนาดพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงก็ยังไม่รอด รวมไปจนถึงพื้นที่ปริมณฑล ถูกน้ำท่วมหนักในรอบ 70 ปี จากการตรวจสอบ ข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ระบุว่า น้ำท่วมปี2554 ไทยประสบปัญหาน้ำท่วมขัง 5.59 ล้านไร่ สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมหาศาล

ปี2554 น้ำท่วมสูญ 328,154 ล้านบาท

จนทำให้ธนาคารโลก (World Bank) ออกมาประเมินว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท นับว่าเป็นมหาอุทกภัย ที่เลวร้ายที่สุดในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบทั้งประชาชน และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สศช. น้ำท่วมปี2554 ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ทั้งปี ขยายตัวได้เพียง 0.1% ไตรมาสที่4 ติดลบหนักสุด หดตัวร้อยละ 9.0 ผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่ากว่า 328,154 ล้านบาท

ถอดบทเรียน! \"น้ำท่วม\" ครั้งใหญ่ในไทย ครั้งไหนฉุดเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

ปี2565 ก็ไม่เบา พัง 5,000 – 10,000 ล้านบาท

ส่วนในน้ำท่วมปี2565 ไทยประสบปัญหาน้ำท่วมขัง 1.85 ล้านไร่ หรือต่างจากปี2554 กว่า 3 เท่าตัว โดยหอการค้าไทย ประเมินผลเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือคิดเป็นประมาณ 0.5% ของจีดีพี มีเพียงสินค้าเกษตรกร อย่าง ข้าวนาปี ที่อาจได้รับผลกระทบ จึงถือว่าไม่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ ด้านณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม ปี 2565 คาดการณ์ความเสียหายรวมทั้งประเทศ ประมาณ 5,000 – 10,000 ล้านบาท

ปี2567 ภาคเหนืออ่วมหลายจังหวัด

ส่วนน้ำท่วมปี2567 ที่ภาคเหนือหลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็น เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และแนวโน้มขยายมายังพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง เนื่องจากมวลน้ำเริ่มไหลมาทางจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางแล้ว คาดว่าจะมาถึงในเร็วๆนี้

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา สุโขทัย ลำปาง เพชรบูรณ์ แพร่ น่าน พิษณุโลก และนครสวรรค์ ยังมีแนวโน้มที่ฝนจะตกเพิ่มอีกระลอก

ทั้งนี้หอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินมูลค่าความเสียหายกรณีสถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่ภาคเหนือ เบื้องต้นประเมินความเสียหายประมาณ 4,000 – 6,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.02 – 0.03% ของ GDP ซึ่งยังคงต้องติดตามและประเมินผลกระทบอีกครั้ง เนื่องจากหลายจังหวัดยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดน้ำท่วมเพิ่มเติม ทั้งนี้จากการประเมินพบว่า ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม

โดยในระยะสั้นหอการค้าฯ เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้การสั่งการและมอบหมายนโยบายข้ามกระทรวงเกิดการบูรณาการการทำงานอย่างคล่องตัว และจะต้องเตรียมแผนรับมือมวลน้ำที่จะไหลลงมาสู่ภาคกลางและกรุงเทพฯ ตลอดจนปริมาณฝน

อย่างไรก็ตามที่คาดว่าจะมีการตกหลังเขื่อนในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มเติมได้ หากรัฐบาลมีแผนเชิงป้องกันไว้ล่วงหน้าที่ชัดเจนก็จะช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและเศรษฐกิจได้มาก ในส่วนของภาคเอกชนหอการค้าไทยโดยมูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ได้เปิดรับบริจาคเงินช่วยเหลือผ่านเครือข่ายเอกชนทั่วประเทศ พร้อมทั้งส่งมอบเงินผ่านหอการค้าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบเพื่อจัดหาสิ่งของที่จำเป็นและระดมอาสาสมัครภาคเอกชนลงพื้นที่แจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงเครือข่ายเอกชนต่าง ๆ ที่ได้จัดคาราวานลงพื้นที่แจกถุงยังชีพ ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือสถานการณ์

หลังระดับน้ำลดลงและเข้าสู่ภาวะปกติ ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องมีแนวทางการช่วยเหลือ ซ่อมแซม และฟื้นฟู ให้ประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่ โดยเฉพาะความเสียหายของสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาปรับปรุงและซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการค้าปลีกและบริการ จึงได้ผนึกกำลังความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง (Modern Retail & Wholesale) ชั้นนำของประเทศ ระดมแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ผ่านการจัดแคมเปญลดราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ เช่น กลุ่มวัสดุก่อสร้าง เช่น ไทวัสดุ ให้การสนับสนุนการลดราคาสินค้าในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซม-ตกแต่งบ้าน และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ร่วมรายการ

กลุ่มอุปโภคบริโภค เช่น Tops ลดราคาสินค้าค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน กว่า 7,000 รายการ  อาทิ ข้าวสาร ไข่ไก่ กระดาษทิชชู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ผ้าอนามัย สินค้า Own Brand และยังล็อคราคาสินค้าอีกกว่า 400 รายการ เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ยาวนานขึ้น, Big C ลดราคาสินค้าในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสด ของใช้ในครัวเรือนทุกรายการ

และร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จัดสินค้าลดราคา ออกหน่วยธงฟ้าบริการประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย, Makro ให้การสนับสนุนการลดราคาสินค้าในกลุ่ม ข้าวสาร น้ำดื่ม ขนมขบเคี้ยว อาหารแห้ง อาหารสด ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล สินค้ากว่า 4,000 รายการ, Lotus’s ลดราคาสินค้าในกลุ่ม ข้าวสาร น้ำดื่ม อาหารแห้ง อาหารกระป๋องเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเขียน อาหารสัตว์เลี้ยง ของใช้ส่วนตัว ยารักษาโรค และของใช้จำเป็นอื่น ๆ สินค้ากว่า 5,000 รายการ

นอกจากนี้ ยังได้ประสานกับเครือข่ายบริษัทชั้นนำเพื่อช่วยสนับสนุนส่วนลดพิเศษเพิ่มเติม อาทิ TOYOTA สำหรับซ่อมแซมยานพาหนะ, SCG สำหรับการซ่อมแซมและวัสดุก่อสร้าง, Siam Kubota มอบส่วนลดค่าแรง น้ำมันเครื่อง และอะไหล่ให้กับรถที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติโดยตรง ฯลฯ

สำหรับการช่วยเหลือด้านการเงิน ได้มีการหารือกับ SME D Bank และ EXIM Bank ออกมาตรการช่วยเหลือทางการเงินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ นอกจากนั้น หอการค้าฯ จะใช้ศูนย์ประสานงานและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรฯ เป็นกลไกในการช่วยกระจายและระบายสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โดยหลังจากนี้น่าจะมีความช่วยเหลือจากเครือข่ายของหอการค้าฯ เข้ามาเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก

“หอการค้าฯ หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือนร้อน และเป็นการส่งมอบกำลังใจจากความร่วมมือของเอกชนในส่วนต่าง ๆ ไปยังประชาชนและภาคธุรกิจในพื้นที่ให้สามารถกลับมาเดินหน้าได้อย่างรวดเร็วต่อไป” นายสนั่น กล่าวทิ้งท้าย

ถอดบทเรียน! \"น้ำท่วม\" ครั้งใหญ่ในไทย ครั้งไหนฉุดเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

น้ำท่วมน่าน เสียหาย 1,000 ล้านบาท

ด้านการประเมินความเสียหายล่าสุดในภาคเหนือ นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ออกมาประเมินว่า น้ำท่วมปี2567 หนักสุดในรอบประวัติศาสตร์ที่เคยท่วมในจังหวัดน่าน คาดว่าจะเสียหายไม่ต่ำกว่าหลัก 1,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดได้ระดมกำลังในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเร่งด่วน และเตรียมการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนที่สุด

น้ำท่วมไม่ว่าจะครั้งไหนๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน ไม่มากก็น้อย น้ำท่วมปี2567 ตอนนี้ต้องมาลุ้นพื้นที่ภาคกลางว่าจะเท่ากับปี2567

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related