SHORT CUT
สมกับเป็นญี่ปุ่น! ผลกระทบจากไต้ฝุ่นอ็อมปึลทำฝนถล่มโตเกียวจนน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ แต่น้ำยังใสแจ๋ว ไม่มีขยะลอยมาสักชิ้น ประชาชนใช้ชีวิตปกติ ที่นั่นรับมือกันยังไง?
ประเทศญี่ปุ่นเป็น 1 ในประเทศที่เกิดภัยพิบัติบ่อยครั้ง เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณวงแหวนไฟแปซิฟิก ทำให้มีความเสี่ยงเกิดทั้งแผ่นดินไหว สึนามิ พายุไต้ฝุ่น ภูเขาไฟระเบิด และภัยพิบัติอื่นๆ
รัฐบาลญี่ปุ่นกับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติอย่างจริงจัง
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นมีการแจ้งเตือนว่าจะได้รับผลกระทบจากไต้ฝุ่นอ็อมปึล ซึ่งมีความรุนแรง ศูนย์กลางของไต้ฝุ่นลูกนี้จะไม่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง แต่จะมุ่งหน้าไปทางชายฝั่งเกาะฮอนชูกรุงโตเกียวก่อนที่จะเคลื่อนตัวกลับไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก รัฐบาลมีการคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้า ว่าฝนจะตกหนักในหลายพื้นที่ และอาจมีน้ำท่วมกรุงโตเกียว รัฐบาลจึงเตรียมความพร้อมด้วยการสั่งระงับเที่ยวบินหลายร้อยเที่ยว และมีการอพยพประชาชนตามพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนักออก
1 ในตัวช่วยที่ทำให้กรุงโตเกียวเกิดน้ำท่วมน้อยที่สุดคืออุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ยัก จำนวน 5 ถัง ลงลึกไปใต้ดิน 50 เมตร และมีความยาว 6.4 กิโลเมตรเชื่อมโยงกรุงโตเกียวเข้ากับเมืองคาซูคาเบะ จังหวัดไซตามะ ที่อยู่ใกล้เคียงที่นี่มีเสาคอนกรีตขนาดยักษ์ 59 ต้น เชื่อมต่อกับเครื่องระบายน้ำ 78 เครื่อง สามารถระบายน้ำได้ 200 ตันต่อวินาที ลงสู่แม่น้ำเอโดะเพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงโตเกียวในช่วงที่ฝนถล่มลงมาอย่างหนัก
อีก 1 สิ่งที่ทำให้รัฐบาลสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีคือระบบการแจ้งเตือนเหตุที่ทันสมัย รวมไปถึงการให้ความร่วมมือของประชากรญี่ปุ่น ที่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเสมอ หากมีคำสั่งให้อพยพ ก็พร้อมที่จะอพยพทันที
ขยะอุดตันเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมขังและระบายได้ยาก การแยกขยะและทิ้งตามวันและเวลาที่กำหนดจึงเป็นเรื่องสำคัญในประเทศญี่ปุ่น เวลาการเก้บขยะนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละเขตพื้นที่ ตัวอย่างเช่น
ขยะสดจะทิ้งได้ 3 วันต่อสัปดาห์
ขยะรีไซเคิลทิ้งได้ 4 วันต่อสัปดาห์
ขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทิ้งได้ 2 วันต่อเดือน เป็นต้น
นอกจากนั้นรถเก็บขยะก็จะมาตรงเวลา หากไม่นำมาทิ้งในเวลาที่กำหนด ต้องนำมาทิ้งในรอบถัดไป หรือหากเป็นขยะชิ้นใหญ่ต้องเรียกเจ้าหน้าที่ให้มารับ หากทิ้งขยะโดยพละการอาจโดนปรับเงินได้