SHORT CUT
วันสิ่งแวดล้อมโลก จากภาวะโลกร้อน สู่การแปรสภาพเป็นทะเลทราย ประเทศไทยมีโอกาสมากน้อยแค่ไหม และถ้าเป็นไปได้เราจะมีวิธีรับมืออย่างไร ?
วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) เป็นวันที่ได้รับการประกาศจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี สืบเนื่องมาจากโลกของเราเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดความร่วมมือ เกิดความตะหนัก และรู้ทันเหตุการณ์ จึงได้มีการจัดประชุมใหญ่ระดับโลกขึ้นที่ กรุงสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน ในช่วงวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เป็นการประชุมวาระโลกเรื่อง “มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งนับเป็นการหารือด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงมีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม ซึ่งก็คือวันที่ 5 มิถุนายน เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" โดยทาง UN จะกำหนดหัวข้อ (Theme) ในแต่ละปีแตกต่างกันและกำหนดประเทศเจ้าภาพในการดำเนินกิจกรรม
โดยธีมในปีนี้ คือ การฟื้นฟูดิน การแปรสภาพเป็นทะเลทรายและ การรับมือกับภัยแล้ง “Land restoration, desertification and drought resilience” และมีคำขวัญ “Our land, Our Future. We are#GenerationRestoration” “พลิกฟื้นผืนดิน สู้วิกฤติภัยแล้ง” โดยมีประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นเจ้าภาพ ตามที่ได้มีการประชุมและวิเคราะห์สถานการณ์โลกในอนาคต พบว่าปัญหาสำคัญของโลกอันดับหนึ่งที่ตรงกันในทุกสาขา คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทั้งในวงการเศรษฐกิจและสังคมโลก ธีมในปีนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายที่เชื่อมโยงกันระหว่างความเสื่อมโทรมของทีดินที่จะต้องได้รับการฟื้นฟู ความแห้งแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่องก็จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปรสภาพที่ดินเป็นทะเลทรายได้ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการป้องกันและแก้ไข
การกลายสภาพเป็นทะเลทราย (Desertification) คือ สภาวะเสื่อมโทรมของดินในพื้นที่แห้งแล้ง จากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลจากการกระทำของมนุษย์ นอกจากนี้ การกลายสภาพเป็นทะเลทรายยังหมายถึงสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ซึ่งสูญเสียความชุ่มชื้นเพราะการขาดน้ำเป็นเวลานาน จนส่งผลให้ดินเกิดการแตกระแหง เสื่อมสภาพลง และเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของสภาพภูมิอากาศโดยรอบและความหลากหลายของพืชพรรณต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่
ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้เรียบเรียงข้อมูลถึง ปัจจัยที่นำไปสู่ภาวการณ์กลายสภาพเป็นทะเลทราย ประกอบด้วย
จากธรรมชาติ : ความเสื่อโทรมดินตามธรรมชาติเกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน(Soil Erosion) และการผุพังจากกระแสลมและคลื่นน้ำ (Weathering) เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การสูญเสียคุณสมบัติของดิน ทั้งในทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ
สภาพภูมิอากาศ : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝน การคายน้ำ และอุณหภูมิ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลโดยตรงต่อภาวะการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการสูญเสียความชื้นในดิน (Soil Moisture) การสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลาย (Soil Erosion) รวมทั้งการสูญเสียแร่ธาตุในดินที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรม (Soil Degradation)
กิจกรรมของมนุษย์ : มีกิจกรรมของมนุษย์มากมายที่ถูกดำเนินไปอย่างไม่เหมาะสมและเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียความสมดุลระบบนิเวศทางธรรมชาติ ความแปรปรวนปริมาณหรือวัฎจักรน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การตัดไม้ทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว การใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการเกษตรปริมาณมาก ที่นำไปสู่การสูญเสียธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของดิน และกลายเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการกลายสภาพเป็นทะเลทรายสูงขึ้น
องค์การสหประชาชาติ รายงานว่าประชาชนกว่า 2 พันล้านคน อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง มีแนวโน้มกลายเป็นทะเลทราย ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่
นอกจากนี้ผู้อำนวยการสถาบันสิ่
สำหรับโอกาสการกลายเป็
ความร่วมมือเพื่อดำเนินการป้
อ้างอิง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย. 2021. การเกิดขึ้นของ ทะเลทราย ผลกระทบสำคั
ทะเลทราย การแปรสภาพเป็นทะเลทราย: คืออะไร สาเหตุ ผลที่ตามมา และแนวทางแก้ไข | Renovables Verdes (https://www.renovablesverdes.
ยุทธศาสตร์ อนุรักติพันธ์. 2560. แบบจจำลองเชิงพื้นที่การเป็
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติ
ชุตินาฏ พงษ์ทองวัฒนา (นุ่น) มือถือ : 097-1300162 อีเมล [email protected]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง