SHORT CUT
วสุ กลมเกลี้ยง เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ตัวปัญหา ทำให้เราต้องสร้าง Product แก้ปัญหาให้ประชาชน ในวันที่สังคมตั้งคำถามกับภาวะโลกเดือด
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ณ งานสัมมนาหัวข้อ เมื่อโลกของเราร้อนจนเกินจนทนไหว โลกเดือดไม่ใช่เรื่องโกหกอีกต่อไป มหันตภัยโลกทะลุปรอท สัญญาณเตือนภัยมาแล้ว รับมืออย่างไรให้ “รอด” ด้วยเหตุนี้ สปริงส์ นิวส์ SPRiNG News รวมพล ชวน "คนรักษ์โลก" มา MEET UP ในเวที Innovation Keeping the World นวัตกรรม ยั่งยืน สู้ภาวะโลกเดือด ใน วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567เวลา 13.30-18.00 น. SCBX NEXT STAGE @ NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน
โดยในงานพบปะแลกเปลี่ยนมุมมองของคนรักษ์โลก และอยากเห็นโลกดีขึ้น แบ่งออกเป็น 3 เซสชั่นหลักๆ ได้แก่ 1. ขับเคลื่อน Climate Tech สู่เป้าหมาย Net Zero 2. Show Case นวัตกรรมทางธุรกิจ “เปลี่ยน” เพื่อโลกยั่งยืน และ 3. เสวนานวัตกรรมรักษ์โลก กับ KOL ตัวจริง
วสุ กลมเกลี้ยง Executive Vice President บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้ชวนมองหลายประเด็นที่น่าสนใจต่อยอดไปสู่พลังงานบริสุทธิ์ในอนาคตได้อย่างสนใจ
ประเด็นที่ คุณวสุ พูดถึงคือเรื่อง Global Trends โดยคุณวสุ ชวนมองว่าจริงๆ เรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดเพราะโลกของเราที่ผ่านมามีการปล่อยคาร์บอนฯ ถึง 37,000 ตัน เรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตมากมาย เช่น Climate Change หรือการทำให้เกิดเชื้อโรค เมื่อกระทบคนหมู่มากทำให้คนตระหนักเรื่องนี้มากขึ้น
มนุษย์จึงตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว ง่ายนิดเดียวคือการลดการปล่อยคาร์บอนฯ เช่นลดการใช้พลังงานฟอสซิล เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น
โดยยกตัวอย่าง เช่นในยุโรปมีการตั้ง CBAM ขึ้นมาโดยให้สินค้า 5 กลุ่มแรก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนฯ สูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอะลูมิเนียม ช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอนฯ จะเห็นได้ว่าทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน NGO ล้วนตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนฯ เรื่องเหล่านี้คือโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมได้
สิ่งที่ E@ ทำวันนี้ เราทำ Green Oil หรือ Green Diesel เป็นน้ำมันที่ทำมาจากน้ำมันพืช มันดีอย่างไรคือเป็นน้ำมันที่ปล่อยซันเฟอร์น้อยกว่า ตอบรับเทรนด์เพราะในภาคอุตสาหกรรมการเดินเรือมีการกำหนดลดการปล่อยซันเฟอร์ เป็นอีกอันหนึ่งที่เราเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดได้
ต่อไปคือเรื่อง Sustainable Areationfill เราทำจากน้ำมันที่ใช้ในครัวเรือนเช่นกัน ลดการปล่อยคาร์บอนฯ ได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ต่อมาคือ Phase Change Material เรื่องของเคมีที่เมื่อใดก็ตามสารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวจะมีการแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อนกัน ซึ่งเปรียบเสมือนแบตเตอรี่เก็บพลังงานความร้อน หากคุณนำไปสร้างกำแพง เมื่ออุณหภูมิสูงก็จะสามารถดูดพลังงานความร้อนได้ด้วยตนเอง พอดึกๆ พลังงานเย็นลงจะคลายพลังงานความร้อนออกมา ซึ่งญี่ปุ่นนำร่องใช้งานแล้ว
หรือเสื้อที่นักกอล์ฟหลายท่านได้ซื้อใส่แล้วเย็นตลอดเวลาแต่ไม่ให้ซัก นั่นคือ BIO CPM นั่นเอง
อีกเรื่องที่ต้องพูดคือเรื่องของแบตเตอรี่ มีการพัฒนาให้แบตเตอรี่สามารถบรรจุพลังงานเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่ราคากลับถูกลง ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา E@ ก็ร่วมในธุรกิจนี้เช่นกัน คือเทคโนโลยีแบตเตอรี่ของ E@ ที่สามารถชาร์จได้เร็วภายใน 15 นาที ไม่ว่าจะเป็นเรือ รถ แถมตัวชาร์จของเรานั้นยังมีหลายรูปแบบอีกด้วย
สิ่งที่เราทำสามารถรถการปล่อยคาร์บอนฯ ทางน้ำได้ 8,800 ตัน/ปี ส่วนทางรถสามารถรถลดการปล่อยคาร์บอนฯ ได้ 288,000 ตัน/ปี ส่วนการใช้รถรางสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
เราจะทำเรื่องของพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นโซลาเซลล์ หรือพลังงานลม และทำเรื่อง EV Ecosystem ไปด้วย คุณวสุ กล่าว
ถ้าเรามีพื้นที่ติดโซลาเซลล์เราสามารถดึงพลังงานกลับมาใช้ได้จากนวัตกรรมของเรา ในโลกแห่งความเป็นจริงเราสามารถนำไปใช้กับสนามบินได้ตอนนี้เราต้องพูดถึง Full Green Airport วันนี้เราเริ่มคุยกับ AOT แล้ว
ประเทศไทยมีการผลิต CPO เป็นอันดับ 3 ของโลกวันนี้หากสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจังจะสามารถช่วยประเทศได้ และควรมีการสนับสนุนในหลายๆ เรื่อง เรื่องที่ 1.ประชาชนเปรียบเสมือนลูกค้าทางอ้อม เพราะเรื่องคาร์บอนฯ กระทบต่อประชาชนทุกคน เราจึงทำผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองประชาชน เรื่องที่ 2.คือรัฐบาลต้องตอบสนองประชาชนให้มีการลงทุนของเราเองที่จะสามารถก้าวไปข้างหน้าได้ เรื่องที่ 3.คือการร่วมมือกันการรู้เขารู้เรา รู้ศักยภาพของเรา ทำให้ธุรกิจของเราสามารถไปร่วมมือกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศได้ เพื่อนำเทคโนโลยีเหล่านั้นกลับเข้ามาประเทศไทยสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และสร้างเศรษฐกิจได้