svasdssvasds

NOAA ประกาศ ปะการังฟอกขาวระดับ “หายนะ“ ใน 3 มหาสมุทร 53 ประเทศ

NOAA ประกาศ ปะการังฟอกขาวระดับ “หายนะ“ ใน 3 มหาสมุทร 53 ประเทศ

ดร.ธรณ์ เผย NOAA ประกาศ "ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ" ถือเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ แสดงถึงความรุนแรงของโลกร้อนทะเลเดือด ล่าสุดมี 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร ไทยต้องเฝ้าระวัง ช่วงสิ้นเดือน เม.ย. ถึง พ.ค. เป็นช่วงวิกฤต แนะควบคุมการท่องเที่ยวบางพื้นที่ มีส่วนช่วยได้

SHORT CUT

  • "ปะการังฟอกขาว" เกิดจากภาวะโลกร้อน อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลและสัตว์ทะเล

  • ปัจจุบันมี 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร เกิดปะการังฟอกขาวและจะมีเพิ่มขึ้นอีก ในทะเลไทย

ดร.ธรณ์ เผย NOAA ประกาศ "ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ" ถือเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ แสดงถึงความรุนแรงของโลกร้อนทะเลเดือด ล่าสุดมี 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร ไทยต้องเฝ้าระวัง ช่วงสิ้นเดือน เม.ย. ถึง พ.ค. เป็นช่วงวิกฤต แนะควบคุมการท่องเที่ยวบางพื้นที่ มีส่วนช่วยได้

ก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากปัจจัยต่างๆ รวมถึง ภาวะโลกรวน อาจทำให้เกิดเหตุปะการังฟอกขาวได้ในปีนี้ผลมาจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างหนักโดยเฉพาะกับปะการังที่พบการเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวขึ้นเป็นวงกว้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลที่ใช้ประโยชน์จากแนวปะการังให้ขาดที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัย 

ล่าสุด ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า NOAA ประกาศ "ปะการังฟอกขาวระดับหายนะ" (Global Coral Bleaching Event) อย่างเป็นทางการ ถือเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ สองครั้งหลังเกิดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แสดงถึงความรุนแรงของโลกร้อนทะเลเดือด

ปะการังฟอกขาว

ปัจจุบันมี 53 ประเทศใน 3 มหาสมุทร เกิดปะการังฟอกขาวแล้ว คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก ในทะเลไทย อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นในช่วงปลายมีนาคม/ต้นเมษายน แต่คงที่/ลดเล็กน้อยในช่วงสงกรานต์

ยังไม่พบปะการังฟอกขาวอย่างชัดเจนในขณะนี้ ต้องเฝ้าระวังปะการังฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงสิ้นเมษายน/ตลอดเดือนพฤษภาคม อันเป็นช่วงวิกฤต

การลดผลกระทบด้านอื่นๆ ในแนวปะการัง เช่น ตะกอน น้ำทิ้ง การท่องเที่ยว แพลงก์ตอนบลูม ฯลฯ เป็นเรื่องสำคัญในการเพิ่มความทนทานของระบบนิเวศ

การย้ายปะการัง เก็บสะสมพ่อแม่พันธุ์ ฯลฯ อาจจำเป็นหากเกิดฟอกขาวรุนแรง แต่ต้องทำอย่างรอบคอบ ภายใต้การดูแลของกรมทะเล/ผู้เชี่ยวชาญ

การลดจำนวนนักท่องเที่ยว ปิดบางพื้นที่ อาจจำเป็นแต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยวควบคู่กันไป การสร้างแหล่งดำน้ำอื่นๆ เพื่อดึงคนออกจากแนวปะการัง มีส่วนช่วยได้ เช่น เรือปราบ/สัตกูด (ฟอกขาวในปี 2553)

เครือข่ายปะการังฟอกขาวของไทยเข้มแข็ง และจะติดตามต่อไป หากเพื่อนธรณ์พบพื้นที่ใดที่ปะการังเริ่มซีด ช่วยกันแจ้งเพื่อให้มีการตรวจสอบและประเมินให้เร็วทันเวลา

กลับจากใต้ พักแป๊บนึง จากนั้นผมจะไปทะเลตะวันออก ตามดูทั้งปะการังและหญ้าทะเล โลกร้อนกำลังส่งผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปะการัง หญ้าทะเล น้ำเขียว เต่าทะเล ฯลฯ

เหนื่อยครับ บอกตามตรง ก็ได้แต่หวังว่าเราจะช่วยกันรักษาทะเลให้มากที่สุด เพราะเธอกำลังอ่อนแออย่างไม่เคยเกิดมาก่อนเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related