สส. ร่วมมือกับ ทช. และ ออกแผนรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ พื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย โดยจะเน้น 6 สาขา นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ระยอง เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา
นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า "ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย"
"รวมถึงเร่งผลักดันให้แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand’s National Adaptation Plan: NAP) จนได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกรอบแนวทางในการบูรณาการประเด็นการปรับตัวของประเทศ"
นอกจากนี้ ยังรวมถึงการสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเน้น 6 สาขาสำคัญที่มีความเสี่ยง ได้แก่
ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยรวมถึงพื้นที่บริเวณอ่าวไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากอุทกภัยและภัยแล้ง โดยข้อมูลจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงภายใต้โครงการฯ บ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและระดับน้ำทะเล รวมถึงปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน
อีกทั้งอุบัติการณ์ของภัยแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงขึ้นในอ่าวไทย ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนที่สำคัญบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ได้แก่
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เห็นว่าประเทศไทย มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง โดยโครงการฯ จะมีส่วนสำคัญในการดำเนินงานตามแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NAP)
พร้อมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศในทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง สนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานในระดับพื้นที่แบบบูรณาการ และเชื่อมโยงระหว่างสาขา
รวมถึงมุ่งเน้นการวางแผนล่วงหน้าสำหรับการปรับตัวที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งในบริเวณอ่าวไทย โดยจากการดำเนินโครงการฯ ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่
ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานระดับพื้นที่ทราบถึงช่องว่างและความต้องการการสนับสนุนสำหรับกระบวนการในการจัดทำแผนการปรับตัวฯ ของพื้นที่ อีกทั้ง สามารถจัดลำดับความสำคัญของความต้องการในการจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้น
โดยอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อเสริมสร้างความรู้และขีดความสามารถทางเทคนิค ตลอดจนการพัฒนารูปแบบการจัดหาแหล่งเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน สำหรับการรับมือต่อสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาชายฝั่งทะเล
โครงการฯ นี้ถือเป็นโครงการที่สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับพื้นที่โดยการมีแผนการเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ
อีกทั้ง ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการปรับตัวฯ จากโครงการฯ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีและขยายผลการปฏิบัติไปสู่การดำเนินงานด้านการปรับตัวในพื้นที่และภาคส่วนอื่นๆ ได้
ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานในระยะถัดไปที่กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจะจัดทำแผนปฏิบัติการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้ง 6 สาขา
โดยใช้ข้อมูลภายใต้โครงการนี้นำไปสนับสนุนการกำหนด พัฒนามาตรการ โครงการ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆของหน่วยงาน เพื่อใช้ในการวางแผนเตรียมรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป
ทั้งนี้ โครงการฯ ได้มีการดำเนินงานมาเป็นระยะเวลาทั้งหมด 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 – 2567 ได้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประเทศ และยังเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อชุมชนรอบพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว การทำประมง และการเกษตรตลอดทั้งปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง