SHORT CUT
Keep The World ชวนสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศแถบตะวันออกกลาง จอร์แดน อิรัก อียิปต์ 3 ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง เผชิญปัญหาแตกต่างกันไป แต่มีต้นตอจากภัยแล้ง
สภาพอากาศหฤโหดเป็นปัญหากวนใจชาวตะวันออกกลางมาทุกยุคทุกสมัย แต่ในยุคโลกเดือด อะไร ๆ ก็รุนแรงกว่าที่เคย มีรายงานว่า ขณะนี้ภัยแล้งกำลังกัดกินวิถีชีวิตของประชาชนชาวตะวันออกกลางอย่างหนัก มิหนำซ้ำ ในแต่ละวัน ยังต้องมารอลุ้นอีกว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจะก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอะไรบ้าง
ย้อนกลับไปเมื่อต้นปี “มกราคม 2024” ถือเป็นมกราคมที่ร้อนที่สุดเท่าที่โลกเคยบันทึกมา ขณะเดียวกัน เป้าหมายที่จะไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ก็ดูจะเป็นไปไม่ได้
ด้วยเหตุผลข้างต้น ทำให้หลายประเทศในตะวันออกกลางที่สภาพอากาศเลวร้ายอยู่แล้ว ยิ่งทวีคูณความรุนแรงเข้าไปอีก จนอาจนำไปสู่เรื่องที่ร้ายแรงที่สุดคือการเสียชีวิตของประชาชน ถึงขั้นมีการพูดกันว่า ชาวตะวันออกกลาง 123 คน จาก 100,000 คนอาจต้องตายเพราะอากาศร้อน
ดังนั้น Keep The World ชวนผู้อ่านชาวสปริงส์ไปสำรวจสถานการณ์ของ 3 ประเทศในแถบตะวันออกกลาง (จอร์แดน, อิรัก, อียิปต์) 3 ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่เจอปัญหาเดียวกัน แต่เกิดเหตุการณ์ทางธรรมชาติไม่เหมือนกัน
ดินแดนแห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีรายงานว่า ชาวจอร์แดนมีน้ำหมุนเวียนใช้แค่ 500 ลบ.ม.ต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่สหประชาชาติกำหนดไว้
นอกจากนี้ เว็บไซต์ The New Arab ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศต่ออุตสาหกรรมการเกษตรในจอร์แดน อาจส่งผลกระทบให้ GDP ของประเทศลดลงราว 6.8%
ทว่า รัฐบาลจาร์แดนได้พยายามแก้ไขวิกฤตขาดแคลนน้ำมาเนิ่นนาน อันดับแรกคือรณรงค์ให้ใช้น้ำเท่าที่จำเป็น ซ่อมแซมระบบท่อสงน้ำในประเทศให้มีเสถียรภาพ อย่างสุดท้ายคือพัฒนาและติดตั้งโรงบำบัดน้ำเสีย
เพื่อนบ้านจอร์แดน แถมปัญหาที่เจอก็คล้ายคลึงกัน ฤดูร้อนในอิรักรุนแรงขั้นวิกฤต ในปี 2566 อุณหภูมิพุ่งแตะ 49 องศาเซลเซียสติดต่อกันหลายวัน เมืองบาสรา (Basra) เคยร้อนแตะ 51 องศาเซลเซียส
อากาศร้อนคร่าชีวิตชาวอิรักประมาณ 1,091 คนต่อปี ซึ่งก็สอดรับก็การศึกษาด้านสภาพอากาศ ที่บอกว่าจะมีวันที่อุณหภูมิทะลุ 49 องศาเซลเซียสจาก 14 วัน เพิ่มเป็น 40 วัน
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ระดับน้ำทะเลในประเทศอียิปต์หนุนสูงขึ้น ถึงขั้นสามารถคุกคามความเป็นอยู่ของประชาชน และพื้นที่การทำเกษตรได้ มีรายงานว่า ร้อยละ 15 ของพื้นที่เพาะปลูกในอียิปต์ได้รับความเสียหายจากน้ำทะเลและน้ำเค็ม
เห็นได้ชัดเลยคือบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกแห่งสำคัญของประเทศ แต่ในปีหลัง ๆ กลับถูกรายงานว่า พื้นที่เพาะปลูกหดตัวลงอย่างมาก เนื่องจากการหนุนสูงของน้ำทะเล รวมถึงการขยายตัวของเมือง
ที่มา: News Arab
ข่าวที่เกี่ยวข้อง