svasdssvasds

Climate Change กระทบคนจนทั่วโลก 2.8 พันล้านคน ไร้ที่อยู่อาศัย WEF เผยวิธีแก้!

Climate Change กระทบคนจนทั่วโลก 2.8 พันล้านคน ไร้ที่อยู่อาศัย WEF เผยวิธีแก้!

ผู้มีรายได้น้อยทั่วโลก เป็นกลุ่มคนที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่โลกต่ำที่สุด ทว่า เป็นกลุ่มคนแรก ๆ ที่ต้องเจอกับวิกฤต Climate Change ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ภัยแล้ง ฝนตกหนัก หรืออากาศแปรปรวน เรื่องนี้จะแก้ไขอย่างไร?

รายงานจาก World Economic Forum ชี้ว่า ปัจจุบัน ผู้มีรายได้น้อยทั่วโลกประมาณ 2.8 พันล้านจะไร้ที่ซุกหัวหลับนอน และอีกกว่า 1.1 พันล้านคน ที่ต้องทนอยู่ในสลัม หากไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือในด้านจัดหาที่อยู่อย่างจริงจัง

เกิดอะไรขึ้น?

รายงานจาก World Economic Forum ชี้ว่า ปัจจุบัน ผู้มีรายได้น้อยทั่วโลกประมาณ 2.8 พันล้านจะไร้ที่ซุกหัวหลับนอน และอีกกว่า 1.1 พันล้านคน ต้องทนอยู่ในสลัมและที่ทุรกันดาร หากไม่มีการเข้าไปช่วยเหลือในด้านจัดหาที่อยู่ที่ปลอดภัย และเหมาะสม

หลายประเทศทั่วโลกกำลังปล่อยให้ประชากร ต้องใช้ชีวิตอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจนัก เดี๋ยวฝน เดี๋ยวแล้ง เดี๋ยวน้ำท่วม และที่สำคัญคือ พวกเขาเหล่านี้ไร้ต้นทุนในการเอาตัวรอดจากสถานการณ์เลวร้ายนี้

คนจน 2.8 พันล้านคน ต้องไร้ที่อยู่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งได้รับผลกระทบจาก Climate Change Cr. Reuters / Siphiwe Sibeko

อีกหนึ่งเหตุผล ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ทำให้มีครอบครัวรายได้น้อยจำนวนมาก ต้องดิ้นรนเพื่อหาที่ซุกหัวหลับนอน ซึ่งการันตีว่าจะปลอดภัยจากภัยพิบัติ ซึ่งส่วนใหญ่ได้อยู่อาศัยในบ้านที่สภาพแวดล้อมไม่ดี แต่มีราคาถูก

คำถามใหญ่คือ คนกลุ่มนี้มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยมาก ไฉนกลับเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่ต้องเผชิญหน้ากับสารพัดภัยพิบัติ อันเนื่องมาจาก Climate Change ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุใหญ่ หรือสึนามิ

คนจน 2.8 พันล้านคน ต้องไร้ที่อยู่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งได้รับผลกระทบจาก Climate Change Cr. Reuters / Siphiwe Sibeko

ด้วยเหตุนี้ ทาง WEF จึงเสนอ 3 วิธีให้แก่ภาครัฐทั่วโลกเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนรายได้น้อยเหล่านี้ ให้มีที่อยู่อาศัย ในแบบที่ปลอดภัยจากภัยพิบัติอันเนื่องมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 

เปิด 3 วิธีช่วยเหลือครอบครัวรายได้น้อยจากวิกฤตสภาพอากาศ

ทางสภาพเศรษฐกิจโลกเสนอวิธีที่จะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการกับปัญหาด้านสภาพอากาศ และช่วยกลุ่มเปราะบางเหล่านั้นให้รอดพ้นจากวิกฤต Climate Change

  • ตระหนักก่อนเป็นอันดับแรก

WEF เสนอว่า รัฐบาลทั่วโลกต้องจัดหาที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย เพียงพอ และยั่งยืนสำหรับคนในประเทศ เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบ้านเพื่อเอาไว้หลบเลี่ยงจากปัญหาสภาพอากาศ มิใช่ปล่อยให้พวกเขาต้องไปตายเอาดาบหน้า

รายงาน ระบุว่า หากรัฐบาลทั่วโลกลงทุนจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับกลุ่มคนเปราะบาง จะนำมาซึ่ง “ผลประโยชน์” ด้านรายได้ สุขภาพ และการศึกษา นี่ไม่ใช่เรื่องขั้นพื้นฐานหรือเนี่ย?

ควรตระว่ามีคนกำลังไร้ที่อยู่เพราะ Climate Change Cr. Reuters / Christophe Van Der Perre

ในรายของประเทศที่พัฒนาแล้ว หากลงทุนกับที่อยู่อาศัยอาจช่วยเพิ่ม GDP ขึ้นราว 10.5% ขณะเดียวกันอายุขัยของคนในประเทศ (หลังได้รับการช่วยเหลือแล้ว) อาจเพิ่มขึ้น

  • เดินหน้าสร้างที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

รัฐต้องเข้าไปกำกับดูแลการจัดหาที่อยู่อาศัย เพราะกลุ่มคนรายได้น้อยมักพิจารณาเรื่อง “งบ” เป็นอันดับแรก โครงการหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ ที่ให้การช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ ต้องได้รับเงินทุนสนับสนุน

พร้อมทั้งกำชับว่าวัสดุที่ใช้สร้างต้องเป็นแบบคาร์บอนต่ำ รวมถึงมีแนวทางที่ยั่งยืนในการช่วยปกป้องพวกเขาจากสภาพอากาศเลวร้ายได้

การศึกษาใหม่จาก Habitat for Humanity International ระบุว่า ภาครัฐและเอกชนต้องมีการปรับตัวตามสภาพภูมิอากาศด้วยการลงทุน ซึ่งมีประสิทธิผลสูงและใช้ต้นทุนต่ำ

เพื่อช่วยในการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยของชุมชนในการตั้งถิ่นฐาน อาทิ ติดตั้งบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ หรือติดตั้งหลังคาให้บ้านคนรายได้น้อยเพื่อใช้กักน้ำฝน

โครงการเชิงนวัตกรรมเช่นนี้สามารถทำซ้ำได้ในวงกว้างเพื่อลดความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศและปกป้องความเป็นอยู่ของครัวเรือนนับล้านทั่วโลก

  • ลงเงิน

สภาเศรษฐกิจโลก ระบุว่า หากคำนวณความเสียหายของโลก อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ประเทศร่ำรวยจำเป็นต้องร่วมกันโยนเงินลงทุนกว่า 174 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู และช่วยเหลือบุคคลกลุ่มเปราะบางเหล่านี้

 

 

ที่มา: World Economic Forum

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related