คลื่นความร้อนโผล่ขั้วโลกใต้ นักวิทยาศาสตร์กว่า 54 ราย ศึกษาสาเหตุของการแผ่คลื่นความร้อนที่ขั้วโลกใต้ คาด แผ่มาตามมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลให้หิ้งน้ำแข็งคองเกอร์ละลาย แต่โชคดีที่ละลายไม่เยอะ เพราะเป็นช่วงฤดูหนาวพอดี
ดูเหมือนว่าโลกกำลังเพรียกเตือนเราอยู่ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ ตรวจพบคลื่นความร้อนที่ขั้วโลกใต้ และพบว่าหิ้งน้ำแข็งคองเกอร์ละลาย แต่ยังโชคดีที่คลื่นความร้อนโผล่ที่ขั้วโลกใต้ในช่วงฤดูหนาวพอดี ทำให้ผลกระทบที่เกิดยังไม่หนักหนาขนาดนั้น
ย้อนกลับไปเดือนมีนาคม ปี 2565 ขั้วโลกใต้ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่รุนแรง สถิติบันทึกไว้ว่าขั้วโลกใต้ตะวันออกอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นค่าคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้
ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยกว่า 54 รายจึงได้ศึกษาหาสาเหตุของที่มาคลื่นความร้อนดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์และสันนิษฐานถึงความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นที่เขตร้อนในโลกกับขั้วโลกใต้ เพื่อดูว่าคลื่นความร้อนกลืนขั้วโลกใต้ได้อย่างไร
นักวิทยาศาสตร์มองไปถึงความร้อนในประเทศอินโดนิเซียที่แพร่ไปตามน่านฟ้าของมหาสมุทรอินเดีย
ขณะเดียวกัน กระแสลมจากแอฟริกาใต้ก็ถูกคาดการณ์ว่าเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดีย มีรายงานว่า ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ปี 2565 เกิดพายุขึ้น 12 ลูก เหตุนี้เอง คลื่นความร้อนจึงถูกพัดพาจากมหาสมุทรอินเดียไปถึงขั้วโลกใต้อย่างรวดเร็ว
แต่นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า อากาศต้องเจอกับสภาะวะตีบตัน เพราะไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศที่รุนแรงในขั้วโลกใต้ไปได้ เมื่อผ่านไปไม่ได้ คลื่นความร้อนก็จะหลั่งใหลไปกองที่ทางตอนกลางของขั้วโลกใต้
คลื่นความร้อนที่พัดเข้าสู่ขั้วโลกใต้ทำให้หิ้งน้ำแข็งคองเกอร์ ละลายลงอย่างรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้น นักวิทยาศาสตร์มองว่า ขั้วโลกใต้ยังโชคดี เพราะคลื่นความร้อนที่พัดมานั้น มาช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวของขั้วโลกใต้พอดี
หากว่าคลื่นความร้อนพัดมาในช่วงหน้าร้อนของขั้วโลกใต้ล่ะก็ จากแค่ละลาย อาจเป็นพังทลายเลยก็เป็นได้
นักวิทยาศาสตร์ สรุปทิ้งท้ายไว้ว่า คลื่นความร้อนที่ขั้วโลกใต้เป็นเรื่องที่ต้องกังวล เพราะเป็นหลักฐานชั้นดีที่บอกมนุษยชาติได้ว่า สภาพอากาศร้อนที่ผสมปนเปในขั้วโลกใต้นั้นส่งผลต่อธารน้ำแข็งอย่างไร
อนึ่งว่า การตรวจพบคลื่นความร้อนในขั้วโลกใต้ครั้งนี้ ช่วยติเตือนให้ทั่วโลกสามารถรีบวางแผนการรับมือกับสถานกาณณ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมา เมื่อคลื่นความร้อนแผ่เข้าสู่ขั้วโลกใต้หนักกว่านี้ อาทิ หากคลื่นความร้อนเข้าขั้วโลกใต้ในช่วงฤดูร้อน น้ำแข็งจะละลายแค่ไหน และเมื่อน้ำทะเลหนุนสูง รัฐบาลทั่วโลกจะมีวิธีรับมือกับผลกระทบที่เมืองริมชายฝั่งคาดว่าจะได้รับ อย่างไร?
ที่มา: the conversation
เนื้อหาที่น่าสนใจ