svasdssvasds

น่าเศร้า! พบ หมีขั้วโลก ติดไข้หวัดนกตาย เป็นเคสแรกของโลก

น่าเศร้า! พบ หมีขั้วโลก ติดไข้หวัดนกตาย เป็นเคสแรกของโลก

"หมีขั้วโลก" เสียชีวิตจากไข้หวัด H5N1 เป็นเคสแรกของโลก! หวั่นสูญพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็น น้ำแข็งขั้วโลกละลายเป็นเรื่องที่น่ากังวลกว่า พร้อมเตือนทั่วโลก ให้ช่วยกันรับมือ Climate Change

หมีขั้วโลกเสียชีวิตจากไข้หวัดเคสแรกของโลก

เว็บไซต์ Live Science รายงานว่า หมีขั้วโลก (Polar Bear เสี่ยงติดไข้หวัดนกH5N1 (Bird Flu) เป็นเคสแรกของโลก โดยระบุต่อว่า มีสิทธิสูงมากที่ประชากรหมีที่ขั้วโลกใต้จะทยอยติดเชื้อไวรัสดังกล่าว นอกจากนี้ มีอีกประเด็นที่ต้องกังวลคือ กระแสน้ำอุ่นที่ทำให้น้ำแข็งละลาย กำลังบีบบังคับให้หมีต้องอาศัยอยู่บนบก เพราะน้ำแข็งละลายลงอย่างรวดเร็ว

การเสียชีวิตของหมีขั้วโลกนั้น ถูกรายงานจากเจ้าหน้าที่กองอนามัยสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (Environment Health) เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลังไปพบซากหมีขั้วโลกที่ Utqiagvik เมืองทางตอนเหนือของสหรัฐ

หมีขั้วโลกถูกรายงานติดเชื้อไข้หวัดนกตาย เคสแรกของโลก! Cr. Reuters / CARLOS OSORIO

จากการตรวจสอบ พบว่า หมีตัวดังกล่าวเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1มาจากการไล่ล่านกกินเป็นอาหาร ว่าง่าย ๆ คือ ไปกินนกตัวที่เป็นไข้หวัดนกพอดี ซึ่งการเสียชีวิตในครั้งนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า มีแนวโน้มที่หมีตัวอื่น ๆ จะติดเชื้อไข้หวัดนกเช่นกัน

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ย้ำว่า เคสเสียชีวิตของหมีขั้วโลกในครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก ก่อนหน้านี้ มีการรายงานว่า หมีดำ (Ursus americanus) หมีสีน้ำตาล (Ursus arctos) ก็เคยถูกรายงานว่าติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 ไปแล้ว

หมีดำเคยถูกรายงานว่าติดเชื้อไข้หวัดนกมาก่อนแล้ว Cr. Flickr / Valerie Abbott / ucumari photography

สำหรับไข้หวัดนก H5N1 ถูกตรวจพบครั้งแรกในปี 1996 ที่ประเทศจีน หลังจากนั้นก็ระบาดไปทั่วโลก กระทั่งในปี 2020 ถึงมีการตรวจสอบว่ามีไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ ที่คร่าชีวิตนกจำนวนนับไม่ถ้วน

ไข้หวัดนก H5N1 ถูกตรวจพบครั้งแรกที่จีนในปี 1996 Cr. Reuters / Øyvind Zahl Arntzen /

หมีขั้วโลกเสี่ยงสูญพันธุ์จาก...โลกร้อน

การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก H5N1 เป็นที่น่ากังวลก็จริง แต่นักวิทยาศาสตร์กลับมองว่า ยังไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอันดับต้น ๆ เพราะพื้นฐานของหมีขั้วโลกเป็นสัตว์สันโดษ ไม่สุงสิงกันเท่าไร การติดจากหมีสู่หมีจึงเป็นเรื่องยาก

ทว่า เรื่องที่นักวิทยาศาสตร์กังวลกลับเป็นเรื่อง “น้ำแข็งละลาย” อันเนื่องมาจากเอลนีโญ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงกระแสน้ำอุ่นที่ขั้วโลกใต้ ที่กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของหมีไปจากเดิม

น้ำแข็งขั้วโลกละลายหนัก ผลพวงโลกเดือด Cr. Reuters / Bob Strong

เดิมนั้น หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ประเภทที่สะสมไขมันไว้ในตัว เพื่อสู้รบกับอากาศหนาวเหน็บ แต่เมื่อต้องขึ้นฝั่งไป การสะสมไขมันก็จะลดลงไปโดยปริยาย Live Science กล่าวว่า อาหารส่วนใหญ่ได้รับสารเคมีจากมนุษย์ ซึ่งเมื่อหมีกินเข้าไปแล้ว จะไปรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของหมี

น้ำแข็งละลายคือเรื่องน่ากังวลอันดับแรกของหมีขั้วโลก Cr. Reuters / THOMAS W. JOHANSEN/NASA OCEANS M

 

 

ที่มา: Live Science

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related