พัชรวาท ย้ำ! การเข้าถึงอากาศสะอาดคือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยที่พึงได้รับ หลังครม.ลงมติ ไฟเขียวให้ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ชูสาระสำคัญ 6 ด้าน คนไทยจะได้ประโยชน์ะไรบ้าง?
น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับร่างหลักการ พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... แล้ว และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสำคัญของกฎหมายลำดับรอง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 66 มติ ครม. ได้เห็นชอบตามที่นายกฯ เสนอว่า รัฐบาลตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี อันเนื่องมาจากการเผาไหม้ การจราจรบนท้องถนน หรือฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งไทยและเทศก็ตาม
พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้รับมอบหมายโดยตรงให้จัดการดัน ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดต่อครม. เป็นการเร่งด่วน
วันที่ 27 ก.ย. 2566 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หารือกับกับคณะทำงานท่านอื่น ๆ โฟกัสไปที่เรื่อง การจัดการระบบ Big Data เพื่อบริหารการจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้หลายภาคส่วนสามารถทำงานประสานเชื่อมโยงกันได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นไปที่จุดกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 อาทิ ภาคเกษตรกรรม ภาคคมนาคม เพื่อวางเป้าหมายในการจัดการปัญหาฝุ่น และเตรียมแนวทางการป้องกันการลักลอบเผาในพื้นที่ป่า
“อากาศสะอาดเป็นสิทธิพึงมีที่คนไทยทุกคนต้องได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน กระทรวงทรัพยากรธรรชาติฯ จะทำให้คนไทยมีอากาศที่ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน” พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เผยหลังครม. ลงมติ ไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด
2. ระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ กำหนดให้คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ ประกอบไปด้วยมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ระบบเฝ้าระวังเพื่อคุณภาพอากาศสะอาด ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศแห่งชาติ กรอบแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด และแผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศ
3. มาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด จำแนกได้ 4 ประเภท แหล่งกำเนิดประเภทสถานที่ถาวร แหล่งกำเนิดประเภทเผาในที่โล่ง แหล่งกำเนิดประเภทยานพาหนะ และแหล่งกำเนิดประเภทมลพิษข้ามแดน
4. เขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ โดยกำหนดการประกาศเขตพื้นที่ในกรณีที่มีสถานการณ์พิเศษเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ
5. เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด ดังนี้ ภาษีอากรสำหรับอากาศสะอาด ค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษทางอากาศ การกำหนดและโอนสิทธิในการระบายมลพิษทางอากาศ การประกันความเสี่ยง และมาตรการอุดหนุน สนับสนุน หรือส่งเสริมบุคคลหรือกิจกรรมสำหรับอากาศสะอาด
6. ความรับผิดทางแพ่งและบทกำหนดโทษ
อากาศสะอาดจะกลายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่รัฐต้องให้การรับร้อง ปกป้อง และปฏิบัติทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนได้มีอากาศสะอาดหายใจ ตามสิทธิขั้นพื้นฐานในฐานะพลเมือง
ข้อนี้จะเห็นได้ว่า ทางกทม. ได้นำร่องไปบ้างแล้ว ในเรื่องการสร้างช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านอากาศ อากาศแต่ละวันดีหรือแย่อย่างไร นอกจากนี้ ยังสามารถร้องเรียนได้หากวันใดที่มีอากาศย่ำแย่ พื้นที่ของภาครัฐในเรื่องนี้ จะถูกถ่างออกให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบร้องเรียนได้
รัฐกำหนดแนวทางเรื่องการจัดการอากาศ เพื่อการันตีว่าประชาชนจะได้รับสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพที่ดี และไม่เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากอากาศย่ำแย่
ประโยชน์อีกข้อคือ ภาคประชาชนจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการอากาศสะของของภาครัฐ ใน 3 ระดับด้วยกันคือ ระดับนโยบาย การกำกับดูแล และภาคปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมตรวจสอบและปกป้องสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด
สาระข้อสุดท้ายและเป็นข้อที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ คือ การให้อำนาจรัฐในการแจกจ่ายหน้าที่ ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้กฎหมายอากาศสะอาดให้จริงจังยิ่งขึ้น หมดข้ออ้างเรื่องอำนาจการตัดสินใจ
ที่มา: techsauce
เนื้อหาที่น่าสนใจ