เมื่อ CBAM ภาษีคาร์บอน เริ่มทดลองใช้ 1 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการและผู้นำเข้าสินค้าจากนอกอาณาเขต EU จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของการนำเข้าสินค้า เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงกับทางอ้อมจากกระบวนการผลิตของสินค้า
เป็นที่ทราบกันดีว่า กลไกการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เป็นมาตรการของสหภาพยุโรป ในระยะแรก เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 จะเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นเพียงช่วงทดลองเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ปรับตัว รวมถึง EU ด้วยสำหรับใช้ช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงมาตรการต่อไป
โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือผู้นำเข้าสินค้าที่ต้องรายงานปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ในระยะแรก มีจำนวน 6 กลุ่ม ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง โดยที่ยังไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอน หรือ หรือ CBAM Certificates
ภายใต้มาตรการ CBAM ผู้ประกอบการและผู้นำเข้าสินค้าจากนอกอาณาเขต EU จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของการนำเข้าสินค้า ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) โดยมีขั้นตอนดังนี้
ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะที่มีการส่งออกใน 6 กลุ่มสินค้าเป้าหมายไปยังสหภาพยุโรป ต้องทำความเข้าใจ เตรียมความพร้อม และดำเนินการ ดังนี้
ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าให้จากประเทศอื่น ๆ นอกอาณาเขตสหภาพยุโรป (Third Country Operator) ต้องประสานกับผู้นำเข้าสินค้าซึ่งขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องเป็น CBAM Declarant ในระบบ CBAM Registry เพื่อรายงานข้อมูลต่าง ๆ ตามที่มาตรการ CBAM กำหนด
ผู้นำเข้าสินค้าที่ได้รับอนุญาตจะต้องส่งมอบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่นำเข้าระหว่างไตรมาสนั้น ๆ หรือ CBAM report แก่ผู้มีอำนาจตรวจสอบผ่านระบบลงทะเบียน CBAM ภายในเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนหลังสิ้นสุดไตรมาสที่มีการนำเข้าสินค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมจัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า หรือที่เรียกว่า Embedded Emissions (โดยในระยะเปลี่ยนผ่านยังไม่จำเป็นต้องมีผู้ทวนสอบมาทำการทวนสอบ Embedded Emissions) และปริมาณของสินค้านำเข้าแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม โดยระบุแยกตามโรงงานที่ผลิตสินค้านั้น ๆ ในประเทศต้นกำเนิดของสินค้านำเข้า เพื่อนำส่งให้ผู้นำเข้าสินค้านำไปส่งมอบรายงานข้อมูลดังกล่าว หรือเรียกว่า CBAM Report แก่ผู้มีอำนาจตรวจสอบผ่านระบบ CBAM Registry ต่อไป
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยและผู้นำเข้าสินค้าต้องมีการสื่อสารและประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดแนวทางและแผนการทำงานร่วมกันในการรายงานข้อมูลเพื่อการติดตามตรวจสอบในระยะเปลี่ยนผ่านของมาตรการดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง หากคณะกรรมาธิการ EU ตรวจพบว่า CBAM Report ในแต่ละไตรมาสไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง คณะกรรมาธิการอาจแจ้งผ่านทางผู้มีอำนาจตรวจสอบ เพื่อให้ผู้นำเข้าสินค้าที่ได้รับอนุญาตดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง หากผู้นำเข้าสินค้าไม่ดำเนินการแก้ไขหรือยื่นหลักฐาน CBAM Report ตามหลักการที่ระบุไว้ ผู้มีอำนาจตรวจสอบมีอำนาจเรียกเก็บค่าปรับกับผู้นำเข้าสินค้าได้ตามความเหมาะสม
Embedded Emissions จะคิดจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า ทั้งทางตรงกับทางอ้อมจากกระบวนการผลิตของสินค้า โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) แต่ทั้งนี้จะยกเว้นผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ส่งขาย EU จะคิดเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Direct Emissions) ซึ่งมีวิธีการคิด ดังนี้
CBAM Embedded Emissions = Direct Emissions + Indirect Emissions (Electricity) + Indirect Emissions (Precursors)*
* ทั้งนี้ระเบียบ CBAM จะกำหนดไว้ว่าผลิตภัณฑ์ใดต้องพิจารณา GHG จากวัตถุดิบตั้งต้นบ้าง (Precursors)
ทั้งนี้ การรายงานค่า Embedded Emissions ในช่วงเปลี่ยนผ่านทั้ง 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จะต้องรายงานค่า Embedded ตามหลักการข้างต้น สำหรับหลังช่วงเปลี่ยนผ่าน สินค้ากลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ให้คำนวณเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบทางตรง (Direct Emissions) ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ให้คำนวณทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (Indirect Emissions)
โดยค่า Embedded Emission จะพิจารณาก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และ เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ทั้งนี้ แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ต้องพิจารณาไม่เหมือนกัน เช่น
สุดท้ายนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ โดยสามารถเริ่มจากการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสินค้าของตน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการส่งออกสินค้ารู้วิธีการคำนวณหาค่า Embedded Emissions แล้วก็จะเป็นการง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำส่งให้ผู้นำเข้าสินค้านำไปส่งมอบรายงานข้อมูลดังกล่าว หรือเรียกว่า CBAM Report แก่ผู้มีอำนาจตรวจสอบผ่านระบบ CBAM Registry ต่อไป ตลอดจนผู้ประกอบการไทยสามารถนำมาต่อยอดในการวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า สร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถปรับตัวให้ทันกับกฎระเบียบต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ที่มาข้อมูล
บทความอื่นที่น่าสนใจ