เปิดแผนนโยบายด้านสภาพอากาศของรัฐบาลโจ ไบเดน ที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ในภาพรวมเชิงปฏิบัติได้ผลอย่างไร ประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายเหล่านี้หรือไม่
ท่ามกลางความคลุมเครือของสหรัฐ ว่าจะเอาอย่างไรกับงานประชุม COP28 ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และกระแสมากมายที่บอกว่า โจ ไบเดน อาจไม่เข้าร่วมในงานประชุมดังกล่าวเพราะต้องไปเยือนที่แอฟริกา
แต่เจ้าหน้าที่อาวุโสในทำเนียบขาวได้ออกมาแจ้งว่า ยังไม่มีการยืนยันใดใดทั้งสิ้นว่า ‘โจ ไบเดน’ จะเข้าร่วมงาน COP28 เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ในเรื่องการขับเคลื่อนวิธีการรับมือกับปัญหา Climate Change ของสหรัฐ
แม้กระทั่งที่บอกว่าจะไปแอฟริกาก็ยังไม่ได้รับการคอนเฟิร์ม ระหว่างนี้ คอลัมน์ Keep The World ชวนย้อนดูนโยบายด้านสภาพอากาศของสหรัฐภายใต้รัฐบาลของโจ ไบเดน มีนโยบายอะไรบ้างที่เด่น ๆ และสามารถแก้ไขปัญหาแบบเป็นรูปธรรมได้จริงหรือไม่?
ในปี 2022 ฝ่ายบริหารของรัฐบาลไบเดนได้ประกาศแผนการใช้จ่ายเงินราว 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านหลายแสนครัวเรือนให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยมีเป้าหมายใหญ่คือ ต้องการลดอัตราการใช้พลังงานของชาวอเมริกัน และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับปัจเจก
เงินทุนก้อนนี้มาจากร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่โจ ไบเดนได้ลงนามในกฎหมายไปเมื่อปี 2021
เงินจำนวน 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในส่วนนี้สามารถช่วยให้เจ้าของบ้านหลายครัวเรือนทั่วประเทศ ที่ยังใช้เตาเผาหรือแก๊สในการสร้างความอบอุ่น หรือยังใช้เครื่องปรับอากาศที่ยังกินพลังงานเยอะ เปลี่ยนไปเป็นปั๊มความร้อนไฟฟ้า ซึ่งสามารถปรับโหมดเป็นทำความร้อนหรือความเย็นได้ตามสะดวก แถมส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานกล่าวว่า นโยบายนี้ของรัฐบาลไบเดน สามารถช่วยให้ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในครัวเรือนของสหรัฐลดลงได้ หากทุกหลังคาเรือนที่เข้าข่ายได้รับเงินสนับสนุนจากนโยบายดังกล่าว
ข้อมูลจาก Statista ในเรื่องปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของภาคที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปี 2021 ที่โจ ไบเดนขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐ พบว่า
ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อปีที่แล้ว กองทัพบกสหรัฐได้เปิดเผยยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศออกมาเป็นครั้งแรก movement เช่นนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานด้านกองกำลังอย่างกองทัพบก ก็ได้มีการเตรียมการแผนการรับมือของปัญหาที่อาจเกิดตามมาจากภาวะโลกร้อน
กองทัพบกได้ตั้งเป้าหมายในระยะยาวสำหรับหน่วยงานของตัวเองไว้ดังนี้
นี่คือเป้าหมายที่ฝ่ายบริหารของรัฐบาลไบเดน (หน่วยงานรัฐและกระทรวงกลาโหม) วางเอาไว้ เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อมูลจากหนังสือ The Pentagon, Climate Change, and War ของผู้เขียน NC Crawford นักรัฐศาสตร์ประจำ Oxford University พบว่า กองทัพสหรัฐคือผู้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานรายใหญ่ที่สุดในบรรดาหน่วยงานของรัฐบาล โดยอัตราการปล่อยก๊าซของกองทัพสหรัฐอยู่ที่ 51 ล้านเมตริกทัน
ไม่นับรวมกับที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำลายโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเมืองต่าง ๆ ที่สหรัฐเข้าไปมีเอี่ยวในการทำสงคราม
เมืองอีทากา (Ithaca) รัฐนิวยอร์ก มีมติให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าและเร่งกำจัดคาร์บอนในอาคารต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นที่แรกในสหรัฐ ที่ออกกฎหมายในลักษณะนี้ออกมา
เมืองอีทากามีประชากรอยู่ราว 30,000 คน มีอาคารบ้านเรือนราว 6,000 หลัง วิเคราะห์จำนวนประชากรและอาคารบ้านเรือนแล้วจะพบว่าไม่ใช่เมืองที่มีขนาดใหญ่มาก แต่สิ่งพิเศษก็ได้เริ่มต้นครั้งแรกที่นี่ การลดคาร์บอนจะถูกพิจารณาไปพร้อม ๆ กับทุกองค์ประกอบในการใช้ชีวิตเช่น อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ทางเมืองอีทากาคาดว่า มาตรการลักษณะนี้จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของเมืองได้มากถึง 160,000 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรถยนต์จำนวน 35,000 ที่วิ่งใน 1 รอบปี
กรมขนส่งสหรัฐและหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้กำหนดค่าเฉลี่ยการใช้เชื้อเพลิงของรถยนต์ที่ออกใหม่ และรถบรรทุกขนาดเล็กต้องไม่เกิน 49 แกลลอนภายในระยะเวลา 4 ปี
Movement นี้นับว่าน่าสนใจไม่น้อย มาตรฐานที่เข้มงวดขึ้นและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เพราะหากกางสถิติออกมาจะพบว่า ภาคการขนส่งของสหรัฐถือเป็นแหล่งการปล่อยมลพิษทางอากาศที่มากที่สุดแล้วของสหรัฐ
กฎใหม่ที่ออกมานี้ กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงของยานพาหนะของตัวเองเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ ผู้ผลิตต้องหาทางทำอย่างไรก็ได้ให้สินค้าของตัวเองลดการปล่อยเชื้อเพลิงออกสั้นบรรยากาศมากกว่านี้
ถือเป็นกฎที่ออกมาเปิดหน้ารบกับผู้ผลิตโดยตรง โดยรถยนต์ที่ผลิตในปี 2023 ต้องมีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยมลพิษเพิ่ม 8% และสำหรับรถที่จะผลิตในปี 2026 ต้องมีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยมลพิษเพิ่ม 10%
รัฐบาลของไบเดนได้ประกาศว่าจะอัดฉีดเงินกว่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนให้กับรัฐต่าง ๆ ด้วยการทำความสะอาดบ่อน้ำมันและบ่อร้างกว่าหลายพันบ่อที่มีก๊าซมีเทนรั่วไหลออกมาจนทำให้โลกร้อนขึ้น
นอกเหนือจากการทุ่มเงินอัดฉีดเพื่อจัดการกับบ่อน้ำมันแล้ว ฝ่ายบริหารของไบเดนยังได้ออกแผนสำหรับการบังคับใช้งานเดินท่อต่าง ๆ เพื่อลดการรั่วไหลของก๊าซมีเทน และสั่งทำวิจัยในการหาวิธีลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากอุตสาหกรรมเนื้อวัว และผลิตภัณฑ์ประเภทนม
พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานที่คอยตรวจวัดและรายงานก๊าซเรือนกระจกทั่วประเทศ แล้วสรุปเป็นแผนออกมารายงานเป็นระยะ ๆ ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านหลังจากที่ได้เห็นนโยบายนี้ก็ตบเท้ากันออกมาสนับสนุน เพราะเห็นว่าการลดปริมาณการปล่อยของก๊าซมีเทนลง สามารถชะลอภาวะโลกร้อนได้ และช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้
ข้อมูลจาก Statista พบว่าการปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนของสหรัฐลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
อีกหนึ่งนโยบายที่เด่น ๆ ของรัฐบาลไบเดนคือ นโยบานด้านพลังงานลม ฝ่ายบริหารของไบเดนได้ไฟเขียวแล้วสำหรับโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่ง เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับนิวยอร์ก movement นี้ถือเป็นก้าวครั้งสำคัญในการสร้างพลังงานหมุนเวียน เพื่อต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
รัฐบาลกลางสหรัฐได้อนุมัติกังหันลมหลายสิบตัวที่ถูกติดตั้งอยู่บริเวณนอกชายฝั่งโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island) ที่จะสั่งพลังงานที่ผลิตได้ไปยังฝั่งตะวันออกของโรดส์ไอส์แลนด์ ด้วยเหตุนี้ ทำให้สหรัฐเข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้คือ ต้องการผลิตไฟฟ้า 30 กิกะวัตต์ จากพลังงานลมนอกบริเวณชายฝั่งภายในทศวรรษนี้
การเปลี่ยนพลังงานลมมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้หมุนเวียนระบบในประเทศถือเป็นอีก 1 เป้าหมายสำคัญของรัฐบาลไบเดนเช่นกัน ที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง
กระทรวงพลังงานสหรัฐได้ยกเลิกกฎที่ออกในสมัยของ Donald Trump ว่าสามารถเพิ่มปริมาณน้ำที่ใช้อาบได้ โดยอนุญาตให้หัวฉีดฝักบัวหลายอันสามารถบรรทุกปริมาณน้ำในอัตราที่เท่ากันในคราวเดียว
ตั้งแต่ปี 1994 ที่รัฐบาลกลางสหรัฐได้จำกัดปริมาณน้ำที่ไหลออกจากฝักบัวไว้ที่ 2 แกลลอนต่อนาที ทำให้หลังจากนั้น ผู้ผลิตฝักบัวได้ผลิตอุปกรณ์ออกสู่ตลาดหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น และมีหัวฉีดมากกว่า 1 หัว
หลังจากนั้นกฎดังกล่าวก็ถูกปรับแก้ มีการสั่งให้ใช้ข้อจำกัดเดียวกันทั้งหมดในการติดตั้งอุปกรณ์อาบน้ำอย่างฝักบัว แม้ชาวอเมริกันจะเสียงแตกต่อกฎดังกล่าว แต่บรรดานักอนุรักษ์เห็นด้วยว่าควรจำกัดการไหลของน้ำ เพราะสามารถช่วยรัฐทางฝั่งตะวันตก สามาถรับมือกับภัยแล้งที่รุนแรงได้
เมืองลอสแอนเจลิส (Los Angeles) เตรียมแผนรับมือสภาพอากาศด้วยการประกาศกร้าวว่า จะเป็นเมืองแรกของสหรัฐที่ใช้พลังงานสะอาดทั้งหมด
สิ่งที่หลายคนกังวลต่อนโยบายนี้คือ วิถีชีวิตของพวกเขาจะต้องถูกบังคับให้เปลี่ยนแบบฉับพลันหรือไม่ ต้นทุนของการทำสิ่งต่าง ๆ อาจเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไปหากจะให้ผู้คนในเมืองเลิกขับรถ และไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ
ในแผนของนโยบายนี้บอกว่า บ้านแต่ละหลังจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ราว 38% ต่อบ้าน เพื่อเปลี่ยนให้เมืองในภาพรวมเป็นเมืองแห่งการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งหากทำได้ตามเงื่อนไขนี้ เมือง LA จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซของเสียต่าง ๆ มากกว่าในปัจจุบันถึง 6 เท่า
ประชาชนในนครดาราแห่งนี้ ในช่วงแรกอาจเป็นกังวลเล็กน้อย แต่คาดว่าหากปัจจัยหลาย ๆ อย่างลงตัวแล้ว เมืองลอสแอนเจลิสอาจกลายเป็นเมืองแรกของสหรัฐที่ใช้พลังงานสะอาดได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เหล่านี้คือนโยบายด้านสภาพอากาศที่น่าสนใจของสหรัฐที่เรานำมาฝากกัน ปัจจุบันสหรัฐยังไม่แสดงท่าทีออกมาชัดเจนนักว่า จะเอาอย่างไรกับงานด้านสภาพอากาศอย่าง COP28 ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่กำลังจะมาถึงนี้ สหรัฐเตรียมเรื่องอะไรไว้เพื่อถกกับประเทศอื่น ๆ บนเวทีโลกสีเขียวแห่งนี้บ้าง
สถานการณ์ล่าสุดระหว่างสหรัฐและจีนจากการรายงานของสื่อหลายสำนักพบว่า ขณะนี้ได้บรรลุข้อตกลงกันแล้ว โดยตัวแทนของ 2 ประเทศได้เดินทางไปหารือร่วมกันที่ประเทศสิงคโปร์
ทว่ารายละเอียดทั้งหมดยังไม่ถูกเปิดเผยออกมา พร้อมคำถามว่าที่ยังคลุมเครือว่า ‘โจ ไบเดน’ ประธานาธิบดีสหรัฐจะเข้าร่วมงานประชุม COP28 ในครั้งนี้หรือไม่?
ที่มา: washingtonpost
เนื้อหาที่น่าสนใจ