svasdssvasds

COP28 ที่ UAE ใกล้เริ่มแล้ว ส่องท่าทีของไทย เตรียมอะไรไปร่วมถกบนเวทีโลกบ้าง

COP28 ที่ UAE ใกล้เริ่มแล้ว ส่องท่าทีของไทย เตรียมอะไรไปร่วมถกบนเวทีโลกบ้าง

เหลือเวลาอีกราว 17 วันก่อนที่การประชุมด้านสภาพอากาศอย่าง COP28 จะเริ่มต้นขึ้น วันนี้ Spring News ชวนสำรวจท่าทีของประเทศไทย ว่าเตรียมประเด็นใดไว้บ้างที่จะนำไปร่วมถกกับประชาคมโลก ในวันที่ 30 พ.ย. 66 ที่จะถึงนี้

ใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับการประชุมด้านสภาพอากาศ COP28 ที่กำลังจะเกิดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) 

ประเทศไทยได้มีการจัดการประชุมไปแล้วในงาน TCAC 2023 เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน” 

โดยในงานนี้ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว ไว้ดังนี้

ตนยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นทุกคนมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด และวิธีปฏิบัติในการขับกันขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน โดยเน้นย้ำอีกว่า ประเทศไทยจะแก้ไขไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนในสังคม 

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน TCAC 2023

แต่ก่อนที่งาน COP 28 จะเริ่มต้นขึ้น มาดูกันหน่อยว่าประเทศไทยเตรียมอะไรไว้ไปร่วมถกกับองคาพยพอื่น ๆ บทเวทีโลกบ้าง 

TGO สนับสนุนภาคธุรกิจของไทยในการเตรียมความพร้อมอย่างไร

  • หลายภาค ๆ ภาคส่วนในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ให้ร่วมแสดงเจนตนารมณ์ในการมีส่วนร่วมสนับสนับการมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ผ่านทางเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ปัจจุบัน TCNN มีสมาชิกสิริรวมแล้วกว่า 150 องค์กรและองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ทั้งหมดจำนวน 92 องค์กร
  • อบก. ได้พัฒนามาตรฐานให้การรับรองถึงเครื่องหมายรับรอง Net zero pathway และ Net zero เพื่อให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน และต่อยอดจากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พร้อมทั้งชดเชยคาร์บอนให้มุ่งสู่ Net Zero ให้สอดคล้องต้องกันกับสากลโลก
  • อบก. ได้ยกระดับมาตรฐานโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามเกณฑ์ของประเทศไทย หรือโครงการ T-VER โดยพัฒนามาตรฐาน Premium T-EVER ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสากลโลกในด้านความน่าเชื่อถือของกระบวนการบดก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการประเมินโดย ICAO เพื่อให้การยอมรับเป็นคาร์บอนเครดิตประเภทหนึ่งที่สายการบินสามารถชดเชยภายใต้มาตรการ CORSIA ได้ ณ ขณะนี้มีโครงการที่แจ้งยื่นความประสงค์ในการพัฒนาโครงการ Premium T-VER แล้วจำนวน 16 โครงการ

โครงการ T-VER มาตรฐานขั้นสูง (Premium T-VER) Cr.gdgreduction

ประเด็นสำคัญและเร่งด่วน ที่มีผลกระทบต่อภาคธุรกิจของไทย

  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ในฐานะประธาน COP28 มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะผลักดัน 4 ประเด็นสำคัญได้แก่
  1. เร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นระบบอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม พร้อมลดก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็วก่อนปี 2030 เพื่อให้ยังอยู่ในแนวทางของความตกลงปารีส (Paris Agreement)
  2. ยกระดับการสนับสนุนด้านการเงิน (Climate Finance) แก้ประเทศที่กำลังพัฒนา พร้อมทั้งเร่งให้ประเทศที่พัฒนาแล้วร่วมให้การสนับสนุนด้านการเงินให้บรรลุเป้าหมายหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจนถึงปี 2025 และยกระดับเป้าหมายดังกล่าวในระยะถัดไป
  3. สร้างความเชื่อมโยงระหว่าง Climate action กับความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ร่วมกันในด้านความยั่งยืน
  4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเช่น เยาวชน ชุมชน และชนพื้นเมือง เป็นต้น
  • กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า 100 บริษัททั่วโลกเรียกร้องรัฐบาลในการผลักดันข้อตัดสินใจในการประชุม COP28 ในเรื่องการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่ได้ผ่านการจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Phase out “unabated” fossil fuels) ผ่านการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานโลกและการกำหนดราคาคาร์บอนที่ชัดเจน
  • นอกจากนีอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่จะถูกผลักดันในการประชุม COP28 คือ การจัดการกับก๊าซมีเทน (Methane) พร้อมทั้งที่รั่วไหลจากกระบวนการผลิตและขนส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเชื้อเพลิง โดย UAE พร้อมผลักดันการตั้งเป้าหมายสำหรับบริษัทน้ำมันแห่งชาติในการมุ่งสู่ ‘Near zero methane’ ภายในปี 2030

จาก COP27 สู่ COP28 อะไรคือความท้าทายของภาคธุรกิจในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยในการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net-zero emissions

  • ต้นทุนของการลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำหลายประเภทยังสูงอยู่ การเข้าถึง Climate finance จึงยังมีความสำคัญ
  • เดินหน้าสนับสนุน SMEs ให้มีศักยภาพความพร้อมในการร่วมขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Carbon neutrality และ Net Zero
  • เร่งเตรียมความพร้อมให้กับภาคธุรกิจในการรับมือมาตรการทางการค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะมาตรการ CBAM

เร่งต่อยอดความร่วมมือกับนานาประเทศ

  • อบก. ได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลในการทำความตกลงกับต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ทันสมัยในประเทศไทย ผ่านกลไกความร่วมมือที่มีการแบ่งปันผลการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ความตกลงปารีส ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ทำความตกลงกับสมาพันธรัฐสวิส และอยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อตกลงกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้การรองรับแนวปฏิบัติตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ด้วยเช่นกัน โดยใช้มาตรฐาน T-VER ในการพัฒนาโครงการ ซึ่งจะสามารถช่วยเสริมสร้างศักยภาพของไทยในแต่ละภาคส่วน ในการเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ และ Carbon Finance ในการลงทุนและพัฒนาโครงการ

COP28 Cr.cop28uaeofficia

เนื้อหาที่น่าสนใจ

ผ่าแผน "กู้โลกเดือด” ปตท.สผ. ดัน “EP Net Zero 2050” รุก CCS จิ๊กซอว์สำคัญ

นายกฯให้คำมั่น ไทยรุกแก้โลกร้อนด้วยเศรษฐกิจชีวภาพสีเขียว

TCAC 2023 “สานพลัง เสริมภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

related