ในอดีต หากเราเดินไปบอกพ่อแม่ผู้ปกครองว่า 'ไม่อยากมีลูก' เพราะกลัวได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คุณคิดว่าคำตอบที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ปัจจุบันนี้ ผลสำรวจโชว์ให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่ลังเลที่จะมีลูกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเอเชียไทยรั้งอันดับ 4
การมีลูกไม่ได้ลำบากแค่ 9 เดือน แต่หมายถึงทั้งชีวิต...
งานวิจัยชิ้นใหม่ ที่ถูกตีพิมพ์โดยทีมนักวิชาการจาก University College Londonเผยข้อมูลให้เราเห็นว่าเหตุใดความหวาดกลัวต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงถึงมีผลต่อการตัดสินใจในการมีลูกของมนุษย์ในทศวรรษนี้
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในสายตาของคนปัจจุบันนี้คือ ‘ภัยคุกคามด้านสุขภาพ’ เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและความอันตรายจากสภาพอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อพวกเขาเช่น ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร และการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นที่ทราบกันดีว่ากระทบกับสุขภาพ และความเป็นอยู่ของมนุษย์อยู่แล้ว แต่กลุ่มผู้ตีพิมพ์งานวิจัยเช่นนี้ก็ได้เน้นย้ำว่า เราจะได้รับผลกระทบมากขึ้นอีก แม้จะเป็นประเทศใหญ่ ประเทศเล็ก หรือมีประชากรมากหรือน้อยอย่างไรก็ตาม
ทำไมวิกฤตสภาพภูมิอากาศถึงทำให้คนลังเลเรื่องการมีลูก
ต้องบอกว่าหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จะสามารถตอบคำถามดังกล่าวได้ยังอยู่ในกระบวนการเริ่มต้น เพิ่งเริ่มมีการศึกษาอย่างเป็นจริงเป็นจังว่าอะไรคือจุดตัดของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สุขภาพจิตของมนุษย์ที่เชื่อมโยงไปถึงเรื่องการมีลูก
นอกจากนี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้อธิบายว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั่นก็มาจากฝีมือของมนุษย์เอง กิจกรรมของมนุษย์ทั้งหลายอย่าง การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล จนนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.2°c หากเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
ลองนึกดูว่าประชากรที่ต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยเช่น สงครามหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เรื่องอนามัย และสภาพคล่องทางการเงินที่ย่ำแย่ บีบบังคับให้พวกเขาต้องยับยั้งการมีลูกเอาไว้
การสำรวจในปี 2021 โดยมีผู้เข้าร่วมการสำรวจ 10,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 16 – 25 ปี ถูกตั้งคำถามว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมีผลต่อการมีลูกหรือไม่? ผลปรากฎว่าเกือบ 60% ที่ให้ความเห็นว่า ‘ลังเลที่จะมีลูก’
Sarah Blaffer Hrdy นักมานุษวิทยา ได้ให้ทรรศนะไว้ว่า มนุษย์เป็นประเภทที่ตัดสินใจว่า จะมีลูกเมื่อไหร่ หรือจะมีลูกกี่คน มักมีเกณฑ์เรื่องสภาพแวดล้อมเป็นหลักสำคัญ
สัตว์จำพวกไพรเมต (Primate) ถูกค้นพบว่าละทิ้งลูกของตัวเองในช่วงเวลาที่ไม่มีอาหารการกินเพียงพอ หรือได้รับปัญหาจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยสัญชาตญาณทำให้พวกมันต้องเลือกหนทางที่ดีที่สุดเพื่อจะประครองเผ่าพันธุ์ให้อยู่รอดต่อไป แต่มนุษย์ไม่ใช่ลิง จะเหมือนกันอย่างนั้นหรือ
แม้เราจะไม่ใช่ลิงก็จริง แต่ในประวัติศาสตร์เราก็มีบรรพบุรุษร่วมกัน ฉะนั้นเศษซากประวัติศาสตร์ หรือเรื่องสัญชาตญาณที่ยังหลงเหลืออยู่ก็พอจะบอกได้ว่า ไม่ว่ามนุษย์หรือลิงรู้สึกว่าตัวเองกำลังได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จะหลีกเลี่ยงออกจากสถานที่นั้น
หรือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้าไม่ละทิ้งลูกไป ก็เลือกที่จะไม่มีลูกทันที แตกต่างกันตรงที่ว่ามนุษย์เราพัฒนาระบบความคิดมาไกลกว่าลิงมากแล้ว เรามีระบบตรรกะที่คอยควบคุมการกระทำของเราอยู่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางฝั่งของภูมิเอเชียก็มีแนวโน้มเรื่องไม่อยากมีลูกเพราะวิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกัน
ข้อมูลการสำรวจจาก GlobeScan ระบุว่าเปอร์เซ็นต์ของคนที่ยังไม่ต้องการมีลูกในตอนนี้เพราะกังวลถึงสภาพภูมิอากาศสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะชาวเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยึดโยงอยู่กับการผลิตสร้างทายาท และมีวัฒนธรรมเฉพาะตัวอย่างแข็งแรง กลับพบว่า แนวโน้มการไม่อยากมีลูกกลับมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ที่มา: Warshingtonpost
Climate change, mental health, and reproductive decision- making: A systematic review
เนื้อหาที่น่าสนใจ