ที่ประชุม UN ย้ำเตือนความสำคัญที่โลกจะต้องยุติการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน หลังเหลือเวลาอีกเพียงสองเดือนก่อนจะถึงการประชุมวาระสำคัญโลกร้อน COP 28 ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์
แม้ว่ากรอบเวลาก่อนถึงการประชุมใหญ่เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปี หรือ COP28 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคมนี้ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ กำลังใกล้เข้ามาทุกที แต่หลายประเทศยังคงเดินหน้าแก้ปัญหาโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึงไหน ทำให้การประชุม COP28 กำลังเป็นที่จับตาเป็นพิเศษ
โดยการประชุมที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จุดชนวนให้เกิดการถกเถียงที่ถกเถียงกันมานาน โดยประเทศที่มีความเสี่ยงต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น หมู่เกาะมาร์แชล เรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยกว่าเลิกใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ และลงทุนในทางเลือกที่หมุนเวียนได้
อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวในที่ประชุม UNGA ว่า “มนุษยชาติกำลังเปิดประตูสู่นรก” ด้วยการทำให้โลกร้อนขึ้น และได้ย้ำถึง “ความโลภอันร้ายกาจ” ของผลประโยชน์ด้านเชื้อเพลิงฟอสซิล ด้วยเหตุที่หลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ใช้และส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลได้พยายามขายไอเดียแก้โลกร้อนโดยการใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนแทนที่จะยุติการใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวโดยสิ้นเชิง
นอกจากนี้ ประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิลรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ส่งสัญญาณว่าตั้งใจที่จะใช้เชื้อเพลิงเหล่านี้ต่อไปอีกหลายทศวรรษ
เอมอน ไรอัน รัฐมนตรีกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไอร์แลนด์กล่าวว่า คำถามต่อการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด หรือเพียงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก น่าจะเป็นปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดในการประชุม COP28
เขากล่าวว่า เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนอาจกลายเป็นเพียงฉากหน้าให้มีการเดินหน้าสำรวจและใช้น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินต่อไป
ก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มประเทศ 17 ประเทศ รวมถึงฝรั่งเศส เคนยา ชิลี โคลอมเบีย และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกอย่างตูวาลูและวานูอาตู เรียกร้องอย่างชัดเจนให้มีการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงจำกัดการใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน
“เราไม่อาจปล่อยให้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน เป็นเสมือนไฟเขียวให้ยังปล่อยคาร์บอนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่อได้” ทั้งสองประเทศระบุในแถลงการณ์ร่วม
หากไม่มีการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างรวดเร็ว โลกจะร้อนขึ้นเกินกว่าเป้าหมายทั่วโลกที่ 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ภายใน 10-15 ปีนี้” ปีเตอร์ ค็อกซ์ นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจากมหาวิทยาลัย University of Exeter กล่าว
“คุณไม่สามารถพูดได้ว่าเราต้องการหลีกเลี่ยง 1.5 C และไม่พูดอะไรเกี่ยวกับการเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้” ค็อกซ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐ-เอกชน เตรียมระดมสมอง TCAC 2023 ถกการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ รับมือโลกเดือด
กลุ่มธุรกิจ TCP รวมพลังพันธมิตร “ลงมือปฏิบัติ” เปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero
คาร์บอนเครดิต เครื่องมือสำคัญ รัฐ เอกชน มุ่งสู่ Carbon Neutrality ลดคาร์บอน
ที่มา: Reuters