svasdssvasds

UN เตือน โลกร้อนอาจทำไข้มาลาเรียระบาดรุนแรงขึ้น หากไม่รีบกำจัดให้สิ้นซาก

UN เตือน โลกร้อนอาจทำไข้มาลาเรียระบาดรุนแรงขึ้น หากไม่รีบกำจัดให้สิ้นซาก

แอฟริกากำลังเผชิญหน้ากับไข้มาลาเรียระบาดรุนแรง ยุงที่เป็นพาหะนำโรคก็แข็งแกร่งขึ้น ผลจากวิกฤตสภาพอากาศสุดขั้ว ผู้นำแอฟริกาเรียกร้องให้กำจัดไข้มาลาเรียให้เร็วที่สุด

เมื่อวันศุกร์ 22 กันยายนที่ผ่านมา ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ผู้นำแอฟริกาได้ออกมาเผยว่า แอฟริกากำลังเผชิญหน้ากับภาวะฉุกเฉินของไข้มาลาเรียครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา และเงินบริจาคเพื่อต่อสู้กับไข้มาลาเรียนั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว

ไข้มาลาเรีย เป็นโรคติดต่อจากยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นสัตว์พาหะนำโรค เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งมี 5 ชนิด เป็นเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในเลือด มักชุกชุมตามบริเวณป่าเขาและแหล่งน้ำ ผู้ที่ติดไข้มาลาเรียจะมีไข้สูง หนาวสั่น สีหน้าซีด เพราะเม็ดเลือดแดงแตก หากเป็นชนิดรุนแรง อาจมีอาการไตวาย ตับอักเสบ ปอดผิดปกติ และอาจลามไปจนถึงสมองได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแอฟริกาไม่ได้ต่อสู้กับโควิด-19 เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องต่อสู้กับไข้มาลาเรียด้วย ส่งผลให้แอฟริกามีความต้องการการลงทุนและผู้บริจาคสนับสนุนสำหรับการต่อสู้กับโรคดังกล่าว

Cr. Reuters เนื่องจาก แอฟริกามีผู้ป่วยจากไข้มาลาเรียมากที่สุดในโลก และคิดเป็น 96% ของการเสียชีวิตเกิดจากไข้มาลาเรีย ตามข้อมูลปี 2021 และเกือบ 80% ของการเสียชีวิตจากไข้มาลาเรียนั้นอยู่ในอายุต่ำกว่า 5 ปี

Umaro Sissoco Embaló ประธานาธิบดีของดีกินี บิสเซา ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในแอฟริกา Cr. Reuters นาย อูมาโร ซิสโซโก เอมบาโล (Umaro Sissoco Embaló) ประธานาธิบดีของดีกินี บิสเซา ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในแอฟริกา กล่าวในที่ประชุมว่า

“ความคืบหน้าในการเร่งกำจัดไข้มาลาเรียนั้น กำลังเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้ เพราะยุงสามารถต้านทานต่อยาฆ่าแมลงมากขึ้น และประสิทธิภาพของยาต้านมาลาเรียกำลังลดลง หากไม่เร่งแก้ไข ไข้มาลาเรียจะเพิ่มขึ้นและระบาดไปไกลขึ้น”

ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงขาดแคลนเงินทุน เนื่องจากผู้บริจาคเริ่มเหนื่อยล้าเพราะยังไม่สามารถต่อสู้กับไข้เหล่านี้ได้ แถมโควิด-19 ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ก็ทำให้ใช้เงินไปจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้ไข้มาลาเรียกลับมาหนักอีกครั้งอย่างน้อยใน 13 ประเทศตอนนี้ การขาดแคลนเงินทุนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมาก รัฐจึงเห็นว่า เราควรเร่งกำจัดไข้นี้ให้สิ้นซากภายในปี 2030

Cr. Reuters

โลกร้อนทำมาลาเรียแข็งแกร่งขึ้น ส่วนหนึ่งที่ทำให้ยุงมีความสามารถในการต้านทานยาฆ่าแมลง และดูแข็งแกร่งขึ้น เป็นเพราะภัยคุกคามของมนุษย์ เช่น วิกฤตสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มมากขึ้นในแอฟริกาส่งผลให้สภาพแวดล้อมเอื้อต่อภาวะผสมพันธุ์ที่สมบูรณ์สำหรับยุง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไข้มาลาเรียนรุนแรงขึ้นเพราะโลกร้อน ความถี่ของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น น้ำท่วมและพายุไซโคลนเมื่อต้นปี ทำให้ทั่วทั้งทวีปมีความเป็นไปได้ที่จะเจอยุง อันเป็นพาหะนำโรคมากขึ้น ยกตัวอย่าง ประเทศโมซัมบิก พบว่ามีไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้นหลังพายุไซโคลนเฟรดดี้พัดถล่มเมื่อต้นปีนี้ และภัยพิบัติก็ทำให้ยาและการบริการทางการแพทย์ได้รับผลกระทบ รวมถึงเข้าถึงได้ยาก

Cr. Reuters วัคซีนป้องกันมาลาเรีย เช่น RTS,S/AS01 กำลังทยอยเปิดตัวทั่วทั้งทวีป ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า แม้ว่าวัคซีนจะเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ "กระสุน" ที่จะยุติโรคมาลาเรีย และไม่ควรละเลยมาตรการอื่นเพื่อควบคุมโรคนี้

ตัวอย่างเช่น มุ้งที่ได้รับการบำบัดเป็นกลยุทธ์การป้องกันโรคมาลาเรียที่มีประสิทธิผลมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ซึ่งป้องกันผู้ป่วยได้ประมาณ 68% ในพื้นที่ตอนใต้ทะเลทรายซาฮาราของแอฟริกา อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของมันอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากวิวัฒนาการของยุงกำลังรุนแรงขึ้น ดังนั้น เราต้องวิ่งไปข้างหน้าก่อนวิวัฒนาการนั้นให้เร็วที่สุด

Cr. Reuters อย่างไรก็ตาม แอฟริกา ถือว่าเป็นทวีปที่มีประเทศยากจนเยอะที่สุด และปล่อยมลพิษน้อยต่อโลกน้อยที่สุดด้วย แต่ในทางกลับกันประเทศยากจนเหล่านี้กลับเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเรียกร้องให้เหล่าผู้นำในประเทศร่ำรวยสร้างกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ที่มาข้อมูล

The Guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related