สื่อต่างชาติตีแผ่ วิกฤตแพลงก์ตอนบลูมในไทยยังไม่หายไปไหน ทำทะเลตายต่อเนื่อง ประมงพื้นบ้านขาดทุนยับ หวั่นกระทบเศรษฐกิจระยะยาว
สื่อต่างประเทศสนใจวิกฤตแพลงก์ตอนบลูมในไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิกฤตสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่กำลังได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน กับ “วิกฤตแพลงก์ตอนบลูม” ที่กำลังสร้างผลกระทบมหาศาลต่อชุมชน ซึ่ง Springnews ในคอลัมน์ Keep The World อยากชวนให้คุณมาติดตามเรื่องนี้ต่อพร้อม ๆ กัน
Springnews ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด ซึ่งในช่วงแรกเราคาดหวังว่า แพลงก์ตอนบลูมจะหมดไปภายในไม่กี่วัน ตามธรรมชาติของแพลงก์ตอนบลูม แต่นี่ก็เป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์แล้วที่แพลงก์ตอนบลูมยังคงลอยอยู่เหนือน่านน้ำทะเลไทย
An unusually dense plankton bloom off the eastern coast of Thailand is creating an aquatic ‘dead zone,’ threatening the livelihood of local fishermen who farm mussels in the waters https://t.co/YYOBBODfYE pic.twitter.com/DlmyClp5GC
— Reuters (@Reuters) September 20, 2023
จากการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเผยว่าบางพื้นที่ในอ่าวไทยมีปริมาณแพลงก์ตอนบลูมมากกว่าปกติถึง 10 เท่า ทำให้น้ำเปลี่ยนกลายเป็นสีเขียวมัจฉะ คร่าชีวิตสัตว์ทะเลจำนวนมาก
แพลงก์ตอนบลูมมักจะเกิดขึ้นปีละ 1-2 ครั้ง ซึ่งปกติมันจะหายไปเองในช่วง 2-3 วัน ในช่วงที่พวกมันพองตัวกระจายทั่วน้ำ จะทำหน้าที่ผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือทำลายสิ่งมีชีวิตในทะเลด้วยการบดบังแสงอาทิตย์และลดปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทะเลศรีราชาเข้าขั้น Dead Zone ออกซิเจนเหลือ 0 ต้นเหตุสัตว์น้ำตายหมู่
น้ำมันรั่ว-แพลงตอนบลูมทำทะเลเป็นพิษ? เร่งหาสาเหตุสัตว์ทะเลตายหมู่
เท่านั้นไม่พอ แพลงก์ตอนบลูมยังกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทรายและสัตว์น้ำบริเวณนั้นเกือบทั้งสิ้น เนื่องจากกลายเป็นแหล่งน้ำไร้ออกซิเจน (Dead Zone)
สาเหตุการอยู่ยาวของแพลงก์ตอนบลูมชุดนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยใดกันแน่ แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สภาพอากาศที่ร้อนจัดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และปรากฏการณ์เอลนีโญมีผลต่อแพลงก์ตอนบลูมชุดนี้ และบ้างก็เชื่อว่า ข่าวน้ำมันดิบรั่วกลางทะเลศรีราชาก็อาจมีเอี่ยวในวิกฤตนี้
ที่มาข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง