จากการพยากรณ์ฝนสะสมล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 2-11 พ.ค. กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการเตือนเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางพื้นที่ ช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคอีสาน ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นช่วงนี้
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 2-11 พ.ค. 2566 อัพเดทจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)
ช่วงวันที่ 2 -4 พ.ค. 2566 บริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนน้อยลง กระแสลมตะวันตก กลับมาพัดปกคลุมอีกครั้ง ยังต้องเฝ้าระวัง พายุฤดูร้อน ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง (กทม.ปริมณฑล) และภาคตะวันออก
ส่วนภาคใต้ยังมีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้น คลื่นลมแรงขึ้นด้วย พี่น้องชาวเรือ ชาวประมง ช่วง 1-2 วันนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือโดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย ฝนที่ตกพอจะช่วยคลายร้อนและเพิ่มความชื้นในอากาศได้บ้าง แต่ปริมาณฝนส่วนใหญ่ที่ตกในขณะนี้เป็นฝนเล็กน้อย ถึงปานกลาง
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เปิด 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี2566 ชี้ปีนี้ฝนอาจตกน้อยกว่าปกติ
วิกฤตภัยแล้งอิตาลี คลองเวนิชแห้งเหือดไร้น้ำ ฝนไม่ตก เรือไม่สามารถสัญจรได้
ไทยจะเจอภัยแล้งสุดในปี 2572 หลังจากนี้จะเป็นน้ำท่วมใหญ่ โปรดเตรียมตัว!
ช่วงวันที่ 5-11 พ.ค.66 ทิศทางลมแปรปรวน เริ่มมีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทิศทางของลม เป็นลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ (พัดจากทะเลอันดามัน เข้าสู่ฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันตก) กลุ่มฝนจะเริ่มเคลื่อนตัวจากทางด้านตะวันตก ไปทางตะวันออก และคาดว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวได้บริเวณทะเลอันดามัน
ช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. 2566 มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคอีสาน ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นช่วงนี้ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะแรงขึ้น ต้องระวัง ในระยะนี้หากมีฝนตกควรหาวิธีกักเก็บและสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย ซึ่งมีแนวโน้มฝนในช่วงฤดูฝนจะน้อยในปีนี้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา