กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในหลายๆ เมืองในโลกที่มีความเสี่ยงจมน้ำและมีการวิเคราะห์ว่าภายใน 50 ปี กทม. มีความเสี่ยงในการจมน้ำ คณะวิทย์ มธ. แนะเสริมแนวคันกั้นน้ำ ปรับผังเมืองให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานโดยที่ไม่ต้องทุบ รื้อ ถอน และการย้ายเมืองหลวงควรเป็นทางเลือกสุดท้าย
จากบทควิเคราะห์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่ากรุงเทพฯ มีความเสี่ยงจมน้ำเช่นเดียวกับหลายเมืองในหลายประเทศทั่วโลก เช่น อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, อิยิปต์, อินโดนีเซีย, ไนจีเรีย, รัฐเท็กซัส รัฐฟลอริดา, รัฐลุยเซียนา, บังคลาเทศ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเมืองที่อยู่ติดทะเล แม่น้ำ ใกล้เส้นทางคมนาคมทางน้ำ ง่ายต่อการเดินทาง เป็นเส้านทางติดต่อค้าขายมาตั้งแต่อดีต
ความเสี่ยงที่กรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้บาดาลนั้น สาเหตุมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการทรุดตัวของชั้นดินเฉลี่ย 2-3 เซนติเมตรต่อปี อีกทั้งยังมีน้ำทะเลหนุน และการสูญเสียน้ำใต้ดินจากการใช้น้ำบาดาลตั้งแต่ในอดีต และประเทศที่มีความเสี่ยงจมน้ำเช่นเดียวกันก็เร่งหาทางออก บางประเทศตัดสินใจย้ายเมืองหลวง อย่าง อินโดนีเซีย ที่ย้ายเมืองหลวงจาก จาการ์ตา ไปจังหวัดกาลิมันตันตะวันออกบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งการย้านเมืองหลวงอาจไม่ใช่การแก้ไขแรกๆ ในหลายประเทศเนื่องจากกระทบต่อประชาชนที่ต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน และยังใช้งบประมาณสูงกับการจัดผังเมืองใหม่ สร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย และระบบสาธารณูปโภค
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
รู้จักวันคุ้มครองโลก (Earth Day) 22 เมษายน มีตั้งแต่เมื่อไร เพราะอะไรต้องมี?
ดัชนีความร้อนสูงระดับส้ม แดง 21-23 เม.ย. บางนา ชลบุรี ภูเก็ต อยู่ระดับอันตราย
ประชาชนได้เฮ! อนุกรรมการค่าFt เคาะ เคาะลดค่าไฟฟ้า เหลือ 4.70 บาท/หน่วย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะแนวทางแก้ไขการปรับผังเมืองที่ไม่ต้องทุบ รื้อ ถอน เพียงเน้นปรับผังเมืองให้มีฟังก์ชั่นการใช้งาน โดยมี 3 แนวทาง ได้แก่
1. ลดพื้นที่อเนกประสงค์บริเวณชั้น 1 โดยใช้งานตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป เพื่อลดผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมฉับพลัน
2. เพิ่มทางเดินลอยฟ้า หรือ Sky walk ที่เชื่อมจากอาคารออฟฟิศ เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโดยไม่ต้องเดินลุยน้ำ ซึ่งวิธีนี้มีต้นทุนไม่สูงมากหากเทียบกับการรื้อผังเมืองเพื่อสร้างใหม่หรือการย้ายเมืองหลวง
3. เสริมแนวคันกั้นน้ำประสิทธิภาพสูง ไม่มีร่องฟันหลอตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยา
ป่าชายเลนเป็นแนวกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเล และจากการศึกษาของ คณะวิทย์ มธ. พบว่าแม้ที่ผ่านมาจะมีการปลูกป่าชายเลนมากขึ้นแต่พบว่าหลังจากปลูกแล้วไม่มีการดูแลติดตามผล และมีการใช้แปลงปลูกป่าชายเลนหลายแห่งเพื่อปลูกซ้ำ ซึ่งทำให้พื้นที่ป่าชายเลยไม่ได้เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันบริเวณชายฝั่งถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้นทุกปี
คณะวิทย์ มธ. แนะเรื่องปลูกป่าชายเลนให้เติบโต ดังนี้