สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันอาจทำให้หลายคนกังวลจนเกิดคำถามว่า จะน้ำท่วมเหมือนปี 2554 หรือไม่? ต้องเฝ้าระวังอะไรบ้าง รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผ.อ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ม.รังสิต จะมาคลายข้อสวสัยในเรื่องนี้
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผ.อ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ม.รังสิตได้เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในตอนนี้ว่า "สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เกิดจากฝนตกหนักกว่าปี 2554 ซึ่งมันก็จะไปท่วมคนที่เปราะบางทั้งหลาย ซึ่งตอนนี้อ.เสนา ผักไห่ ท่วมหนักกว่าปี 2554 ก็เพราะว่าชาวชุมชนเหล่านี้เค้าไม่ได้ป้องกัน แต่ที่อื่นป้องกัน ที่อื่นมีการยกถนน มันก็เลยไปหนักตรงนั้น มันก็เลยทำให้เกิดปัญหายืดเยื้อมาก ปัญหามันก็จะอยู่ยาว"
ส่วนในเรื่องปริมาณน้ำจากเหนือจะไหลมาท่วมกรุงเทพฯ หรือไม่?
"ฝนมันไปตกภาคกลางตอนบน ถ้าตกตอนเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ก็รับได้พอสมควร แต่ฝนไปตกตอนกลางเยอะ ข้างบนก็เลยไม่ได้กระทบเท่าไร ยกเว้นเชียงใหม่คือท่วมบางจุดซึ่งเชียงใหม่น้ำจะมาเรัวไปเร็ว หมายความว่าน้ำมาแล้วก็ระบายได้เร็ว คิดว่า 3-4 วันก็หายแล้วถ้าไม่มีพายุลูกใหม่ แต่เราดูแล้วว่าใน 10 วันข้างหน้าไม่มีพายุ"
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ส่องตัวเลขเปรียบเทียบพื้นที่น้ำท่วมไทย 3 ช่วงปี พบต่างกัน 3 เท่า
คาดการณ์มวลน้ำภาคกลาง 56 ชั่วโมงก่อนถึงกรุงเทพ ปัจจัยเฝ้าระวังท่วมหรือไม่
น้ำท่วมเชียงใหม่ฉับพลัน กระทบกรุงเทพฯ พื้นที่อื่นอย่างไร โดย อ. สนธิ คชวัฒน์
รศ.ดร.เสรี กล่าวถึงปรากฎการณ์น้ำท่วมที่หลายคนกังวลว่าจะเป็นเหมือนปี 2554 หรือ? ดังนี้ "ตอนนี้ตอนกลางของประเทศมันอยู่ในภาวะวิกฤติมากกว่าปี 2554 ในบางพื้นที่ ไม่อยากให้เอาไปเปรียบกับปี 2554 เพราะปัจจัยมันต่างกัน
ปี 2554 มวลน้ำมาจากเขื่อนใหญ่หมดเลย แต่ปีนี้มวลน้ำหลักมาจากพื้นที่ที่ฝนตกหนักหมดเลย โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยส่วนตัวมองว่า เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วหรือ Golden Week สำหรับการระบายน้ำ เพราะเดี๋ยวเราจะเข้าสู่ช่วงที่ฝนตกหนักต่อเนื่อง"
"ช่วงเวลานี้ไปถึงกลางเดือนเป็นช่วง Golden Week เพราะฉะนั้นเร่งระบายน้ำให้มากที่สุด หลังจากกลางเดือนแล้วมีหย่อมเกิดขึ้นเยอะ ซึ่งแน่นอนเราก็ไม่รู้ว่ามันจะพัฒนาตัวเป็นพายุหรือไม่ ไม่มีใครบอกได้ ตัวหย่อมนี้ถ้าไปอยู่ที่ไหนมันก็จะเกิดร่องฝนทำให้ตกหนักขึ้น หรือหย่อมพัฒนาเป็นพายุก็หนักกว่าอีก ช่วงนี้ต้องเร่งระบายน้ำเพื่อรอรับน้ำหลังวันที่ 15 ตุลาคม" อ.เสรี กล่าว
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผ.อ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ม.รังสิต กล่าวว่า ในกรณีวันที่ 7 ที่ปล่อยน้ำสูงสุด ผมคิดว่ายังไงก็ตามต้องผันน้ำเข้าไปในทุ่งที่เตรียมไว้ 12 ทุ่ง ซึ่งบางทุ่งก็ 70-80 เปอร์เซ็นต์ แต่จำเป็นต้องทำเพราะไม่มีทางที่จะเลี่ยงกับปริมาณน้ำที่ลงมา มันจะมาซ้ำเติม
อ.เสรี แนะนำว่า "ประชาชานได้รับข้อมูลจากหลายแหล่งทำให้เกิดความสับสน เพราะฉะนั้นควรมีหน่วยงานกลาง ควรมีการบูรณาการในการทำงานร่วมกันในการแจ้งข่าวเตือนภัย"