ปฎิเสธไม่ได้ว่า “โทรศัพท์มือถือ” อย่าง Apple iPhone , Samsung Galaxy และ สมาร์ทโฟน กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราทุก ๆ คนไปแล้ว วงการนี้ก็ทำให้เกิดมลพิษจำนวนมากให้กับโลกเช่นกัน แต่การเปิดตัวล่าสุดทำให้เราเห็นว่าบริษัทเหล่านี้หันมาสนใจโลกมากขึ้น
การเปิดตัว iPhone 14 ของ Apple และ Samsung Galaxy Fold4 มีส่วนหนึ่งของการนำเสนอ ที่ทั้ง 2 ค่ายให้ความสำคัญจนนำมาพ่วงไว้ในงานเปิดตัว คือ นโยบายการรักษ์โลกและการลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อลดผลกระทบทั้งหมดที่อุตสาหกรรมมือถือสร้างผลเสียต่อโลก
ข้อมูลจาก World Economic Forum ระบุว่า ผู้คน 4 ใน 10 คนทั่วโลกมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนไว้ในครอบครองในปี 2018 และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และในแต่ละปียอดขายโทรศัพทืมือถือที่ขายได้ สูงถึง 1,000 ล้านเครื่อง ทุกปี
หากมองในแง่การผลิต อุตสาหกรรมผลิตโทรศัพท์สมาร์ทโฟนผลิตมลพิษถึง 85-95% จากสายการผลิต นั่นทำให้ปริมาณการปล่อยมลพิษในอุตสาหกรรมนี้สูงพอ ๆ กับประเทศเล็ก ๆ ประเทศหนึ่งปล่อยออกมาทั้งปีเลย
ขณะที่สมาร์ทโฟนเอง ก็สร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 10% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด หรือคิดเป็น 50 ล้านตันต่อปี
การรีไซเคิลชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือกลายเป็นเรื่องยาก เมื่อการผลิตไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรีไซเคิล เช่น แบตเตอรี่ และแผงวงจรต่าง ๆ
การเปิดตัวล่าสุดจึงทำให้เห็นว่าตัวการใหญ่ของการทำลายโลกตัวหนึ่ง กำลังหันกลับมามองโลกใบนี้ว่ามันกำลังทำลายไปมากแค่ไหนและพยายามกลับใจ
Samsung เคลมว่า Galaxy S22 เป็นมือถือเครื่องแรกที่นำเอาขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ในโทรศัพท์มือถือ อาทิ แหดักปลาในท้องทะเลมาหลอมใหม่เป็นพลาสติกในปุ่มล็อคและเพิ่ม-ลดเสียง , ชิ้นส่วนประกอบลำโพง และ ช่องใส่ปากกา โดยซัมซุง ตั้งเป้าว่าจะเก็บกู้แห่ดักปลาในท้องทะเลถึง 50 ตัน/ปี ในการผลิตมือถือรุ่นนี้
นอกจากนี้ในงาน Samsung Galaxy Unpacked เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซัมซุง เคลมว่า หนึ่งในชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ galaxy จะมีชิ้นส่วนอย่างน้อย 1 ชิ้นที่สร้างจากวัสดุรีไซเคิ้ล และเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้เช่นกัน
ด้าน Apple เอง ในงาน Apple Event เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการพูดถึงสิ่งแวดล้อมขณะเปิดตัว iPhone 14 ว่า บริษัท และพันธมิตร ตกลงที่จะลดการสร้างมลพิษ โดย Apple เอง ตัดสินใจที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเองให้อายุยืนยาวขึ้น เพื่อลดการสร้างใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่ของผู้บริโภค
นอกจากนี้ Apple เองยังรับอุปกรณ์หรือมือถือเครื่องเก่า ๆ เพื่อนำกลับมารีไซเคิล เพราะ 1 ตันของแผงวงจร จะต้องขุดเหมืองกว่า 2 พันตันเพื่อหาแร่ต่างๆ จากโลก
ขณะที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในไทยอย่าง AIS เองก็มีดครงการรับขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมารีไซเคิลด้วยเช่นกัน
ส่วนสาเหตุว่าทำไมอยู่ ๆ บริษัทเหล่านี้หันมารักษ์โลก ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น เรื่องการปล่อยคารืบอน แลการสร้าง Carbon Footprint ซึ่งหากบริษัทไหนสร้างมลพิษเยอะก็จะถูกกีดกันทางการค้า หรือ ถูกบังคับจ่ายภาษีแพงขึ้น