SHORT CUT
โซเชียลบ่นอุบ "กลิ่นไหม้" ฟุ้งใน กทม. - นนทบุรี กลางดึก ดันแฮชแท็กขึ้นเทรนด์ติดอับ 1 (X) ด้าน เหล่าผู้เชี่ยวชาญ เปิดเผยสาเหตุ หลังจากพบ ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่ง ระบุ ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวนฝนตกทำปฏิกิริยา กลายเป็นกรดซัลฟิวริคและกรดคาร์บอนิค
เมื่อกลางดึกที่ผ่านมาโลกโซเชียล มีชาวเน็ตหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ - นนทบุรี แจ้งได้กลิ่นเหม็นไหม้ ค่ามลพิษในอากาศ PM 2.5 พุ่งสูง จนแฮชแท็ก #กลิ่นไหม้ ติดอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์ (X) จนถึงเช้านี้
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ GISTDA รายงานว่า 23.00 น.แล้ว PM2.5 ยังแดงเดือดทั่วกรุงเกือบครบทุกเขต ภาพรวมทั้งประเทศพบ 7 จังหวัดภาคกลางแดงเช่นกัน
ข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 20 มี.ค.67 พบ 47 เขตในพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ สูงสุดอยู่ที่เขต #ดอนเมือง 143.5 ไมโครกรัม ตามด้วย #หลักสี่ 143 ไมโครกรัม #บางซื่อ 139 ไมโครกรัม #จตุจักร 128.1 ไมโครกรัม #พญาไท 127 ไมโครกรัม #ราชเทวี 122 ไมโครกรัม #บางพลัด 121.4 ไมโครกรัม #ดุสิต 121.3 ไมโครกรัม #บางกอกน้อย 119.3 ไมโครกรัม #สายไหม 117.4 ไมโครกรัม #บางเขน 114.1 ไมโครกรัม เป็นต้น
ภาพรวมทั้งประเทศ พบ 7 จังหวัดภาคกลางมีค่าฝุ่น PM2.5 เกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ เช่นกัน ได้แก่ #นนทบุรี 113.4 ไมโครกรัม #ปทุมธานี 107.6 ไมโครกรัม #กทม. 91.5 ไมโครกรัม #นครนายก 91.1 ไมโครกรัม #สมุทรสาคร 91.1 ไมโครกรัม #นครปฐม 88.4 ไมโครกรัม และ #พระนครศรีอยุธยา 78.6 ไมโครกรัม
เพจ “เพื่อนชัชชาติ” โพสต์ข้อความลงใน (X) โดยระบุว่า “พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ และผู้บริหารด้านความยั่งยืน กทม. ได้ชี้แจงถึง 3 สาเหตุ #กลิ่นไหม้ ดังนี้
อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อธิบายการเกิดเหตุกลิ่นไหม้แสบตาแสบจมูกแบบเจือจางในกทม.คืนวันที่ 20 มี.ค.67 น่าจะมาจากสาเหตุดังนี้
1.สถานการณ์สภาพอากาศใน กทม. วันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมาฝนตกหนักหลายพื้นที่ในช่วงเช้าและฝนตกเกือทั้งวันหลังฝนตกในและช่วงกลางคืนจึงมีความชื้นสูงมากที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ
2.ก่อนหน้านั้นอากาศร้อนปกคลุมกทม. มาหลายวันเมื่อมีความกดอากาศสูงหรือมวล อากาศเย็นพัดเข้าปะทะทำให้ฝนตกลงมา ค่อนข้างมาก การที่มวลอากาศเย็นพัดปก คลุมพื้นที่ทำให้อากาศปิดอัตราการระบายอากาศในแนวดิ่งเกิดได้น้อยและลมค่อนข้างนิ่ง มลพิษทางอากาศทั้งฝุ่น PM2.5 และอนุภาคของกำมะถัน คาร์บอนต่างๆมีปริมาณมากจากรถยนต์ การเผาในที่โล่งและโรงงานต่างๆที่เกิดตลอดวันในกทม.
จะลอยไปสะสมอยู่ในบรรยากาศใกล้ผิวโลกเมื่อรวมกับ O2 กลายเป็น SO3,CO2 เป็นต้น สะสมในบรรยากาศ เมื่ออากาศมีความชื้นสูงจึงทำปฎิกิริยากับ SO3 และ CO2 กลายเป็นกรดซัลฟิวริคและกรดคาร์บอนิค บางส่วนแตกตัวเป็น SO2 และ CO2 ด้วย กรดซัลฟิวริคปกคลุมผิวดินทำให้เกิดอาการแสบตาแสบจมูกได้ และSO2จะมีกลิ่นคล้ายกำมะถันและกลิ่นไหม้ แต่ทั้งหมดไม่ได้มีอันตรายต่อสุขภาพเพราะเจือจางแล้วเพียงแค่ได้กลิ่น หากความชื้นในอากาศน้อยลงและลมพัดแรงขึ้นเหตุการณ์นี้ก็จะหายไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง