SHORT CUT
เปิดตัวเลข จำนวนวันที่คนกรุงเทพฯ ได้หายใจเอาอากาศดีๆ สูดเข้าเต็มปอดได้กี่วันกัน , ตัวเล็กเพิ่มขึ้นหรือลดลง จากปี 2022 และในปี 2023 ที่ผ่านมาคนกรุงเทพฯ ต้องหายใจเคล้าฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมด 1,370.09 มวน เพิ่มมากขึ้นถึง 154.32 มวน หากเทียบจากปี 2022
เรื่องของ ฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นเรื่องใหญ่ของคนทั้งประเทศมาหลายต่อหลายปี เพราะมันส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อม และส่งเอฟเฟกต์ต่อชีวิตผู้คน โดยในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมานั้น มีการเก็บตัวเลขสถิติ จำนวนวัน ที่อากาศดี ของคนเมืองหลวง โดยใช้เกณฑ์ ข้อมูลสถิติเว็บไซต์ The World Air Quality Index Project เป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง
โดยจากการรวบรวมข้อมูล ของ rocketmedialab พบว่า ในปี 2023 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป กรุงเทพฯ มีวันที่อากาศดี คืออยู่เกณฑ์สีเขียวเพียง 31 วัน คิดเป็น 8.52% ของทั้งปี น้อยกว่าปี 2022 ที่มีอากาศดี 49 วัน และน้อยกว่าในปี 2021 ที่มีถึง 90 วัน
ในขณะที่ส่วนใหญ่นั้นเป็นวันที่อากาศมีคุณภาพปานกลาง คือเกณฑ์สีเหลือง 241 วัน หรือคิดเป็น 66.21% ของทั้งปี
แต่หากเทียบกับปี 2022 ที่มีอากาศในเกณฑ์สีเหลือง 261 วันแล้วก็นับว่าลดน้อยลงจากปีก่อนหน้า
ส่วนกรุงเทพฯ ในวันที่มีคุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษหรือสีส้มนั้นมี 78 วัน หรือคิดเป็น 21.43% ของทั้งปี มากกว่าปี 2022 ที่มีจำนวน 52 วัน
และวันที่มีอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ หรืออยู่ในเกณฑ์สีแดงนั้นมีมากถึง 14 วัน หรือคิดเป็น 3.85% ของทั้งปี และเมื่อเทียบกับปี 2021 ที่มีเพียง 3 วัน กล่าวคือวันที่มีอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ หรืออยู่ในเกณฑ์สีแดงนั้นเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 11 วัน
จากงานของ ริชาร์ด มุลเลอร์ Richard A. Muller นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ซึ่งคำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือ PM2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่
พบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งหากนำค่าฝุ่นแบบค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของปี 2023 มาคำนวณเปรียบเทียบตามกฎเกณฑ์ของ Richard Muller จะพบว่า
ในปี 2023 ที่ผ่านมาคนกรุงเทพฯ ต้องหายใจเคล้าฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมดจำนวน 1,370.09 มวน ตัวเลขนี้ถือว่าเพิ่มมากขึ้นถึง 154.32 มวน หรือเฉลี่ยสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 7.7 ซองจากปี 2022 ที่มีจำนวน 1,224.77 มวน และปี 2021 ที่มีจำนวน 1,261.05 มวน อาจกล่าวได้ว่าอากาศปี 2023 เลวร้ายมากกว่าปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนผ่านเดือนที่มีอากาศในเกณฑ์สีส้มและสีแดงที่เพิ่มจำนวนเดือนขึ้น
อากาศดี : 0-50 เกณฑ์สีเขียว 31 วัน
อากาศปานกลาง : 51-100 เกณฑ์เหลือง 241 วัน
มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มคนที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ : 101-150 เกณฑ์๋ส้ม 78 วัน
มีผลต่อสุขภาพ : 151 - 200 เกณฑ์สีแดง 14 วัน
มีผลต่อสุขภาพมาก : 201 - 300 เกณฑ์ม่วง 0 วัน
อันตราย : 300 + เกณฑ์แดงเข้ม 0 วัน
สำหรับเดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2023 อย่างเดือนเมษายน คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่157.45 มวน คิดเป็นเฉลี่ยวันละ 5.24 มวน ซึ่งมีจำนวนของมวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2022 อย่างเดือนเมษายน ที่มีจำนวน 127.77 มวน หรือเฉลี่ยวันละ 4.26 มวน
หรือในเดือนที่อากาศดีที่สุดในปี 2023 อย่างเดือนกันยายน 2023 คนกรุงเทพฯ ยังต้องทนทุกข์ทรมาน สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 70.14 มวน เฉลี่ยวันละ 2.33 มวน ถือว่าสูบบุหรี่น้อยลงกว่าเดิม เมื่อเทียบกับเดือนที่อากาศดีที่สุดในปี 2022 อย่างกรกฎาคมที่มีจำนวน 74.36 มวน เฉลี่ยวันละ 2.4 มวน
ที่มา rocketmedialab.co