svasdssvasds

ฝุ่น PM2.5 25 ต.ค. 66 กทม.เกินค่ามาตรฐาน 13 พื้นที่

ฝุ่น PM2.5 25 ต.ค. 66 กทม.เกินค่ามาตรฐาน 13 พื้นที่

สถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 กทม. เช้า 25 ต.ค. 2566 พบค่าฝุ่น เกินมาตรฐานระดับสีส้ม 13 แห่ง เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ แนะควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมแมสก์หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง

วันที่ 25 ต.ค. 2566 คนกรุงยังคงอยู่กับ ฝุ่น PM2.5 ที่ลอยอยู่ทั่วเมือง โดยช่วงเวลา 05.00-07.00 น. ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสามารถตรวจวัด PM2.5 ได้ 15.5-54.7 มคก./ลบ.ม. โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครจะอยู่ที่ 32.5  มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้ ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 15.5 - 51.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 13 พื้นที่ ได้แก่

  1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 51.7 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 46.6 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 43.5 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 43.4 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.
  6. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 40.5 มคก./ลบ.ม.
  8. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
  9. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.
  10. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.
  11. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.
  12. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.
  13. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.

ฝุ่น PM2.5 25 ต.ค. 66 กทม.เกินค่ามาตรฐาน 13 พื้นที่  

ข้อแนะนำสุขภาพ

- ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

ฝุ่น PM2.5 25 ต.ค. 66 กทม.เกินค่ามาตรฐาน 13 พื้นที่

1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย. 66 การระบายอากาศไม่ดี (ยกเว้นวันที่ 1 พ.ย. 66 การระบายอ่อน) อาจส่งผลต่อค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)ที่สูงขึ้นในบางพื้นที่ และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่

2. จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ข้อมูลจาก : กรุงเทพมหานคร

related