สวนสัตว์โคราชเปิดตัว "ลูกพญาแร้ง" ตัวแรกของไทย หลังรอนานกว่า 30 ปี ผลงานของคนไทยฟื้นฟูพญาแร้งที่สูญพันธุ์ไปแล้วให้กลับมาโบยบินในธรรมชาตืไทยได้อีกครั้ง
วันนี้ 10 เม.ย. 2566 องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย นำโดย สวนสัตว์นครราชสีมา ได้แถลงข่าวเปิดตัว “ลูกพญาแร้ง” ตัวแรกของประเทศไทย หลังรอมานากว่า 30 ปี ภายใต้ “โครงการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย"เพื่อต้นแบบในการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในพื้นที่ธรรมชาติของประเทศไทย
“ลูกพญาแร้ง” ตัวนี้เป็นเพศเมีย เกิดจากพญาแร้งตัวแม่ที่ชื่อว่า “นุ้ย” และพญาแร้งตัวพ่อที่ชื่อว่า “แจ็ค” โดยฟักออกมาจากไข่เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งใช้เวลาฟักในตู้ฟักประมาณ 50 วัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อินเดียทำได้! เพิ่มประชากรเสือโคร่งที่ใกล้สูญพันธุ์ได้สำเร็จ ภายใน 16 ปี
งานวิจัยใหม่เผย ประชากรผึ้งกำลังล้มตาย ภาคเกษตรเตรียมรับผลกระทบ
เกร็ดความรู้พญาแร้ง
พญาแร้ง (Red-headed Valture) เป็นนกขนาดใหญ่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Sarcogyps calvus ขนาดลำตัวประมาณ 80 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ หัว คอและเท้าจะมีสีแดง ขนตามลำตัวมีสีดำ ขนหน้าอกและโคนขาจะมีสีขาว
ถิ่นที่อยู่อาศัย มักพบได้ตามทวีปเอเชีย แถบประเทศอินเดีย จีน พม่า อินโดนีเซีย มีพฤติกรรมที่ชอบอยู่อย่างสันโดษ ไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นที่โล่งแจ้ง โดยจะชอบกินซากสัตว์เน่าที่ตายแล้วตามพื้น หรือโฉมลงมากินสัตว์เล็ก ด้วยสายตาที่ว่องไว
ตามการรานงานของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ประเทศไทยเคยมีแร้งอยู่ 5 ชนิด เป็นแร้งประจำถิ่นอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ พญาแร้ง (สูญพันธุ์) แร้งเทาหลังขาว (สูญพันธุ์) แร้งสีน้ำตาล (สูญพันธุ์) และเป็นแร้งอพยพอีก 2 ชนิดคือ แร้งสีน้ำตาลหิมาลัยและแร้งดำหิมาลัยที่ยังไม่สูญพันธุ์
รวมข่าวสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลกประจำปี 2022 ตัวไหนรอด ตัวไหนเสี่ยง ไปดู!
สาเหตุที่แร้ง หายไปจากธรรมชาติไทย
ปัจจุบัน ประชากรพญาแร้งได้สูญพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วในธรรมชาติของไทย หลงเหลืออยู่ในสวนสัตว์และสถานีเพาะเลี้ยงเพียง 6 ตัวเท่านั้น ดังนั้น นี้จึงเป็นอีกขั้นของความสำเร็จ ที่คนไทยสามารถนำพญาแร้งกลับมายังธรรมชาติของไทยได้อีกครั้ง
ที่มาข้อมูล
โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย”
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร : ขาดแร้ง ขาดความสมดุล เหตุการณ์ที่ทำให้แร้งสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร : รู้หรือไม่ ประเทศไทยเคยมี ‘แร้ง’ อยู่ในธรรมชาติด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด