มลพิษทางอากาศ และฝุ่น PM 2.5 มีสัญญาณจะกลับมา...ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นอันตราย
ทุกครั้งที่เข้าสู่ช่วงเวลาปลายปี ที่อากาศกำลังจะเย็นลง ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ ปัญหา PM 2.5 ก็จะกลับมา ก่อกวนสุขภาพของคนกรุงเทพอยู่เสมอ โดยในวันนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นอันตราย
.
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
ผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 ประจำวันที่ 17 พ.ย. 65 ณ เวลา 07.00 น. ค่าฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด ตรวจวัดได้ 18-42 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) : PM2.5 ค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชม. ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฝุ่น PM2.5 ปี 66 พุ่งสูงจากสภาพอากาศหนาวเย็น แห้งแล้ง ลานีญาจะเริ่มน้อยลง
PM2.5 ค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชม.ของกรุงเทพ ยัง ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. แต่ก็ถือว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ช่วงระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดความชื้นจากทะเลเข้ามาปกคลุมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ลมอ่อน อัตราการระบายฝุ่นละอองไม่ดี ความเข้มของฝุ่นละออง PM2.5 ต่ำ
หากย้อนสถิติไปในปี 2564 กรุงเทพมหานครมีค่าเฉลี่ย ค่าฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ที่ราวๆ 21.6 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ซึ่งนั่นทำให้ ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้นถึง 14%
โดยในปัจจุบันหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายยืนยันว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แม้ว่าจะเป็นการรับสัมผัสมลพิษที่ระดับความเข้มข้นต่ำ ข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนในการลงมือแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 ในประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาวะโดยรวมของคนไทย