svasdssvasds

รศ.เสรี เตือนช่วงนี้-กลางเดือน Golden Week เร่งระบายน้ำ เตรียมรับมือฝนถล่ม

รศ.เสรี เตือนช่วงนี้-กลางเดือน Golden Week เร่งระบายน้ำ เตรียมรับมือฝนถล่ม

สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันอาจทำให้หลายคนกังวลจนเกิดคำถามว่า จะน้ำท่วมเหมือนปี 2554 หรือไม่? ต้องเฝ้าระวังอะไรบ้าง รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผ.อ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ม.รังสิต จะมาคลายข้อสวสัยในเรื่องนี้

รศ.เสรี เตือนช่วงนี้-กลางเดือน Golden Week เร่งระบายน้ำ เตรียมรับมือฝนถล่ม รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผ.อ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ม.รังสิตได้เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในตอนนี้ว่า "สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เกิดจากฝนตกหนักกว่าปี 2554 ซึ่งมันก็จะไปท่วมคนที่เปราะบางทั้งหลาย ซึ่งตอนนี้อ.เสนา ผักไห่ ท่วมหนักกว่าปี 2554 ก็เพราะว่าชาวชุมชนเหล่านี้เค้าไม่ได้ป้องกัน แต่ที่อื่นป้องกัน ที่อื่นมีการยกถนน มันก็เลยไปหนักตรงนั้น มันก็เลยทำให้เกิดปัญหายืดเยื้อมาก ปัญหามันก็จะอยู่ยาว" 

ส่วนในเรื่องปริมาณน้ำจากเหนือจะไหลมาท่วมกรุงเทพฯ หรือไม่?

"ฝนมันไปตกภาคกลางตอนบน ถ้าตกตอนเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ก็รับได้พอสมควร แต่ฝนไปตกตอนกลางเยอะ ข้างบนก็เลยไม่ได้กระทบเท่าไร ยกเว้นเชียงใหม่คือท่วมบางจุดซึ่งเชียงใหม่น้ำจะมาเรัวไปเร็ว หมายความว่าน้ำมาแล้วก็ระบายได้เร็ว คิดว่า 3-4 วันก็หายแล้วถ้าไม่มีพายุลูกใหม่ แต่เราดูแล้วว่าใน 10 วันข้างหน้าไม่มีพายุ"

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

รศ.ดร.เสรี กล่าวถึงปรากฎการณ์น้ำท่วมที่หลายคนกังวลว่าจะเป็นเหมือนปี 2554 หรือ? ดังนี้ "ตอนนี้ตอนกลางของประเทศมันอยู่ในภาวะวิกฤติมากกว่าปี 2554 ในบางพื้นที่ ไม่อยากให้เอาไปเปรียบกับปี 2554 เพราะปัจจัยมันต่างกัน

ปี 2554 มวลน้ำมาจากเขื่อนใหญ่หมดเลย แต่ปีนี้มวลน้ำหลักมาจากพื้นที่ที่ฝนตกหนักหมดเลย โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยส่วนตัวมองว่า เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วหรือ Golden Week สำหรับการระบายน้ำ เพราะเดี๋ยวเราจะเข้าสู่ช่วงที่ฝนตกหนักต่อเนื่อง"

"ช่วงเวลานี้ไปถึงกลางเดือนเป็นช่วง Golden Week เพราะฉะนั้นเร่งระบายน้ำให้มากที่สุด หลังจากกลางเดือนแล้วมีหย่อมเกิดขึ้นเยอะ ซึ่งแน่นอนเราก็ไม่รู้ว่ามันจะพัฒนาตัวเป็นพายุหรือไม่ ไม่มีใครบอกได้ ตัวหย่อมนี้ถ้าไปอยู่ที่ไหนมันก็จะเกิดร่องฝนทำให้ตกหนักขึ้น หรือหย่อมพัฒนาเป็นพายุก็หนักกว่าอีก ช่วงนี้ต้องเร่งระบายน้ำเพื่อรอรับน้ำหลังวันที่ 15 ตุลาคม" อ.เสรี กล่าว

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผ.อ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ม.รังสิต กล่าวว่า ในกรณีวันที่ 7 ที่ปล่อยน้ำสูงสุด ผมคิดว่ายังไงก็ตามต้องผันน้ำเข้าไปในทุ่งที่เตรียมไว้ 12 ทุ่ง ซึ่งบางทุ่งก็ 70-80 เปอร์เซ็นต์ แต่จำเป็นต้องทำเพราะไม่มีทางที่จะเลี่ยงกับปริมาณน้ำที่ลงมา มันจะมาซ้ำเติม

อ.เสรี แนะนำว่า "ประชาชานได้รับข้อมูลจากหลายแหล่งทำให้เกิดความสับสน เพราะฉะนั้นควรมีหน่วยงานกลาง ควรมีการบูรณาการในการทำงานร่วมกันในการแจ้งข่าวเตือนภัย"

related