ช้างป่า เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามล่า-ครอบครอง-ทำการค้า ชวนส่องหาที่อยู่อาศัยของพี่ใหญ่แห่งพงไพร ในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เปิดข้อมูลความขัดแย้งที่คนกับช้างต้องเผชิญหน้ากัน
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Human Elephant Voices ที่ทำโครงการ การวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าอย่างสันติบนฐานพลเมืองมีส่วนร่วมและงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นระบุว่า จำนวนประชากรช้างทั้งประเทศในปี 2560 อยู่ที่ 3,084-3,500 ตัว ถ้าเทียบกับจำนวนช้างป่าเมื่อ 14 ปีที่แล้ว มีแนวโน้มว่ากำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น (AsESG Thailand Forum, 2017 & Srikrachang, 2003) ช้างป่าในประเทศไทย กระจายตัวอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหมด 69 แห่งจากทั้งหมด 189 แห่ง คิดเป็น 37% ของพื้นที่อนุรักษ์ทั้งประเทศ กลุ่มป่าที่มีจำนวนช้างป่ามากที่สุดคือกลุ่มป่าตะวันตก รองลงมาคือ กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว กลุ่มป่าแก่งกระจาน-กุยบุรีและกลุ่มป่าตะวันออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
13 มีนาคม วันช้างไทย ปริมาณขยะพลาสติกมีมากกว่าช้างไทย 173.99 เท่า
สถานการณ์ช้างไทย ช้างเอเชียปี 2022 พี่ใหญ่แห่งพงไพร ใครเล่าจะเก๋าเท่าพี่
ภาพช้างป่า พลายบุญช่วย ติดอันดับภาพถ่ายประจำปี 2021 ของสำนักข่าวต่างประเทศ
โดยเรียงตามลำดับจำนวนช้างป่าในแต่ละกลุ่มป่ามีดังนี้
ช้างป่าจัดเป็น “สัตว์ป่าคุ้มครอง” ตามประกาศพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยกำหนดข้อห้ามเบื้องต้นไว้ดังนี้
ส่วนช้างบ้านหรือช้างเลี้ยงถือเป็นสัตว์พาหนะ ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482
ทั้งนี้ข้อกังวลสำหรับที่จะเป็นภัยคุกคามสำหรับส่งผลต่อจำนวนช้างป่าก็คือ แหล่งที่อยู่อาศัยของช้างป่าลดลงเนื่องการเพิ่มจำนวนของประชากรมนุษย์และการทำเกษตกรรม จึงทำให้เพิ่มปัญหาความขัดแย้งระหว่าคนกับช้างในประเทศไทยมากขึ้น
จากข้อมูลในปี 2564 พบว่า ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2564 ถึงวันนี้ (26 ธันวาคม 2564) มีเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่ทำให้มีช้างและคนบาดเจ็บและเสียชีวิตถึง 32 เหตุการณ์ โดยแบ่งเป็นช้างล้ม 9 ตัว ช้างบาดเจ็บ 6 ตัว คนเสียชีวิต 17 คน และคนบาดเจ็บ 6 คน
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ช้างป่าล้มไปทั้งหมด 9 ตัว โดยสาเหตุมาจาก
แนวทางแก้ปัญหาคนกับช้างป่าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้วางไว้คือ
ที่มา