วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีถือเป็น "วันช้างไทย" พบว่าปริมาณน้ำหนักของขยะพลาสติกมีมากกว่าน้ำหนักช้างไทยรวมทั้งประเทศถึง 173.99 เท่า
วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีถือเป็น "วันช้างไทย" ซึ่งทาง นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เคยระบุเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว ว่า สถานการณ์สัตว์คู่บ้านคู่เมืองอย่างช้าง(ไทย)เอเชียถูกจัดเป็น สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยในประเทศไทยมีช้างป่าที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติประมาณ 3,168-3,440 ตัว กระจายอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ 69 แห่งทั่วประเทศ มีพื้นที่ราว 52,000 ตร.กม.
ช้างป่าที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ มีสรรพนามว่า "ตัว" สำหรับคำว่า "เชือก" ที่ใช้เรียกเป็นสรรพนามของชัางนั้น เกิดขึ้นจากการที่ช้างถูกคล้องด้วย "เชือก" จึงสามารถใช้แยกแยะช้างป่าและช้างเลี้ยงได้ด้วยสรรพนาม
"วันช้างไทย" เป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ "ช้างเผือก" อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และมีมติออกมาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เห็นชอบให้ "วันที่ 13 มีนาคม" ของทุกปี เป็น "วันช้างไทย" และได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 ในขณะที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541
ช้างเอเชียนั้น มีส่วนสูงตั้งแต่ 2-4 เมตร และอาจมีน้ำหนักได้ตั้งแต่ 3,000 ถึง 5,000 กิโลกรัม โดยช้างที่โตเต็มที่สามารถกินอาหารวันหนึ่งได้ถึง 200 กิโลกรัม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
ในขณะที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เผยข้อมูลว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.93 ล้านตัน (27.93 พันล้านกิโลกรัม) โดยเป็นขยะพลาสติกประมาณ 2 ล้านตัน (2 พันล้านกิโลกรัม) หรือประมาณ 12% ของขยะมูลฝอยทั้งหมด
และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งกระตุ้นให้เกิดขยะมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก การประกาศล็อกดาวน์จึงทำให้ประชาชนมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปหันมาใช้บริการส่งอาหารกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการใช้บริการส่งอาหารก่อให้เกิดขยะพลาสติกมากถึง 7 ชิ้นด้วยกัน อาทิ กล่องอาหาร ถุงใส่นํ้าจิ้ม ช้อนพลาสติก ส้อมพลาสติก ถุงใส่ช้อนส้อม ถุงนํ้าซุป และถุงพลาสติกหูหิ้วสำ หรับใส่อาหารทั้งหมด
ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ประเมินว่า วิกฤตโควิด-19 ทำให้ขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น 15% จากเฉลี่ยวันละ 5,500 ตัน/วัน เป็น 6,300 ตัน/วัน โดยที่ขยะพลาสติกเหล่านี้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) ได้เพียง 25% เท่านั้น ในขณะที่ขยะพลาสติกที่เหลืออีก 75% เปลี่ยนรูปแบบใช้เพียงครั้งเดียว (Single Use-Plastics) เช่นขยะที่เกิดขึ้นจากบริการส่งอาหารข้างต้นที่ว่า
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าปริมาณขยะพลาสติกมีมากกว่าจำนวนช้างไทยอย่างแน่นอน
ค่าพิสัยกลางของน้ำหนักช้างไทยเท่ากับ 4,000 กิโลกรัม (4 ตัน) ในขณะที่ค่าพิสัยกลางของจำนวนช้างไทยอยู่ที่ 3,304 ตัว เท่ากับช้างไทยมีน้ำหนักรวมที่ประมาณ 13,216 ตัน
ในขณะที่ ประเทศไทยใช้พลาสติกวันละ 6,300 ตัน/วัน เท่ากับหนึ่งปีประมาณ 2,299,500 ตัน จึงเท่ากับ 173.99 เท่าของปริมาณน้ำหนักช้างไทย