ประมวลภาพถ่ายประจำปีจากสื่อทั่วโลก เพื่อสรุปแทนเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปี 2021 ที่ผ่านมา 1 ในนั้นมีภาพจากประเทศไทยอยู่ด้วย
ซึ่งก็คือภาพช้างป่า “พลายบุญช่วย” บุกลุยทะลุกำแพงห้องครัวหาอาหารกินเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2564 โดยผู้เผยแพร่ภาพและคลิปได้แก่ นางรัชฎาวรรณ ผึ้งประสพพร อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 134 หมู่ 1 บ้านเฉลิมเกียรติพัฒนา ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
ภาพดังกล่าวสะท้อนปัญหาระหว่างช้างกับคน โดยแนวทางแก้ไขที่ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ คาดว่าจะดำเนินการต่อไปหลังจากเหตุการณ์นี้คือ การติดปลอกคอติดตามตัวสัตว์สัญญาณดาวเทียม (GPS Collar) เพื่อทราบเส้นทางการเคลื่อนที่และการสำรวจพื้นที่รองรับเพื่อนำช้างไปปล่อยโดยมองหา แหล่งน้ำ อาหาร และประชากรช้างป่า
จากประมวลภาพใน ปี 2021 จากเห็นได้ว่าเป็นปีที่ประชากรทั่วโลกยังคงตกอยู่ในบรรยากาศของของ โรคระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ และความขัดแย้ง ซึ่งได้รับถ่ายทอดออกมาเป็นภาพถ่ายที่ทั้งสะเทือนใจและชวนตั้งคำถามต่อไปว่าในปี 2022 นี้เราจะผ่านพ้นวิกฤติต่างๆนี้ไปทางไหนและพอจะมีข่าวน่ายินให้ร่วมเฉลิมฉลองและชื่นใจกันมากขึ้นมั้ย
จากการที่คลิปได้เผยแพร่ออกไปกลายเป็นข่าวโด่งดังทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทาง อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ หัวหิน ที่ดูแลพื้นที่ ได้เข้าไปดำเนินการเยียวยาความเสียหายแก่บ้านดังกล่าวเบื้องต้นแล้ว
สำนักข่าว The Guardian ได้ลงพื้นที่พร้อมสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติมถึงกรณีปัญหาคนและช้าง โดยพบว่าประเทศในแถบเอเชียรวมทั้งไทยจำนวนคนที่บุกรุกขยายพื้นอยู่อาศัยเข้าไปในพื้นที่แหล่งอาหารของช้างเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และขัดขวางการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้ทั้งมีความละเอียดอ่อนและอันตราย
จากประมวลภาพใน ปี 2021 จากเห็นได้ว่าเป็นปีที่ประชากรทั่วโลกยังคงตกอยู่ในบรรยากาศของของ โรคระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ และความขัดแย้ง ซึ่งได้รับถ่ายทอดออกมาเป็นภาพถ่ายที่ทั้งสะเทือนใจและชวนตั้งคำถามต่อไปว่าในปี 2022 นี้เราจะผ่านพ้นวิกฤติต่างๆนี้ไปทางไหนและพอจะมีข่าวน่ายินให้ร่วมเฉลิมฉลองและชื่นใจกันมากขึ้นมั้ย
ข้อมูลจาก human elephant voices ได้ทำการรวมรวม เหตุการณ์ความขัดแย้ง ระหว่างคนกับช้างป่าที่มีความเสียหายแก่ชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ในปี 2564 ที่ผ่านมา พบว่า
เดือนที่มีรายงานมากที่สุด คือ พฤศจิกายน มกราคม ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วง เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังและข้าโพด จากรายงานสรุปไว้ว่า สถิติความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างมีเพิ่มมากขึ้นจาก 2 ปีที่ผ่าน แสดงถึงความรุนแรงและการปะทะที่ถี่มากขึ้น ความปลอดภัยของคนและช้างนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทบทวนมาตรการการป้องกันเพื่อให้ทั้งสองสิ่งมีชีวิตนี้สามารถอยู่ร่วมกันและลดการกระทบกระทั่งให้น้อยที่สุด
ที่มาข่าว
ABC News
รูปประกอบจาก
Radchadawan Peungprasopporn,
AFP/Getty Images