เปิดวีรกรรม พลายสีดอแดง ช้างแสนรู้ตัวใหญ่ที่สุดในเอเชีย ที่เสียชีวิตเมื่อเช้าวันที่ 21 ธ.ค. 64 จากการถูกรั้วไฟฟ้าช็อต บ่งชี้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่าง คนกับช้าง
เมื่อเช้าวันที่ 21 ธ.ค.2564 เวลา 07.00 น. เจ้าหน้าที่ไดรับแจ้งมีช้างถูกลวดไฟฟ้าช็อตตาย 1 ตัว บริเวณสวนผลไม้ราษฎร ริมเขาสอยดาวใต้ หมู่ 1 ต.ทับไทร อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทรบุรี
“พลายสีดอแดง” หรือ “แดงซ่า” เป็นช้างป่าเพศผู้ อายุ 18 ปี น้ำหนักราว 7 ตันกว่า มีชื่อเสียงกว้างไกลในเขตพื้นที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทรบุรี เคยมีคดีติดตัวจากพฤติกรรมทำร้ายคนจนเสียชีวิต แต่ฉายานี้ไม่ได้มาง่ายๆ ไปดูวีรกรรมในอดีตของแดงซ่ากัน
พลายสีดอแดง ถือว่าเป็นช้างที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและมีความฉลาดอย่างมากในการหาทางหนีออกไปจากศูนย์กักกัน เช่น มันฟื้นจากยาสลบที่ฉีดไป 12 เข็มและวิ่งหนีไป วิธีการหนีของมันคือ บริเวณรอบๆศูนย์กักกันจะมีคูน้ำลึกกันช้างหนี แต่มันกระทืบคูน้ำซ้ำๆเพื่อให้คูตื้นเขินขึ้น และข้ามไป จากนั้นใช้โคลนมาพ่นใส่ตัวเอง รอให้โคลนแห้ง แล้วค่อยๆเดินเบียดลวดไฟฟ้าให้ลำตัวชินกับกระแสไฟกว่า 9,000 โวลต์ และทำแบบนี้สลับไปมาหลายครั้ง จนหลบหนีออกไปได้สำเร็จ และแม้ว่ามันจะมีเครื่องส่งสัญญาณที่คอ มันก็ไม่เคยเกรงกลัวเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฝรั่งเศสผ่านกฎหมายแบนการทารุณกรรมสัตว์ในโรงละครและฟาร์มขนสัตว์
สำรวจสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 10 สายพันธุ์แห่งปี 2021 ที่ต้องเร่งอนุรักษ์แล้ว!
สัตวแพทย์สวนนงนุช ผ่าเอาลูกปืนออกจากขา "พังฟ้าใส" ได้อย่างปลอดภัย
ด่วน! ฎีกา ลดโทษ “เปรมชัย” คดีล่าเสือดำ เหลือ 2 ปี 6 เดือนไม่รอลงอาญา
ปัญหาช้างไทยถูกลวดไฟฟ้าช็อต
ประเทศไทยมีจำนวนช้างถูกลวดไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตหลายราย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรณีปัญหาการออกนอกพื้นที่ของ “ช้างป่า” ถือเป็นเรื่องที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามพฤติกรรมของสัตว์ โดยทุกๆปีเราจะพบกับข่าวว่าช้างออกหากินตามสวนผักผลไม้ของชาวบ้านอยู่เป็นประจำ สร้างความหวาดกลัวให้กับคนในพื้นที่
แต่การที่จะสร้างความสงบและการอยู่ร่วมกันอย่างเสรี ระหว่างคนกับช้างได้นั้น ตามข้อคิดเห็นและข้อมูลจากบทความของมูลนิธิสืบนะคะเสถียร ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่าง คน-ช้างป่า ทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ซึ่งการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า เราต้องเข้าใจพฤติกรรมของช้างป่า ส่วนวิธีการแก้ปัญหาอาจขึ้นอยู่กับบริบทชุมชนนั้นๆ เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ว่าเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งสองครั้งเท่านั้น และปัญหาจำนวนช้างประชิดขอบป่ามากขึ้นนั้น สิ่งที่ดีกว่าคือการเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับช้าง แม้ว่าในบางพื้นที่จะไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ด้วยข้อจำกัดของชุมชนและปัจจัยต่างๆ
ปัญหาช้างออกนอกพื้นที่ป่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและดูจะทวีความรุนแรงขึ้น ระหว่างคนกับช้าง ช้างเข้าไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร หรือทำร้ายมนุษย์ และชาวบ้านก็มักจะตอบโต้ด้วยการทำร้ายช้างกลับ ทำให้มันตื่นกลัว ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตทั้งคนและช้าง และปัญหานี้ต้องเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด แม้ว่าวิธีที่นำมาใช้นั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อย่างน้อยถ้าสามารถลดความสูญเสียได้บ้างก็คงดี
วิธีการที่สามารถบรรเทาความเสียหายและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้จากการรวมรวมความคิดเห็นจากบุคคลที่มีความเชี่ยวชายและประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับช้างป่า ได้ใจความว่า
ศึกษาพฤติกรรมและสำรวจกลุ่มประชากรช้างป่า – การเก็บข้อมูลทั้งหมดทั้งประชากร การกระจายพื้นที่หากิน พฤติกรรมการหาอาหาร จะนำไปสู่การวางแผนการจัดการที่ดีเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยและอาหารของช้าง – หากช้างที่พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เพียงพอ โอกาสที่จะออกนอกเขตป่าจึงเป็นไปได้น้อยลง
การสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือกับคนในพื้นที่หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – การลงพื้นที่อธิบายทำความเข้าใจพฤติกรรมช้างป่ากับชาวบ้าน รวมไปถึงวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ซึ่งหน้าระหว่างคนกับช้างป่า เบื้องต้นควรทำอย่างไร
และสำหรับผู้ที่เดินทางผ่านหรือเข้าออกพื้นที่ที่มีช้างป่ากำลังออกหากินนั้น ขอความร่วมมือไม่ส่งเสียงดังรบกวนโขลงช้างและบันทึกเบอร์ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไว้ เช่น สายด่วนพิทักษ์ป่า 1362
หรือทำ 10 ข้อปฏิบัติเมื่อเจอฝูงช้างบนถนน
ที่มาข้อมูล
https://d.dailynews.co.th/regional/
https://www.facebook.com/NBTcentral11HD/
https://www.facebook.com/DNP1362/
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_416362
https://www.facebook.com/tnamcot/
https://www.matichon.co.th/region/news_2027514
https://www.seub.or.th/bloging/news/
https://www.seub.or.th/bloging/