มุมมอง เจน Z แบนอิโมจิ (บางตัว) ในบริบทองค์กร กรุ๊ปการทำงาน เพื่อเลี่ยงการตีความผิด ไม่เคารพเพื่อนร่วมงาน ตัดจบบทสนาดื้อๆ เรียกร้องให้ตอบด้วยข้อความแทน
Cancel culture คือ การแบน หรือ คว่ำบาตร เป็นพลังทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่มักถูกใช้กับการเลิกสนับสนุนคนดังหรือสินค้า ที่แสดงคำพูด ทัศนคติ หรือ พฤติกรรม ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งคาดว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่ในช่วงปี 2558 จนกลายเป็นวัฒนธรรมการต่อต้านที่ใช้กันมากขึ้นในปี 2561
โดยล่าสุดได้มีผู้ใช้งานเว็บไซต์ Reddit ที่นิยมใช้งานกันในต่างประเทศ มีการหยิบยกประเด็นการ แบนอิโมจิ (Emoji) ที่เราคุ้นตากัน 10 อิโมจิ ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อัปเดตเทรนด์วัยรุ่นเกาหลี ใช้จ่ายในได้ใน 0 วอน คนไทยกล้ารับคำท้ามั้ย
งานศึกษาใหม่ เผย เด็กวัยรุ่นติดอินเทอร์เน็ตมากขึ้น "ออนไลน์" ตลอดเวลา
ซึ่งกลุ่มคนที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาคือ Generation Z เป็นคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2540 – 2555 หรือ ค.ศ. 1997 – 2012 (อายุ 9 - 24 ปี)
ได้มีการแสดงความคิดเห็นจาก Reddit ที่เป็นคน เจน Z กล่าวว่า การได้รับอิโมจิยกนิ้วโป้ง ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ รวมถืงอิโมจิอื่นๆ เช่น หัวใจแดง
หนึ่งในผู้ที่แสดงความคิดเห็นวัย 24 ปี กล่าวว่าสำหรับคนที่อายุน้อยกว่า การได้รับอิโมจิยกนิ้วโป้งให้นั้นให้ความรู้สึกถึงความก้าวร้าว หยาบคาย ซึ่งทำให้เขาต้องปรับตัวในที่ทำงานที่มีคนอายุมากกว่าในช่วงวัยตัวเองซึ่งมีการใช้กัน
ในความหมายของการอนุมัติ หรือ แสดงความเข้าใจและจะทำปฏิบัติเชื่อฟัง
อีกหนึ่งตัวอย่าง Barry Kennedy ในวัย 24 ปี ให้สัมภาษณ์กับ The Post กล่าวว่า เขาใช้อิโมจิเพื่อสื่อสารกับคนรุ่นเบบี้บูมเช่น พ่อแม่หรือเพื่อนร่วมงานที่มีอายุมากกว่าตัวเองเท่านั้น ซึ่งต้องการแสดงออกในเชิงประชดประชัน
ส่วนความคิดเห็นอื่นๆ ก็ให้ความเห็นว่า อิโมจิ เหล่านี้แสดงถึงความไม่ใส่ใจ เพราะทำให้ตีความได้ว่า การใช้อิโมจิยกนิ้วโป้งให้นี้ เป็นการบอกว่าฉันเห็นข้อความนี้แล้วและไม่มีความคิดเห็นอื่นๆ เพิ่มเติม คนอื่่นๆ ในกลุ่มแชทนี้เช่นกัน
ยังมีคิดเห็นอื่นๆ ที่กล่าวว่า อิโมจิ เหล่านี้เป็น การแปลความหมายที่แตกต่างกันตามช่วงวัย ซึ่งเขาเองก็ตั้งข้อสังเกตว่า คนเจนเดียวกันในออฟฟิศ พวกเขาก็ไม่ส่งอิโมจิให้กัน ซึ่งแตกต่างจาก คนใน เจน X (1960 – 1980) ที่ใช้กันเป็นปกติซึ่งทำให้เขาต้องปรับความคิดไม่ให้เข้าใจว่ากำลังโดนโกรธหรือมีใครไม่พอใจ
ส่วน เจน Z อื่นๆ กล่าวเสริมว่า พวกเขา อยากให้พิมพ์เป็นคำตอบกลับมาแทนการส่ง อิโมจิ (Emoji) โดยเฉพาะในกลุ่มแชทของที่ทำงาน การแบนการใช้อิโมจิกับทีมโดยรวมจะดูเป็นการไม่เป็นมิตรนัก
ทั้งนี้ได้มี Elaine Swann ผู้เชี่ยวชาญด้านไลฟ์สไตล์และจรรยาบรรณในองค์กร เข้ามาแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า ให้หลีกเลี่ยงการใช้อิโมจิ ในบริบทที่ต้องการแสดงถึงเรื่องทางการ และเพื่อให้ดูเป็นมืออาชีพเนื่องจากเป็นการหลีกเลี่ยงการตีความผิดจากที่ผู้สื่อสารตั้งใจ
โดยเขาได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า อิโมจิ (Emoji) สามารถทำให้ตีความหมาย ไปเชิงการไม่เคารพซึ่งกัน ซึ่งการตีความในแต่ละเจนนั้นอาจตีความแตกต่างกันไปโดยทั่วไปแล้วคนในองค์กรต้องการรับรู้ว่าสิ่งที่พวกเขาพูดนั้นได้มีการรับรู้แล้ว ซึ่งการใช้อิโมจิ อาจไม่ได้ตอบกลับที่ครบถ้วนเพียงพอสำหรับทุกคน
อย่างไรก็ตาม อิโมจิยกนิ้วโป้ง ดูจะพอรับได้มากกว่า อิโมจิหัวใจสีแดง ซึ่งผู้ใช้งาน Reddit ดูจะมีความคิดเห็นที่ต่อต้านการใช้งานในองค์กรมากกว่าพวกเขาเห็นว่า
การใช้ อิโมจิหัวใจสีแดง นั้นเหมาะสมในการใช้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดกันมากกว่า
เคยมีผลสำรวจที่ทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 2,000 คน เปิดเผยว่า คนที่อายุระหว่าง 16- 29 ปี จะรู้สึกว่าการใช้อิโมจิยกนิ้วโป้งหรือหัวใจสีแดงแสดงให้เห็นว่า คนนี้ เป็นคนแก่อย่างเป็นทางการแล้ว
ทั้งนี้ในหลายๆ งานวิจัย ได้มีการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้อิโมจิในรูปแบบการส่งอีเมล์เรื่องงานเพราะจะทำให้ส่งผลต่อความเป็นมืออาชีพ หรือ ถ้าในกรณีที่ใช้ในการส่วนตัว เช่น อิโมจิมะเขือยาว กับคู่เดตอาจตีความผิดที่ส่อไปในเรื่องเพศ
ที่มา