หลังจากเทรนด์อยู่เพื่อวันนี้ ใช้จ่ายเงินเพื่อชดเชยความสิ้นหวัง ที่ฮิตในเกาหลีช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลายมาเป็น Challenge ท้าให้ใช้เงิน 0 วอน หรือ ลดการซื้อ ใช้จ่ายให้น้อยในแต่ละวัน จนเป็นเทรนด์ที่กำลังบูมขึ้นสำหรับวัยรุ่นเกาหลีในตอนนี้
ตั้งการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดียก็จะมีเทรนด์ Challenge แปลกๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ วัยรุ่นออกมาลอกเลียนแบบตามๆ กันบางเรื่องก็น่ากังวล บางเรื่องก็เสี่ยงถึงชีวิต
จากเทรนด์ 'Shibal Biyong' ที่เป็นปรากฏการณ์ในเกาหลีที่คาดว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 2016 เกิดมาจากคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคนรุ่นมิลเลนเนียล ที่สิ้นหวังกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำและความกดดันทางสังคมจึงตอบโต้ด้วยแนวคิดที่จะใช้เงินหาซื้อความสุขแบบหุนหัน พลันแล่น ในวันนี้ตอนนี้ แทนการอดออมเพื่อหวังจะมีชีวิตวัยเกษียณที่ดีขึ้นซึ่งอาจไม่มาถึง ซึ่งเยียวยาได้ในทางจิตวิทยาเพื่อให้ผ่านพ้นในวันที่เลวร้ายไปวันต่อวันจนสื่อขนานนามให้เป็นลัทธิใหม่ซึ่งลากยาวเรื่อยมา แต่ปัจจุบันการใช้ชีวิตแบบ "YOLO" (You Only Live Once) กลายเป็นคำที่ล้าสมัยแล้วนั่นก็เพราะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กต. เผยผีน้อยในเกาหลีใต้ พุ่ง 1.4 แสนคน เตือนกลับไทยก่อน 31 ต.ค. รอดบัญชีดำ
ผลพวงน้ำท่วมเกาหลี กรุงโซลจ่อแบน พันจีฮา บ้านชั้นใต้ดิน แบบในหนัง Parasite
เตามหาเศรษฐี คุณสมบัติประหยัด - ให้ความร้อนสูง ก.พลังงานแนะนำมาใช้ในบ้าน
การมาของเทรนด์ 'mu-jichul' หรือที่เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเป็น 'No-spend challenge' ที่กำลังเป็นที่พูดถึงในหมู่คนรุ่นใหม่ที่เกาหลีตอนนี้ โดยที่มาของเทรนด์ดังกล่าวนี้มาจากการเพิ่มขึ้นอัตราว่างงานเงินเฟ้อที่พุ่งไม่หยุด แตะ 10.6% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 7 ปี ประกอบกับราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก วัยรุ่นเกาหลีใต้จึงเปลี่ยนแนวคิดหันมาตั้งเป้าหมายด้วยการไม่ใช่จ่าย หรือ ใช้จ่ายต่อวันในได้ใน 0 วอน
เป็นการลดค่าใช้จ่ายและการซื้อในแต่ละวัน ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีเพิ่มขึ้น 6% ณ เดือนมิถุนายน ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 23 ปี แล้วพวกเขาใช้ชีวิตกันยังไงภายใต้เทรนด์ 0 วอนนี้
หรือตัวอย่างคุณครูโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งวัย 29 ปี ที่ระหว่างวันทำงานเลิกที่จะออกไปกินอาหารข้างนอก แต่รับประทานอาหารกลางวันที่โรงอาหารของโรงเรียนแทน ทั้งยังงดดื่มกาแฟที่คาเฟ่และหันมาดื่มกาแฟสำเร็จรูปในที่ทำงานแทน พบว่าในเวลาสองสัปดาห์ที่ร่วมชาเล้นจ์นี้เธอไม่เสียค่าใช้จ่ายเลยในระหว่างช่วงวันทำงาน
ซึ่งเทรนด์นี้ได้รับความนิยมในกลุ่ม MZ (ผู้ที่เกิดในช่วงปี 1980 ถึงปี 2010) หรือก็คือคนในรุ่นมิลเลนเนียล และ เจน Z ที่เตรียมพร้อมกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในอนาคตหลังจากผ่านช่วงโรคระบาดของโควิด-19ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดเทรนด์นี้และเป็นกระแส จนมีหลายๆ คนเริ่มรับคำท้าไปทดลองใช้กับตัวเอง เพียงสองสัปดาห์แรกเธอสามารถประหยัดเงินไปได้ $153 หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 5,500 บาท ทำให้ แฮชแท็ก “no spend,” “no-spend challenge” และ “no-spend day,” มีเพิ่มมากขึ้นแตะเกือบสี่พันรายการแล้ว โดยเนื้อหาหรือคอนเทนต์ส่วนใหญ่ จะเกี่ยวข้องกับโพตส์บันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย ที่แทบไม่ใช้จ่ายในแต่ละวัน youtuber ที่แบ่งปันเคล็ดลับในลดการซื้อและช่วยประหยัดในชีวิตประจำวัน
แม้การประหยัดและอดออมจะเป็นเรื่องที่ดีต่ออนาคตแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้บริโภคศาสตร์ศาสตราจารย์ Lee Eun-hee แสดงความกังวล เทรนด์ดังกล่าวจะกล่าวเป็นการตัดขาดความสัมพันธ์จากเพื่อนฝูงและคนรอบตัว เพื่อเก็บเงิน จนกลายเป็นคนแยกตัวจากสังคมจนเกินไป
ที่มา
nationalpost