Online Sexual Harassment เป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควรยอมรับไม่ว่าจะในรูปแบบใด และช่องทางไหน ถ้าสร้างความอึดอัดใจและไม่รับความยินยอมจากผู้ถูกระทำ ก็ควรทบทวนกรอบความคิดที่คิดว่าเราจะสามารถให้คำพูดหรือสายตาลวนลามใครก็ตาม ไม่ว่าจะแต่งตัวแบบไหนก็ไม่ใช่ข้ออ้างได้
“การคุกคามทางเพศออนไลน์” (Online Sexual Harassment)
คือการกระทำที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศที่ทำต่อผู้อื่นโดยที่ไม่รับการยินยอมหรือเป็นการละเมิด เป็นการคุกคามผ่านภาพ เสียง หรือตัวหนังสือ ทำให้ผํู้ถูกกระทำได้รับผลกระทบทั้งทางกายและจิตใจ เกิดความทุกข์ทรมาน เพราะไม่สามารถหยุดกระทำหรือขอความช่วยเหลือ เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดเป็นความอับอายสะสมการเป็นความซึมเศร้าหรือเหยื่อหลายคนถึงขั้นจบตัวเองให้ท้ายที่สุด ซึ่งเหยื่อของการคุกคามทางเพศนี้ สามารถเกิดได้กับ ทุกเพศ ทุกวัย
ซึ่งการคุกคามทางเพศที่เกิดในโลกเสมือนจริงมีความน่ากลัวกว่า เพราะคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องมีมากขึ้น ผลกระทบมีความกว้างขวางมากกว่าโลกจริง ๆ และจับตัวผู้กระทำความผิดได้ยากเพราะเป็นโลกที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด
กรณีล่าสุดที่มีการพูดถึงในทวิตเตอร์ถึงคลิป นักท่องเที่ยวสาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาพักผ่อนในประเทศไทย และได้โพสคลิปช่วงเวลาต่างๆ ของเธอลงใน Tik Tok ส่วนตัว แต่ก็มีเกรียนไทยโดยเฉพาะผู้ชาย เข้าไปแสดงความคิดเห็นถึงการโนบราของเธอในเชิง Online Sexual Harassment
ซึ่งนักท่องเที่ยวสาวคนนี้ไม่ได้เข้าไปในสถานที่ราชการหรือสถานที่สำคัญทางศาสนาหรือลบหลู่สถานที่แต่อย่างใด เพียงใช้ชีวิตประจำวันในห้องพัก ทะเล หรือ ขับขี่มอเตอร์ไซด์ตามถนนปกติ
เราควร ท่องไว้เสมอว่า การแต่งตัวเซ็กซี่ หรือล่อแหลม ไม่ใช่ใบอนุญาตคุกคามทางเพศ และ ไม่ว่าเพศ อายุ หรือ เชื้อชาติใด ก็ไม่ควรตกเป็นเหยื่อในการใช้ความคิดเห็นทางเพศเพื่อคุกคามความสิทธิส่วนตัวของบุคคลได้ เช่นกัน
ซึ่ง รูปแบบ การคุกคามทางเพศออนไลน์ จากที่ ผศ.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปนั้น ประกอบด้วย
โดยการการคุกคามทางเพศออนไลน์กับการคุกคามทางเพศในโลกจริง มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เช่น มีการคุกคามทางเพศในห้อง แล้วนำภาพไปเผยแพร่ในกรุ๊ปห้องแชท เพื่อสร้างบทสนทนาอย่างสนุกสนานกันต่อในกลุ่มเพื่อน
เมื่อถูกคุกคามทางเพศออนไลน์ต้องทำอย่างไร
เราทุกคนสามารถร่วมมือช่วยกันหยุดพฤติกรรม Online Sexual Harassment ได้ด้วยการเริ่มต้นปรับความคิดของตัวเองได้ตามวิธีคิด ดังนี้
ร่วมสร้างสังคมออนไลน์ให้น่าอยู่และปลอดภัยจาก การคุกคามทางเพศออนไลน์ โดยเลิกอ้างเสียทีว่าการพูดหรือแสดงความคิดเห็นในเชิงลามก “เป็นแค่การล้อเล่น ขำๆ ไม่ต้องซีเรียส” เสียที เพราะคำพูดหรือข้อความที่คุณแสดงออกมาสร้างความอึดอัดใจและเป็นการคุกคามโดยผู้ถูกกระทำไม่ยินยอม เราสามารถป้องกันโดยปรับเปลี่ยนความคิดนี้เสียก่อนที่จะนำไปสู่อาชญกรรมในโลกจริงให้ลดลงด้วยทัศนคติที่เข้าใจและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ที่มา
https://tu.ac.th/thammasat-010764-fph-online-sexual-harassment
https://www.law.tu.ac.th/seminar-summary-online-sexual-harassment/
https://www.suanprung.go.th/web/news_ad/myfile/30092563_003.pdf