Job Hopper ในมุมของผู้สมัครงานและในฝั่งบริษัท มองคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยงานบ่อยเป็นคน ไม่มีความอดทน หรือ จริงๆ แล้วมีสาเหตุเบื้องหลัง บริษัทควรรับมือกับแนวโน้มการทำงานกันอย่างไรเพื่อให้องค์กรสามารถเดินต่อโดยไม่สะดุด
การสมัครงานโดยเฉพาะในตำแหน่งที่มีผู้สมัครเข้ามาจำนวนมาก ใบสมัคร ประวัติส่วนตัว จึงถือเป็นจุดขายที่จะทำให้บริษัทสนใจและเลือกที่จะติดต่อเข้ามาสัมภาษณ์ต่อ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่เลือกใส่ไว้จึงเป็นเสมือนการบอกคุณลักษณะเบื้องต้นของผู้สมัครให้คิดภาพในหัวต่อไปว่าคนๆ นี้น่าจะเป็นแบบนี้ ซึ่งก็เป็นเพียงการคาดเดาและตัดสินจากสิ่งที่เขียนในเอกสารเท่านั้น แต่ก็มีผลอย่างมากกับการเลือกให้ผ่านเข้าสู่ประตูต่อไป
ประเด็นดราม่าถกเถียงกันในเรื่อง Job Hopper ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันอีกครั้งเมื่อมีโพสต์นึงที่คาดว่าน่าจะเป็นฝ่ายรับสมัครงานเขียนแจงถึงการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในบริษัท จนเกิดเป็นกระแสทั้งฝากฝั่ง คนรุ่นใหม่ ที่มักจะโดนแปะป้ายว่าเป็นเจนเนเรอชั่นที่ไม่มีความอดทน โยกย้าย เปลี่ยนงานบ่อย และฝั่งบริษัทนายจ้างเองก็ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้อย่างน่าขบคิดกันต่อด้วยเช่นกัน ซึ่งต่างก็มีเหตุผลของตัวเองที่ควรรับฟัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เผยรายชื่อ 10 อันดับอาชีพเครียดน้อย-มากที่สุด พบมากใน Sandwich Generation
ไวรัลซึ้ง! คุณตาขายกระเพาะปลาไม่ได้ซักถุง ก่อนได้พลังโซเชียลช่วยอุดหนุน
ฉีกกรอบ ชุดคอสเพลย์นั่งเรียนที่วิทยาลัยพายัพฯ เชียงใหม่ เสรีภาพสร้างวินัย
ซึ่งจริงๆ แล้วประเด็น Job Hopper นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ชวนมาทำความเข้าใจเหรียญทั้งสองด้าน ข้อดี-ข้อควรระวัง ที่ทั้งสองฝั่งต่างมีมุมมองและทางเลือกของตัวเอง
แล้วใครคือ JOB HOPPER?
กลุ่มคนในวัยทำงานที่ย้ายงานหรือเปลี่ยนงานบ่อย มีประวัติอายุการทำงานแต่ละที่สั้นๆ ไม่ถึงปีหรือไม่เกิน 2 ปี ส่วนใหญ่คนมักมองว่าอยู่ในกลุ่ม Gen Y หรือ Millenniums (คนที่เกิดในช่วง ค.ศ. 1977-1994) เพราะมองมีมุมมองการเปลี่ยนงานบ่อยเป็นเรื่องธรรมดา เป็นการค้นหาตัวเอง และไม่ต้องทนทำงานในสิ่งที่ไม่ชอบหรือในสภาพแวดล้อมที่ไม่ตอบโจทย์สไตล์การใช้ชีวิต ที่ต้องการความรวดเร็ว ชัดเจน คิดนอกกรอบ ปรับตัวได้ดี
ซึ่งต่างจากคนในเจเนอเรชั่นเช่น Baby boomer (ค.ศ. 1946-1954) ที่มีค่าเฉลี่ยอายุงานที่มากกว่าหรือทำงานที่เดียวยาวต่อเนื่องกันจนเกษียณ
ถ้าอยากเช็กว่าตัวเองกำลังเป็น JOB HOPPER ลองตอบคำตอบ 4 ข้อที่เว็บไซต์ uttaputch ตั้งคำถามไว้ไปพร้อมกัน
ทำไมถึงต้องย้ายงานบ่อยๆ
เหตุผลของการย้ายงานบ่อยๆ ส่วนนึงอาจเป็นวิธีการเพิ่มขึ้นเดือนได้รวดเร็วขึ้น กว่าการรอปรับเงินเดือนทุกปีในที่ทำงานเดิม แต่เงินไม่ใช่ตัวแปรเดียวเท่านั้น กลุ่มคนแบบ Job hopper ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตในระยะยาว ไม่อยากทนทำงานที่ยังไม่รู้สึกว่าใช่หรือตอบโจทย์วิถีชีวิตที่ต้องการ โดยสาเหตุอาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ข้อดีของ Job hopper ที่ย้ายงานบ่อย
ปรับตัวเก่ง ไฟแรง มี Connection กว้างขวาง กล้าเสี่ยง มีโอกาสเรียนรู้งานหลากหลาย ทำให้ได้ฝึกการใช้ทักษะใหม่ๆ ได้เห็นวัฒนธรรมองค์กรรูปแบบต่างๆ อาจจะทั้งบริษัทเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งอาจช่วยเติมมุมมองที่บริษัทยังมองไม่เห็น
ซึ่งถ้าพนักงานมั่นใจในฝีมือและคิดว่าสามารถแบกรับภาระตำแหน่งงานที่สูงขึ้นตามหน้าที่ที่สมัครได้อย่างอยู่หมัด ก็จะทำให้ก้าวกระโดดทั้งในเรื่องของเงินเดือนและความก้าวหน้าในสายอาชีพได้เร็วกว่าคนที่อยู่ในองค์กรเดียวนานหลายปี
ข้อควรระวังสำหรับคนที่มีลักษณะ Job Hopper
การเปลี่ยนงานบ่อยๆ ไม่เรื่องสนุกแน่นอน เพราะต้องผ่านช่วงกังวลและความเครียดในการหางานใหม่ แล้วยังต้องใช้เวลาคิดและลงมือสร้าง portfolio ให้น่าสนใจ ต้องเดินทางสัมภาษณ์ที่ต่างๆ ช่วงรอผลตอบกลับที่บางทีก็มีเพียงความเงียบ หรือการปรับตัวในสิ่งแวลดล้อมหรือผู้คนใหม่ๆ ซึ่งถ้าเปลี่ยนบ่อยๆ ก็อาจต้องเจอกับลูปนี้บ่อยขึ้นด้วยเช่นกัน
โดยก่อนที่จะเข้าสู่วิถี Job Hopper ก็ต้องมีการเตรียมตัวก่อนเปลี่ยนงาน เช่น การหางานสำรองให้ได้ก่อนที่จะโยกย้าย, การรวบรวมสะสมผลงานเก็บไว้เพื่อสร้างความโดดเด่น รวมถึงการศึกษาตำแหน่งงานและวัฒนธรรมองค์กรที่เราจะย้ายไปเพื่อให้การย้ายครั้งต่อไปได้ตรงใจกับอาชีพที่คาดหวัง
มุมมองสำหรับคนที่คัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน
องค์กรอาจมองว่าการต้องใช้เวลาและพลังงานเพื่อสอนงานพนักงานใหม่บ่อยๆ อาจทำให้งานต้องสะดุด เสียหาย ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่มีความคาดหวังให้อยู่พัฒนาองค์กรต่อไปนานๆ ในอนาคต
ผู้คัดเลือกบุคคลเข้าทำงานไม่ว่าจะเป็นฝ่าย HR หรือ หัวหน้างาน ก็อาจมองถึงเรื่องการขาดความจงรักภักดีต่อองค์กรหรือประสบการณ์การทำงานที่ต่อเนื่อง จนทำให้เกิดเป็นความมืออาชีพ มีความรู้ลึกซึ้งทั้งตัวเนื้องานและภาพรวมของบริษัท ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี จนกว่าจะฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญ คล่องตัว
อย่างไรก็ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการหางาน Jobthai แนะนำว่าบริษัทหรือผู้คัดเลือกผู้สมัครนอกจากดูจำนวนบริษัทและระยะเวลาการทำงานแล้ว ควรสอบถามสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนงาน และคำนึงถึงเคมีที่สามารถเข้ากันได้กับคนในทีม เพราะอาจส่งผลกระทบให้คนอื่นอยากลาออกไปด้วยเช่นกัน
แต่เหนืออื่นใดสิ่งที่จุดประเด็นดราม่าย้ายงาน Job hopper นี้กลับมาถกเถียงกันอีกครั้ง มีคนได้ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจถึงการใช้ภาษา ที่ดูจะเป็นการตัดสิน โจมตีคนที่มีลักษณะ Job hopper มากกว่าจะแนะนำเพื่อให้ คนรุ่นใหม่ คิดต่อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุการเรียกคณะทัวร์มาลงจนกลายเป็นประเด็นที่พูดถึงกันโลกโซเชียลมีเดียในครั้งนี้
ที่มาข้อมูล
skillsolved nuttaputch jobthai longtunman