SHORT CUT
ชวนส่อง 7 ทักษะ หรือ Skills ในโลกใบนี้ ที่ ตอนนี้ ณ ปี 2024 ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยังไม่อาจทำแทนได้ อาทิ ทักษะด้านการสื่อสาร สร้างสรรค์เนื้อหา การเข้าใจในบริบท ความสามารถทางด้านอารมณ์ การสอน คอนเนคชั่น จริยธรรม
ประเด็นของ AI ในสังคมไทยเป็นเรื่องที่ ถูกไฮไลท์ขีดเส้นใต้ ให้ชัดขึ้นมา จากประเด็นที่บริษัทสื่อ มีแนวโน้มจะปลดพนักงานจำนวนหนึ่งเพื่อ save ค่าใช้จ่าย และใช้ AI ทำงานแทน ในเรื่องบางเรื่องที่สามารถ ทดแทน ได้แล้วในเวลานี้
แต่หากมองคิดพิจารณาให้ดี "ความเปลี่ยนแปลง" มันคือสัจธรรมที่นิรันดร์ของโลกอยู่แล้ว โลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การที่ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ก็ย่อมคิดได้ว่า นี่เรื่องปกติธรรมดาสามัญ ที่โลกกำลังเป็นไป
แต่ในทางกลับกัน แม้ AI จะเข้ามามีบทบาทในโลกยุค 2024 มากขึ้นเท่าไร แต่ มันก็ยังมีบาง "ทักษะ" หรือ Skills ที่ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ยังไม่อาจ ทำแทน เหมือน มนุษย์ได้ , เพราะยังมีสิ่งที่ AI ไม่สามารถทำได้ นั่นคืองานที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของมนุษย์อย่างชัดเจน เช่น ความฉลาดทางอารมณ์และการคิดนอกกรอบ และการย้ายเข้าสู่บทบาทที่เน้นทักษะเหล่านี้ อาจช่วยลดโอกาสในการถูกแทนที่ได้
โดย งานที่ยังไม่ถูกครอบงำโดย AI ในปัจจุบันยังรวมถึงพยาบาล ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และนักข่าวเชิงสืบสวน เนื่องจากเป็นงานที่ต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับผู้คน และแรงงานที่ใช้ทักษะ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างเชื่อม นักมายากล นักการเมือง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะงานเหล่านี้เป็นงานประเภทที่คุณต้องรับมือกับสถานการณ์ใหม่ตลอดเวลา
โดย 7 ทักษะที่ AI ทำแทนมนุษย์ไม่ได้ (ณ ตอนนี้) จะมีเรื่องราวหลักๆ ได้แก่ 7 Skills เหล่านี้
1. ทักษะด้านการสื่อสาร
2. สร้างสรรค์เนื้อหา
3. การเข้าใจในบริบท
4. ความสามารถทางด้านอารมณ์
5. การสอน
6. คอนเนคชั่น
7. เข็มทิศทางจริยธรรม
ทักษะด้านสื่อสาร หรือการเล่าเรื่องเป็นสิ่งที่สำคัญและอยู่คู่กับมนุษย์มาโดยตลอดตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม มนุษย์ใช้ความสามารถในการสื่อสารนี้ ทำให้มนุษย์กลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถวิวัฒนาการได้จนมาถึงทุกวันนี้ และต่อไปในวันข้างหน้าทุกคนจะมีข้อมูลเท่ากัน (ค้นหาได้ทุกคน) แต่การเอาข้อมูลที่ยากๆ ใช้เวลาย่อยนานๆ มาเล่าต่อ ให้คนเข้าใจได้ง่าย เป็นทักษะที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ แต่ก็สามารถฝึกฝนกันได้ นั่นหมายความว่า ทักษะด้านการเล่าเรื่อง (storytelling) จึงเป็นทักษะที่ยากที่จะถูกแทนที่ไปอีกนาน
ใครและใครในโลกทุกวันนี้ ค้นหาข้อมูลได้จาก Google หรือเสิร์ชเอ็นจินต่างๆซึ่งมีข้อมูลแทบทุกอย่าง ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ แต่การสร้างสรรค์ Content นั้นแตกต่างออกไป เพราะมันเป็นความสามารถในการ นำข้อมูลที่มันมีความขัดแย้งกัน หรือมีมุมอื่นๆ มีการถ่วงสมดุลของเรื่องให้บัลลานซ์ ที่น่าสนใจอยู่ มานำเสนอในภาพใหม่ๆ ให้กับข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจ Context ของรูปแบบธุรกิจ, รูปแบบหรือบริบทแวดล้อมในการทำธุรกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเภท รวมไปถึงการเข้าในใจบริบทของลูกค้า ซึ่งตอนนี้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ยังไม่สามารถทำได้ ส่วนเรื่องอนาคต คำตอบเรื่องนี้ก็ยังไม่แน่
เราถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์เป็นส่วนมาก การเข้าใจเรื่องอารมณ์ของผู้คน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจ และสามารถทำงาน ประสานงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
ทักษะด้านการสอน การโค้ช หรืองานที่ปรึกษา ยังมีมุมที่ลึกกว่านั้น แม้จะมีใครหลายคนแย้งว่า AI สอนได้ก็ตาม เพราะแต่ละคนก็จะมีความต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น การโค้ชคน ในวงการกีฬา การเป็นโค้ชฟุตบอลด้วย AI นั่นทำไม่ได้แน่นอน!
คอนเนคชั่นในที่นี้ไม่ได้แปลว่า “เส้นสาย” หรือ "เครือข่ายความสัมพันธ์" แต่หมายถึง แวดวงหรือผู้คนที่เรารู้จักในหลากหลายสาขาอาชีพ หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน AI ณ เวลานี้ ยังไม่อาจสร้างคอนเนคชั่นได้
เราคงได้เห็น AI ได้มีส่วนร่วมในการเข้ามาตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ขององค์กร
หรืออย่างในกรณีของงาน HR ในหลายประเทศก็เริ่มใช้ AI มาเพื่ออ่านและวิเคราะห์ใบสมัคร (Resume) ของผู้สมัคร แต่สิ่งที่คนยังเป็นกังวลอยู่มากก็คือ อัลกอริทึม (Algorithm) ที่ใช้ในการตัดสินใจของ AI นั้นมีอคติ (Bias) เจือปนอยู่หรือเปล่า เรื่องนี้ทำให้คนที่อยู่ในบทบาทที่ต้องตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องจะยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เสมอ
หรือจะชี้ให้ชัดๆ ต่อประเด็นนี้ก็คือ AI ขาดทักษะทางด้านจริยธรรม ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ยังเป็นทักษะที่ AI ไม่สามารถทำได้ การตัดสินใจในเรื่องทางด้านจริยธรรมต้องมาจากมนุษย์เป็นหลัก
ขณะที่ Skills บางอย่าง ทักษะบางอย่าง AI ก็ไม่อาจทำได้เช่นกัน เช่น ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ และความเห็นอกเห็นใจ (EQ and Sympathy) โดย ทักษะด้าน EQ ยังใช้ได้ทุกยุคทุกสมัยและ AI ยังทำอะไรไม่ได้ เพราะ AI ไม่สามารถแสดงอารมณ์ ความรู้สึกออกมาได้นั่นเอง นั่นหมายความว่า การมีทักษะการทำงาน Hard skill แต่เพียงอย่างเดียวไม่พอ การเก่งในเรื่องเฉพาะตัวเป็นสิ่งจำเป็น
แต่ในทางกลับกัน ก็ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากจะสร้างบุคลิกที่ดีแล้ว ยังส่งเสริมหน้าที่การงานอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง